พบบัวกระด้งชนิดใหม่ในรอบ100ปี สวนพฤกษศาสตร์อังกฤษ และ ต้นกำเนิดของบัวกระด้ง..
ค้นพบบัวกระด้งชนิดใหม่ในรอบ100ปีสวนพฤกษศาสตร์อังกฤษต้นกำเนิดของบัวกระด้งหรือบัวVictoria, Giant Waterlily
ผู้หญิงยืนอยู่บนใบของ Victoria cruziana ในสระดอกลิลลี่หน้าลินเนียนเฮาส์ (Linnaean House) ของสวนพฤกษศาสตร์มิสซูรี แผ่นไม้และผ้าขนหนูถูกวางเป็นเบาะรองเพื่อป้องกันความเสียหายต่อใบ
พบบัวกระด้งชนิดใหม่ในสวนพฤกษศาสตร์อังกฤษ
พบบัวกระด้งชนิดใหม่ในสวนพฤกษศาสตร์อังกฤษ มีขนาดใหญ่ที่สุด ครั้งแรกในรอบ 100 กว่าปี และมันไม่ได้หลบซ่อนอยู่ในที่ลับตาแต่อย่างใด แต่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นชนิดอื่นมาโดยตลอด
บัววิกตอเรีย หรือบัวกระด้ง (Victoria, Giant Waterlily) เป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และปัจจุบันได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ทั่วโลก ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักอยู่ 2 ชนิด คือ Victoria amazonica และ Victoria cruziana โดยสำหรับชื่อนั้น ตั้งตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ ก็ได้พบบัวกระด้งชนิดใหม่ ในสวนพฤกษศาสตร์ Kew Gardens ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปี และมันไม่ได้หลบซ่อนอยู่ในที่ลับตาแต่อย่างใด แต่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นชนิดอื่นมาโดยตลอด
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สงสัยว่าอาจมีบัวกระด้งอีกชนิด จึงได้ทำการศึกษาบัวกระด้งจากโบลิเวีย โดยได้รับเมล็ดมาปลูก ใน Kew Gardens และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับอีก 2 ชนิด
โดยจากการตรวจสอบ DNA ก็พบว่าเป็นคนละชนิด โดยชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อ Victoria Boliviana มีความใกล้ชิดกับชนิด Victoria cruziana และแยกออกจากกันเมื่อราว 1 ล้านปีก่อน
Victoria Boliviana ถือเป็นบัวกระด้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยใบของมันสามารถใหญ่ได้ถึง 3 เมตร ในธรรมชาติ มีดอกสีขาว ชมพู ก่อนหน้านี้ถูกคิดว่าเป็นชนิดเดียวกับบัวกระด้งอื่นๆ โดยนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาอีกมากเกี่ยวกับบัวกระด้งชนิดนี้
👉🏾ข้อมูลเพิ่มเติมประวัติของบัวสกุล นี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2380 โดย จอห์น ลินด์ลีย์ (John Lindley) โดยอ้างอิงจากตัวอย่างที่ส่งคืนจากบริติชกีอานา (British Guiana)
โดย โรเบิร์ต เฮอร์มานน์ ช็อมเบิร์ก (Robert Hermann Schomburgk) ลินลีย์ตั้งชื่อสกุลตามสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งพึ่งทรงครองราชย์ และตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า Victoria regia บันทึกก่อนหน้านี้โดยเอดูอาร์ด ฟรีดริช เพิพพิก (Eduard Friedrich Poeppig)
ในปี พ.ศ. 2375 ระบุชื่อสายพันธุ์ว่า Euryale amazonica ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์กับสายพันธุ์บัวสายในเอเชีย (Euryale ferox) โดยการเก็บตัวอย่างและให้คำอธิบายยังได้จัดทำโดย เอเม บงพลองด์ (Aimé Bonpland) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2368
ใบของบัววิกตอเรียสามารถรองรับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากโครงสร้างของใบถึงแม้ว่ามันจะค่อนข้างบอบบาง โดย"ถ้าปล่อยเส้นฟางจากความสูง 6 นิ้วด้านบน ลงมาตั้งฉากกับใบจะสมารถทะลุผ่านได้" จากลักษณะที่เปราะบางของใบดังกล่าว จีงต้องมีการกระจายน้ำหนักไปทั่วพื้นผิวด้วยวิธีการทางกล เช่นใช้แผ่นไม้อัดวางลงไป สิ่งนี้ทำให้ใบบัวสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 32 กิโลกรัม (71 ปอนด์)
👉🏾ก่อนจะจบบทความนี้กระผมหวังว่าสาระข้อมูลที่หามาประกอบบทความนี้คงจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างพอสมควรนะครับ
อ้างอิงจาก: วิพีเดีย และ blogspot