เปิดเรื่องราว "ชายน้อย" หนัง ละคร กับ มายาคดิเรื่องของ "คนพิการ"
หลายคนคงได้ดูหลายเวอร์ชั่น รีเมค กับบ้านทรายทอง เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของวงการวรรณกรรมไทย เขียนโดย ก.สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2529)
หนึ่งในนั้นมีตัวละครชื่อ ชายน้อย ซึ่งนับว่า เป็นบทคนพิการที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเมืองไทย โดยตัวละครชายน้อยถูกบรรยายไว้ว่า ลูกคนสุดท้องของหม่อมพรรณราย ที่มีร่างกายพิการ ขาเป๋ ปากเบี้ยว และรูปร่างเล็กกว่าอายุจริง และเกิดมาได้ไม่นานทูลหม่อมพ่อก็เสียชีวิต’ หรือ "เด็กชายผู้นี้มีกรรม อาภัพเพราะพิการมาแต่กำเนิด แม่จึงไม่เอาใจดูหูใส่ ทิ้งๆ ขว้างๆ ตั้งแต่นั้นมา" (ก.สุรางคนางค์ 2536: 61-62)
ชายน้อย เป็นน้องชายคนเล็กของพระเอก เกิดในครอบครัวฐานะร่ำรวย และอาศัยในคฤหาสน์หลังโต แต่ด้วยความพิการ หรือที่เรียกในละครว่า ง่อย จึงทำให้ครอบครัวเลือกที่จะแอบซ่อนเขาจากสังคม หนำซ้ำยังคิดว่าการเกิดของชายน้อย เป็นสาเหตุให้พ่อเสียชีวิต
เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งในละครไทยหลายสิบเรื่อง ที่ตอกย้ำมายาคดิว่า คนพิการ พิการเพราะบุญกรรมที่ทำขึ้นในอดีตหรือชาติปางก่อน ทั้งยังทำให้ผู้ชมติดภาพว่าคนพิการต้องถูกหลบซ่อน และต้องได้รับการสงเคราะห์ตลอดเวลา
มีวิทยานิพนธ์ ภาพตัวแทนทางสังคม ของคนพิการในสังคมไทย:กรณีศึกษาผ่านวรรณกรรมไทย ของ กุลภา วจนสาระ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งข้อสังเกตว่า ค่านิยมของสังคมไทย โดยเฉพาะความเชื่อด้านพุทธศาสนา ซึ่งอธิบายที่มาของความพิการว่า เป็นปมด้อย เป็นมลทิน และคนพิการเกิดมาเพื่อที่จะชดใช้กรรมในชาตินี้
แต่จริงๆ แล้ว คนที่ พิการคือ...
อ้างอิงจาก: http://www.openbase.in.th/files/(%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2).PDF
https://th.wikipedia.org/wiki/บ้านทรายทอง
ภาพจากgoogle