นักสะสมรอยสัก"ยากูซ่า"!!ที่ติดอยู่กับผิวหนังของยากูซ่า
ฟูกูชิ มาซาอิ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพญาพิวิทยา เป็นศาสตราจารย์ทางด้านการแพทย์ทีเหล่า"ยากูซูซ่า"ทั่วญี่ปุ่นรู้จักและให้ความนับถือเป็นอย่างมาก
เพราะว่านายแพทย์"ฟูกูชิ"นั้นเป็นแพทย์ที่รักษาโรคต่างๆให้กับยากูซ่าอย่างเต็มใจและคิดค่ารักษาเพียงครึ่งเดียวอีกต่างหาก หรือถ้ามีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆก็รักษาให้ฟรีไปเลย และถ้าเขาเห็นว่ายากูซ่าคนใหน มีรอยสักครึ่งๆกลางๆหรือไม่เสร็จสมบูรณ์ นายแพทย์คนนี้ก็จะยื่นข้อเสนอออกค่าใช้จ่ายในการสักให้เสร็จสมบูรณ์
และแน่นอนข้อเสนอนี้ก็ต้องมีข้อแลกเปลี่ยน นั้นคือแลกกับการเป็นเจ้าของผิวหนังที่เต็มไปด้วยรอยสักของแก็งยากูซ่า และชื่อของนายแพทย์คนนี้ก็ถูกเล่าปากต่อปากจนชื่อเสียงของนาแพทย์นั้นดังไปทั่ว"ยากูซ่า"และมี"ยากูซ่า"มากมายที่สนใจข้อเสนอของนายแพทย์คนนี้
เมื่อยากูซ่าคนใหนที่ไม่มีเงินสักหรือเงินสักไม่เพียงพอพวกเขาเหล่านั้นก็เข้าหานายแพทย์คนนี้และทำตามข้อเสนอ เพื่อแลกกับการได้รอยสักที่เสร็จสมบูรณ์ ส่วนสาเหตุที่ทำให้นายแพทย์"ฟูกูชิ"สะสมรอยสักนั้น
ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี1907 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายแพทย์"ฟูกูชิ"กำลังศึกษาเกี่ยวกับกามโรคและการเจริญเติบโตของไฝบนผิวหนัง ในขณะนั้นเองก็ได้พบกับข้อสันนิษฐานว่า น้ำหมึกที่ใช้ในการสักอาจทำลายเชื่อสิบลิตรได้
เนื่องจากพบว่าแผลจากสิบลิตรนั้นไม่เกิดขึ้นบนผิวหนังที่พึ่งสัก หลังจากนั้นนายแพทย์"ฟูกูชิมา"ก็มีความมุ่งมั้นตั้งใจเกี่ยวกับการศึกษา ที่เกี่ยวกับเม็ดสีบนผิวหนังของมนุษย์และการเจริญเติบโตของไฝในผู้ที่มีรอยสัก
ต่อมาในปี1926เขาได้เริ่มสึกษาเกี่ยวกับผิวหนังของคนเป็นและคนตาย พร้อมทั้งวิธีดูแลรักษาผิวหนังที่ถูกลอกออกมาจากร่างกายของมนุษย์ เพื่อเก็บไว้ศึกษาและใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ต่อไป ตลอดช่วงเวลาเหล่านั้นนับตั้งแต่ปี1926นายแพทย์"ฟูกูชิ"ได้เก็บรอยสักไว้จำนวนมาก และยังมีภาพถ่ายกว่าสามพันใบ พร้อมข้อมูลของเจ้าของรอยสักเหล่านั้น แต่น่าเสียดายที่มันถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และส่วนหนึ่งก็ถูกขโมยไปในช่วงปี1927-1928 แต่ก็ยังมีความโชคดีอยู่บ้าง เพราะด๊อกเตอร์"ฟูกูชิ"ได้แบ่งเก็บแผ่นรอยสักบางส่วนไว้ในที่หลบภัยทางอากาศ
และผลงานส่วนนี้เองที่เหลือรอดมาจนได้รับการดูแลรักษาไว้ที่ มหาวิทยาลัยนิปปอนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีแสดงไว้อยู่105ชิ้นด้วยกัน อย่างไรก็ตามที่นี่ไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม แต่จะเปิดเพื่อการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางการแพทย์หรือด้านประวัติศาสตร์แห่งศิลปะรอยสักของญี่ปุ่นเท่านั้น
ขอบคุณภาพจาก: The Wonder Light