นี่คือ!! ตั๊กแตน ความมหัศจรรย์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
ตั๊กแตนใบไม้ ( Leaf Insect) มีลักษณะเหมือนใบไม้ที่มีทั้งแกนใบและเส้นใบ ที่เหมือนถูกแมลงกัดกิน โดยจะมีลักษณะหนวดของตั๊กแตนใบไม้นั้นจะเป็นแบบเส้นด้าย โดยหนวดชนิดนี้จะมีลักษณะยาว ซึ่งปล้องทุกปล้องมีขนาดเกือบเท่ากัน และจะมีปากทำหน้าที่ในการกัดและบดเคี้ยวอาหาร ประกอบด้วย Labrum เป็นแผ่นบาง ปากมีลักษณะเป็นชั้นเดียว มี mandibles ใหญ่และแข็งแรง ซึ่งด้านข้างมีลักษณะเป็นฟันเลื่อยเพื่อกัดและบดเคี้ยวอาหาร ทั้งนี้ยังมีปีกคู่หน้า ซึ่งเนื้อปีกครึ่งแข็งครึ่งอ่อนตลอดทั้งปีก และปีกคู่หลัง มีเนื้อบางใสทั้งปีก เห็นเส้นปีกชัดเจน และมี jumping leg ทำหน้าที่ยึดหรือหนีบเหยื่อที่จับได้ เช่นเดียวกับขาคู่หลังของตั๊กแตนตำข้าว
ในปัจจุบันนั้นมีการจับตั๊กแตนใบไม้กันมากเพื่อนำไปจำหน่ายหรือนำไปเลี้ยงทำให้ตั๊กแตนใบไม้ลดจำนวนลงมาก เนื่องจากมันเคลื่อนไหวได้ช้าจึงทำให้ถูกจับได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เองกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงจัดให้ตั๊กแตนในสกุลนี้ เช่นตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้ อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่กำหนดให้มีการนำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Phasmatodea สกุล Phylium โดยแมลงในอันดับนี้คือพวกตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ ซึ่งถือว่าเป็นแมลงหายากที่รู้จักกันดีในชื่อของแมลงกลุ่ม Phasmids โดยลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด มีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย แมลงกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญในแง่ของการศึกษากระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้เทคนิคการพรางตัว เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นตั๊กแตนใบไม้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการป้องกันตัว โดยใช้เทคนิคการพรางตัว ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในแง่ของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์และพืชที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี โดยคำว่า Phasma มาจากภาษาละติน แปลว่า ผี ซึ่งมาจากกลไกที่ใช้ในการหลบหลีกศัตรูของแมลงกลุ่มนี้ นั่นเอง
การพรางตัว
เนื่องจากตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่เคลื่อนไหวช้าและไม่กระโดด การเคลื่อนที่นั้นจะใช้วิธีเดิน ปีนป่ายไปตามกิ่งไม้ ใบไม้อย่างช้าๆ ทั้งนี้พบว่ามันมีรูปร่างคล้ายกับใบไม้ที่มันกาะอาศัย ปีกมีสีเขียวคล้ายๆใบไม้ อีกทั้งยังมีปีกที่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายกับเส้นใบไม้ จึงมองดูคล้ายกับใบไม้มาก บางครั้งมันมีการโยกตัวไหวไปมาเล็กน้อยคล้าย ๆ กับใบไม้ถูกลมพัด และบางชนิดก็มีสีน้ำตาลปนแดง ปีกมีสีคล้ายกับใบไม้แห้งที่มันเกาะอยู่ซึ่งลักษณะที่มันพรางตัวให้คล้ายกับใบไม้ที่มันเกาะอยู่นั้นก็เพื่อการหลบหนีศัตรูและการหาอาหารทำให้ศัตรูและเหยื่อไม่สามารถมองเห็นมันได้เนื่องจากรูปลักษณ์ที่เหมือนใบไม้มากๆของมันนั่นเอง จึงอาจทำให้ศัตรูและเหยื่อเข้าใจว่ามันเป็นแค่ใบไม้ใบหนึ่งเท่านั้น
ในการเปลี่ยนสีของตั๊กแตนใบไม้นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น แลความเข้มของแสงในสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์ Epidermis ที่อยู่เหนือผิว Cuticle ซึ่งจะมีเม็ดสี (Pigment Granules) คอยเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ขาที่เป็นแผ่นบางๆของมันยังช่วยทำให้มีโครงสร้างกลมกลืนกับใบไม้ทำให้มันกลายเป็นใบไม้ใบหนึ่งได้ไม่ยาก
ตั๊กแตนใบไม้มีวิธีการหนีศัตรูด้วยการอยู่นิ่งๆตามต้นไม้โดยเฉพาะบริเวณใบ ซึ่งตั๊กแตนใบไม้บางชนิดจะมีสีเขียวทั้งหมดเหมือนใบไม้สด บางชนิดมีสีน้ำตาลเหมือนใบไม้แห้ง นอกจากนั้นเมื่อถูกศัตรูพบเห็นก็มักจะข่มขู่ให้ศัตรูตกใจกลัว ด้วยการแผ่กางปีกที่มีสีสันสวยงามซ่อนไว้ภายในออกมาจนมีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 2 เท่า พร้อมกับกรีดปีกให้มีเสียงดังเพื่อเป็นการขับไล่ศัตรู