ค้นพบปลาโบราณซีลาแคนท์อินโดนีเซียและปลานักล่าสายพันธ์ใหม่ๆแปลกๆลึกลงไปกว่า 2,000 เมตรใต้ท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น
ค้นพบปลาโบราณซีลาแคนท์อินโดนีเซียและปลานักล่าสายพันธ์ใหม่ๆแปลกๆ
วันนี้ก็มีบทความที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลต่างๆมานำเสนอให้ทุกคนๆอ่านกันอีกนะครับ พยายาม หาข้อมูลแบบ หลายๆ ด้าน ทั้งด้านที่แปลกแหวกแนวหรืออื่นๆนำเสนอ มาจัดเรียบเรียงเพิ่มเติมใหม่
เพื่อให้เข้ากับบทความและพยายามจะให้แตกต่างกับข้อมูลที่อื่นๆมากที่สุดเป็นความรู้สาระใหม่ๆมาแบ่งปั่นกัน
ค้นพบปลาโบราณซีลาแคนท์อินโดนีเซียและปลานักล่าสายพันธ์ใหม่ๆแปลกๆลึกลงไปกว่า 2,000 เมตรใต้ท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น
ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Latimeria menadoensis; อินโดนีเซีย: raja laut; /รา-จา-ลี-เจา/; แปลว่า: "เจ้าแห่งทะเล") เป็นหนึ่งในสองชนิดของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำตาล
การค้นพบ
เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขา เขาพบปลาตัวแปลก ๆ เข้าไปในตลาดที่เมืองมานาโด บนเกาะซูลาเวซี มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซา” (ปลาซีลาแคนท์จากคอโมโรส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล
ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่ามันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีก ขอได้โปรดส่งให้เขาตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัมถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง
ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่น ๆ ทั่วไป ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)
ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่าตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์คอโมโรสอย่างชัดเจน เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า "ราชาลีเจา" (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในคอโมโรสยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris ใน ค.ศ. 1999
โดย โพยูลด์และคณะ และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis) ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40-30 ล้านปีมาแล้ว โดยปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม
การจับได้โดยชาวประมงท้องถิ่น
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 มีชาวประมงชาวอินโดนีเซียจับปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซียตัวหนึ่งได้ ที่บริเวณเกาะซูลาเวซี ใกล้อุทยานทางทะเลบูนาเคน ปลาตัวนี้มีความยาว 131 เซนติเมตร น้ำหนัก 51 กิโลกรัม และได้สร้างความฉงนให้แก่ผู้ที่ได้พบเจอ เพราะมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 17 ชั่วโมงก่อนจะตายลง ทั้ง ๆ ที่น่าจะตายตั้งแต่ 2 ชั่วโมงแรกที่ถูกจับ เพราะเป็นปลาที่อยู่น้ำลึกและเย็นมาก
👉🏾ข้อมูลข่าวเพิ่มเติมเพิ่มเติม
วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 พบปลานักล่าใต้ทะเลลึกพันธุ์ใหม่ ที่มีขนาดตัวใหญ่มหึมา และรูปร่างแปลกตาเป็นอย่างมาก
ย้อนกลับไปเล็กน้อยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา ลึกลงไปกว่า 2,000 เมตรใต้ท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น ที่บริเวณอ่าวซูรูงะ นอกชายฝั่งของจังหวัดชิซึโอกะ
ทีมวิจัยจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโลกใต้ทะเลของประเทศญี่ปุ่น (JAMSTEC) ได้มีโอกาสจับภาพปลาสายพันธุ์ใหม่ อย่าง “ปลานาร์เซเตส โชนัน” (Narcetes Shonan)
ปลานักล่าใต้ทะเลลึก ที่มีขนาดตัวใหญ่มหึมา และรูปร่างแปลกตาเป็นอย่างมาก แถมยังจับภาพไว้ได้พร้อมๆ กันถึง 6 ตัวเลยด้วย
โดยปลาชนิดนี้ เดิมทีแล้วถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม 2021 โดยมันเป็นปลาในวงศ์ Alepocephalidae หรือ สลิคเฮด แต่มีขนาดตัวใหญ่กว่าปลาในวงศ์เดียวกันมาก
อย่างในการค้นพบครั้งล่าสุด มันมีขนาดตัวใหญ่สุดถึง 2.53 เมตร มีตัวสีดำแลดูน่ากลัว แถมยังเป็นปลานักล่าที่มีพฤติกรรมค่อนข้างก้าวร้าว มักคุกคามปลาน้ำลึกอื่นๆ ด้วยการอ้าปากขู่ไล่
และในคลิปเองมันยังพยายามที่จะโจมตีกรงซึ่งนักวิจัยใส่เหยื่อล่อเอาไว้อยู่หลายครั้งด้วย
เราวัดขนาดตัวของพวกมันหลายครั้ง เพราะมันมีขนาดใหญ่เอามากๆ ในทะเลลึกเราจึงอาจจะมีปลาสายพันธุ์ใหม่ขนาดใหญ่อีกมากมายเลย”
คุณ โยชิฮิโร ฟูจิวาระ นักวิจัยอาวุโสของ JAMSTEC แสดงความคิดเห็น
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ YouTube