9 ต้นไม้กินแมลงน่าสนใจดักแมลงก็ได้ตกแต่งก็สวย
9 พืชแปลก กินแมลงได้
พืชต่อไปนี้หน้าตาดูสวยงามและยังสามารถนำไปประดับได้อีกด้วย แถมยังช่วยลดประชากรแมลงก่อกวนต่างๆอีก เราไปเริ่มดูต้นแรกกันเลย
1.ดุสิตา
กระจายอยู่ในอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย มีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงดักจับแมลงขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อสีม่วงเข้ม แทงขึ้นจากโคนกอ ช่อดอกตั้งสูงประมาณ 5-20 ซม. มีดอกย่อย 3-10 ดอก ออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มม. กลีบดอกล่าง แผ่แยกออกเป็น 2 ปาก สรรพคุณต้มทั้งต้นดื่ม ช่วยบำรุงเลือด
2.ทิพเกสร
มีความสูง 10-30 เซนติเมตร ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน มีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหารมีดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู
3.สร้อยสุวรรณา
กระจายอยู่ในเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย มีไหลเป็นเส้นขนาดเล็ก มีใบหลายใบออกจากไหลรูปแถบ ยาวได้ประมาณ 2 ซม. มีกับดักแมลงขนาดเล็ก เป็นกะเปาะกลม ติดบนไหลและใบ ยาวประมาณ 0.1 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ แบบช่อกระจะ ตั้งตรง เกลี้ยง สูงประมาณ 60 ซม. เกล็ดและใบประดับมีลักษณะคล้ายกัน ในแต่ละช่อมี 1-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.2-0.5 ซม. สรรพคุณแก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
4.พิงกุย
กระจายตัวอยู่หลายส่วนในโลก ตั้งแต่เขตหนาวจัดทางตอนเหนือเกือบถึงขั้วโลก ไล่ลงมาทางยุโรป ทะเลทรายไซบีเรีย
อเมริกาเหนือหรือแม้กระทั่งแถบร้อนอย่างเม็กซิโก เลยไปจนถึงอเมริกาใต้เติบโตเป็นกอ ทั้งต้นเล็กต้นใหญ่อยู่รวมกัน
ใบขอบของมันจะมีขนใสๆ ที่สามารถผลิตกาวเหนียวดักแมลงได้ และมันยังมีต่อมบนผิวใบ ที่ช่วยในการจับแมลงโดยปกติต่อมนี้จะแห้ง แต่เมื่อมันจับแมลงได้ต่อมเหล่านี้จะสร้างกรดและเอ็นไซม์หรือน้ำย่อยออกมาละลายแมลงจนหมดสิ้น และขณะเดียวกันก็ดูดซับเอาสารอาหารที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลว ย้อนกลับเข้าไปไว้ในใบ
5.ซาราซีเนีย
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก, รัฐเท็กซัส, บริเวณเกรตเลกส์ และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา ซึ่งพวกมันส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น ใบของพืชในสกุลจะมีการวิวัฒนาการเป็นรูปหลอดยาวปากแตรเพื่อที่จะดักจับแมลงและย่อยเหยื่อของมันด้วยน้ำย่อยโปรตีนและเอนไซม์อื่น ๆแมลงจะถูกดึงดูดด้วยน้ำคัดหลั่งอย่างน้ำต้อยที่อยู่บนขอบของหม้อ รวมถึงสีสันและกลิ่น เหยื่อจะพลัดตกลงไปในหม้อจะตายและถูกย่อยกลายเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับพืช
6.หญ้าน้ำค้าง
กระจายอยู่ในเขตร้อน พบได้ในประเทศออสเตรเลียและทวีปเอเชียจนถึงทวีปแอฟริกาแต่ไม่พบในเขตนีโอทรอปิคหญ้าน้ำค้างเป็นพืชล้มลุก มีระบบรากเป็นเส้น ลำต้นสูงได้ถึง 30 ซม. ไม่มีหูใบ ใบเรียวยาวได้กว่า 10 ซม. กว้างประมาณ 1-2 มม. ปลายใบม้วนงอมีขน ใบมีสีเขียวเหลืองจนถึงแดงเข้ม ปลายขนมีต่อมเมือกใสเหนียว ไว้ดักจับแมลงที่อยู่บริเวณนั้น
7.หยาดน้ำค้าง
สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา
8.หม้อข้าวหม้อแกงลิง
พบกระจายอยู่ในเขตร้อนชื้น มักพบขึ้นตามที่ลุ่ม แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ ๆ มักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อนตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง มาจากที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้ ภายในหม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆหรือน้ำเชื่อม ใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารที่เหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญ เพื่อใช้ย่อยแมลงที่ตกลงไปในหม้อ ความสามารถของของเหลวที่ใช้ดักจะลดลง เมื่อถูกทำให้เจือจางโดยน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสภาพแวดล้อม
9.กาบหอยแครง
เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง กาบหอยแครงมีโครงสร้างกับดักคล้ายคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ และมีขนกระตุ้นบางๆบนพื้นผิวด้านในกับดัก เมื่อแมลงมาสัมผัสขนกระตุ้นสองครั้ง กับดักจะงับเข้าหากัน การที่ต้องการสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร กาบหอยแครงจะพบในสิ่งแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ เช่น หนองน้ำ หรือทุ่งหญ้าสะวันนาที่เปียกชื้น กาบหอยแครงมีต้นเตี้ย โตช้า ทนไฟได้ดีและการเผาไหม้จากไฟป่าเป็นระยะ ๆ
การที่พืชพวกนี้ต้องสร้างกับดักขึ้นมาอาจเกิดมาจากการขาดแคลนของอาหารในดินที่มันอยู่อาศัยทำให้ในต้องสร้างกับดักเพื่อดักกินสัตว์อื่นเพื่อให้มีสารอาหารเข้ามัน
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันจนจบนะครับ พืชบางต้นที่ในไทยก็สามารถเลี้ยงได้นะครับ ขอบคุณครับ