ปัญหาสันทนาการ "กัญชา" จุดเริ่มต้นเล็กๆ ไม่นานคงเหมือน เหล้า บุหรี่ และแก้ที่ปลายเหตุกันต่อไป
เมื่อยาเสพติดไม่ผิดกฎหมาย "ไม่ต้องกลัวติดยาเสพติด กัญชง กัญชา เพราะโอกาสติดน้อยกว่าเหล้าบุหรี่เยอะ ดีไม่ดี จะทำให้สังคมลดปัญหายาเสพติดด้วย"
หลังกฎหมายปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติด ทำให้การใช้กัญชาตอนนี้อยู่เสรีมากขึ้น แต่ก็ต้องเตือนว่า หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็ทำให้มึนเมา และ เสี่ยงอันตราย ได้ มีข้อกังวลจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ว่า เยาวชนจะเข้าถึงกัญชาได้ง่าย 2-3 ปีที่ผ่านมา มีเด็กสูบกัญชาเพิ่ม 2 เท่า
ถ้ามาเทียบกับปัญหา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่แม้มีกฎหมายควบคุมแล้ว ก็ยังสร้างปัญหาอยู่รายวัน ไม่ต้องพูดถึงกัญชา กัญชง ที่แม้จะสงสัย งง มึนๆ การสูบกัญชา ผิดกฎหมายไหม หากสูบกัญชาได้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ยกตัวยอย่างเช่น
การสูบกัญชา-กัญชง เพื่อผ่อนคลายเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต
- ทำได้ แต่ต้องสูบในบ้านเรือนของตัวเองย่างมิดชิด
- ไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น
- สำหรับประเด็นนี้กระทรวงสาธารณสุข ไม่เคยรณรงค์ หรือแนะนำให้มีการสูบกัญชาเพื่อผ่อนคลายใดๆ เพราะการนำกัญชามาสูบไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่กลับเป็นโทษด้วย
- เรื่องนี้จำเป็นต้องรอ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ต่อไปสำหรับการนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
สูบกัญชา เพื่อสันทนาการ
- กัญชาที่ใช้ ไม่ได้เพื่อสันทนาการ ไม่สามารถทำได้ ผิดกฎหมายเหตุรำคาญ ม.25(4) สามารถจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
- หากเสพของมึนเมาขับรถจะผิดกฎหมาย
- การเสพแล้วเมาในที่สาธารณะ เป็นกฎหมายอาญากำหนดว่า ผู้ที่มีสภาพมึนเมามีความผิดอยู่แล้ว ซึ่ง สธ.ได้ประสานงานไปยังผู้ที่มีกฎหมายอื่นๆ เพื่อเข้ามาบังคับใช้
อย่างกรณี "น้ำพุ" ก็เริ่มจากกัญชา เด็กที่มีจิตใจอ่อนไหวจากครอบครัวที่แตกแยกและที่บ้านมีแต่ผู้หญิง ทำให้เจ้าตัวติดเพื่อนและใช้ยาเสพติดเป็นที่พึ่ง กระทั่งท้ายที่สุดเจ้าตัวก็ต้องมาเสียชีวิตเพราะเสพเฮโรอีนเกินขนาดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ด้วยวัยเพียง 18 ปี 2 เดือน 15 วันเท่านั้น
แน่ใจนะว่าเพื่อผ่อนคลายเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต ไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น ควบคุมกันได้ แล้วถ้าสร้างปัญหาข้างต้น ก็คงแก้กันที่ปลายเหตุเหมือนเดิม เหมือนเหล้า บุหรี่ เพราะอีกไม่ช้า ไม่นาน นายทุนคงผลิต สำเร็จรูปออกมาเพื่อ ให้สูบเสพกับแบบถูกกฎหมาย (จริงๆ ตอนนี้ก็มีผลิตภัณท์พวกนี้อยู่แล้ว) คนเสพตาย ติดคุกกันต่อแน่นอน รอดูๆ