แมลงกำจัดศัตรูพืช..แมลงหางหนีบกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน อื่น ๆ เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากๆ
แมลงกำจัดศัตรูพืช..แมลงหางหนีบกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน อื่น ๆ เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
การใช้แมลงกำจัดศัตรูพืชเช่นเพลี้ยแป้งและอื่น เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แมลงหางหนีบกำจัดเพลี้ยอ่อนแล้วก็เพลี้ยแป้งนะ..หน้าตาแมลงหางหนีบของเขาก็จะมีปลายหางเป็นปากคีบ 2 อันถ้าใครไม่รู้จักก็คิดว่าเป็นมามีพิษนะครับ
แมลงตัวนี้เขาจะทำหน้าที่กัดกินเพลี้ยอ่อนแล้วก็เพลี้ยแป้งเมื่อเรานำแมลงหางหนีบมาโรยใส่ในแปลงปลูกผักของเรา
ที่มีปัญหาเรื่องโรคระบาดของเพลี้ยแป้งแล้วก็เพลี้ยอ่อนช่วงกลางคืนแมลงหางหนีบเขาจะขึ้นมาจัดการให้จับเพลี้ยกินจนหมด
แมลงหางหนีบมีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้เป็นอย่างดี ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นตัวหากินไข่ศัตรูพืชเป็นอาหาร โดยใช้แพนหางลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัว เหยื่อแล้วกัดกิน
ถ้าเป็นไข่ศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก เช่นเพลี้ยอ่อน แมลงหางหนีบจะกัดกินโดยตรง ทั้งนี้แมลงหางหนีบ 1 ตัวจะสามารถกินเหยื่อได้ประมาณ 20-30 ตัวต่อวัน ทั้งนี้ หากแมลงหางหนีบอิ่มแล้ว และยังเจอตัวหนอนจะใช้แพนหางหนีบจนกระทั่งตัวหนอนตายและจากไปโดยไม่กิน และจะหนีบต่อไปเรื่อย ๆ
แมลงและแมลงหางหนีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eborella sp., Proreus sp.
รูปร่างลักษณะ เป็นแมลงตัวห้ำ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงดำ ปีกสีเหลือง แพนหางสีน้ำตาลปนดำ ลำตัวยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร
โดยทั่วไปเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ปีกคู่หน้า คลุมส่วนท้องไม่มิด ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 3 เดือน มักอาศัยอยู่ในกองซากพืชที่มีความชื้น ตัวเมียจะวางไข่ เป็นกลุ่มๆ ละ 10 – 50 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 5 วัน ไข่มีสี ขาวนวล และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและน้ำตาลเมื่อใกล้จะ ฟักออกมาเป็นตัว
ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช ตัวอ่อน – ตัวเต็มวัย
อัตราการใช้
1. ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 100 ตัวต่อไร่
2. หากพบศัตรูพืชระบาดมาก ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 1,000 ตัวต่อไร่
การใช้ประโยชน์ แมลงหางหนีบเป็นตัวห้ำที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนเจาะ ลำต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกออ้อย หนอนกอข้าว แมลงดำหนามมะพร้าว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย แมลงหวี่ชาว ไข่และหนอนของด้วงกุหลาบ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย แมลง