ทำไมเดี๋ยวนี้..คนจนยิ่งจนลงแต่ คนรวยมีอภิสิทธิ์ชนกับรวยขึ้นๆ
สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยสามารถที่จะเป็นตัวอย่างทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในปัจจุบันว่าคนจนยิ่งจนลง แต่คนรวยกับรวยขึ้นคนรวยในที่นี้หมายถึงคนรวยที่มีอภิสิทธิ์ชนเหนือคนอื่นๆซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมส่วนใหญ่..
โดยทั่วไปคนรวยมากๆส่วนมากจะเป็นชนชั้นสูงกว่าคนชนชั้นกลางคนจำพวกนี้จะรวยมากยิ่งขึ้นๆไป ส่วนคนยากจนก็จะเป็นอะไรเลือนลางต่ำเตี้ยเรี่ยดิน คนจนจะไม่มีปากเสียงและไม่มีอภิสิทธิ์ คนจนมักจะก้มหน้าก้มตายอมรับสภาพความจน
คนรวยรวยขึ้นและคนจนจนลง
(หรือการเรียงคำอย่างอื่นที่ให้ความหมายเหมือนกัน) เป็นวลีและภาษิตใช้บ่อยในการอภิปรายความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ พบใช้วิพากษ์ระบบตลาดเสรีหรือทุนนิยมในสาระสำคัญของระบบสังคมนิยมมากที่สุด
โดยแสดงความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของสิ่งที่คาร์ล มาร์กซ์เรียกว่า กฎแนวโน้มกำไรลดลง กฎแห่งความยากจนเพิ่มขึ้น และกฎการรวมทุนเข้าสู่ศูนย์กลาง
สองมาตรฐาน (อังกฤษ: double standard) เป็นประเด็นการเปรียบเทียบในการจัดการหรือใช้ระบบ แนวทาง หรือมาตรฐาน ในกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่มอย่างแตกต่างกัน สองมาตรฐาน ถูกนิยมเรียกกับการแก้ปัญหาที่ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยการจัดการปัญหาในเรื่องเดียวกัน แต่ต่างเป้าหมาย ทำให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต่างกัน เช่นการตอบรับของเจ้าหน้าที่กับกลุ่มคนรวยและกลุ่มคนจน ซึ่งไม่เท่ากัน
👉🏿ความยากจน เป็นสภาพซึ่งบุคคลขาดการครอบครองทรัพยากรหรือเงิน ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) หรือความยากจนข้นแค้น (destitution) หมายถึง บุคคลที่ขาดความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ น้ำจืดและอาหารที่สะอาด โภชนาการ สาธารณสุข การศึกษา เครื่องนุ่งห่มและที่พักอาศัย มีการประเมินว่า ปัจจุบันมีประชากรราว 1,700 ล้านคนอาศัยอยู่ในความยากจนสัมบูรณ์ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty)
หมายถึง การขาดระดับทรัพยากรหรือรายได้ตามปกติหรือระดับที่สังคมยอมรับเมื่อเทียบกับบุคคลอื่นในสังคมหรือประเทศ ในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ความยากจนถูกมองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกับวิธีการผลิตดั้งเดิมไม่เพียงพอจะให้ประชากรทั้งหมดมีมาตรฐานการครองชีพที่สะดวกสบายได้ หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม การผลิตขนานใหญ่ (mass production) ในโรงงานทำให้ความมั่งคั่งราคาถูกลงและเข้าถึงได้มากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้น คือ การทำให้เกษตรกรรมทันสมัย เช่น ปุ๋ย เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอที่จะเลี้ยงประชากร
👉🏿ความร่ำรวย เป็น สถานะภาพเชิงเปรียบเทียบ ตรงข้ามกับ ความยากจน ความร่ำรวย หมายถึง การมีอยู่มาก โดยทั่วไปหมายถึงมีทรัพย์สินเงินทองมาก บุคคลที่มีความร่ำรวย เรียกว่า คนรวย หรือ เศรษฐี
อ้างอิงจาก: https://th.m.wikipedia.org/wiki/ความยากจน