ถึงเวลาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยต้องเปลี่ยนแปลง ทยายกำแพง “ผูกขาด” ตลอด 28 ปี
ตลอดระยะเวลา 28 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า "ตลาดโทรคมนาคมไทย" เป็นแบบผูกขาดมาตลอด มีผู้นำเดี่ยวที่มีไม่เคยเปลี่ยนมือ อีกทั้งยังแข็งแกร่งขึ้นในทุกๆ ปี
เรากำลังพูดถึง “AIS” บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมไทย ที่ปัจจุบันมีบริษัทพลังงานที่แข็งแกร่งอย่าง "Gulf" หนุนหลังอยู่อีกที
ตลาดผูกขาด?
ตลอดระยะเวลา 5 ปีหลัง ผู้นำอย่าง AIS กวาดกำไรเข้ากระเป๋าไปกว่า 150,000 ล้านบาท ในขณะที่คู่แข่งอย่าง "TRUE" ผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง และ "DTAC" กำไรลดน้อยลงในทุกๆ ปี จนแทบจะไม่ทำกำไรแล้ว
การที่คู่แข่งของ AIS อ่อนแรงลงในทุกๆ ปีใน ขณะที่ AIS เองก็ยังคงแข็งแกร่งในทุกๆ ปีเช่นกัน แบบนี้สามารถมองว่าตลาดโทรคมนาคมของไทย เป็นแบบผูกขาดมาตลอดได้หรือไม่? และการแข่งขันต่อไปในระยะยาวจะเป็นเช่นไร?
นอกจากบริษัทโทรคมนาคมของไทยจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องรับมือกับการแข่งขันจากโลกดิจิทัล ที่กำลังเข้ามาแย่งส่วนแบ่งรายได้ ทำให้กำไรลดลงไปอีกทุกปี แต่สวนทางกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากค่าประมูลใบอนุญาติใช้คลื่นความถี่ และค่าใช้จ่ายในการขยายสัญญาณ ยังไม่นับรวมบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียมที่จะเป็นคู่แข่งสำคัญในอนาคต
ในโลกการค้าเสรี การแข่งขันมีแต่จะมากขึ้น ลูกค้าจะมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น แต่บริษัทโทรคมนาคมการแข่งขันไม่ได้ลดลงเลย ตรงกันข้ามยิ่งทำให้เกิดการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ต่างงัดกลยุทธ์มาครองใจลูกค้า ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถชะลอหรือหยุดนิ่งได้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งมูลค่าการตลาดและการแย่งชิงลูกค้ามาใช้บริการเครือข่ายของตัวเองให้มากที่สุด
การควบรวมเพื่อการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมระหว่าง TRUE และ DTAC
เป็นข่าวใหญ่ช่วงปลายปี 2564 ลากยาวจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการควบรวมระหว่างบริษัทโทรคมนาคมเบอร์ 2 กับเบอร์ 3 ของไทย ซึ่งหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าหากทั้ง 2 บริษัทควบรวมกันแล้ว หลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น?
หากการควบรวมผ่านไปด้วยดี สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นอย่างแรกเลย คือตลาดโทรคมนาคมจะเปลี่ยนแปลงจากตลอดแบบผูกขาด มาเป็นตลาดที่จะมีผู้เข้าแข่งขันที่สูสีกัน 2 ราย และยังมียักษ์หลับอย่าง “NT” ที่มีความเพียบพร้อมในทุกๆ ด้าน มีคลื่นในมือไม่แพ้ใคร และมีต้นทุนต่ำกว่ารายอื่นๆ เพราะหลายคลื่นมี ได้รับการจัดสรรมาโดยไม่มีต้องประมูล อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ (Asset) กว่า 3 แสนล้านบาท เพียงแค่บริหารให้ถูกต้อง ก็สามารถมายิ่งใหญ่ได้ กลายเป็นผู้ประกอบการ 3 ราย ที่ทัดเทียมกับคู่แข่งอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน
ส่วน TRUE และ DTAC ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือลูกค้าของทั้ง 2 ค่าย เนื่องจากเสาที่มีจะเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ต้น สัญญาณจะดีขึ้นทันที ราคาที่แพ็คเกจต่างๆ จะถูกลงจากต้นทุนที่ลดลง จะทำให้ TRUE และ DTAC มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับ AIS และ NT ได้ใกล้เคียงมากขึ้น เพราะปัจจุบัน AIS และ NT มีต้นทุนต่อลูกค้าต่ำกว่ามาก และมีกำไรสะสมสูงมาโดยตลอด ทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยไม่เกิดการต่อสู้ด้านราคา ทั้ง TRUE และ DTAC ไม่สามารถลดราคาได้มาก เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยและการขาดทุนสะสมมีสูง ดังนั้น หากควบรวมสำเร็จ ลูกค้าของทั้งสองรายจะได้ผลกระทบเชิงบวก จากต้นทุนที่ลดลง AIS และ NT ก็ต้องมาแข่งด้านราคามากขึ้น เนื่องจาก TRUE และ DTAC เข้ามาใกล้เคียงมากขึ้นนั่นเอง
"หากการควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC ดำเนินการได้สำเร็จ จะทำให้มีผู้ประกอบการที่มีความทัดเทียมกัน ทำให้สามารถแข่งขันกันได้มากขึ้น และสามารถแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัลได้"
หลัง TRUE และ DTAC ประกาศควบรวมเกิดเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Tech Company) จะทำให้ผู้เล่นโทรคมนาคมในประเทศไทย มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจระดับภูมิภาคในเวทีดิจิทัลโทรคมนาคมใหม่ (New Telco Market) แข่งกับยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดภูมิภาคอยู่แล้วได้อย่างสูสีมากขึ้นต่อไป