หากเตรียมความพร้อมไว้เสมอ อุบัติเหตุจะลดน้อยลงมากขึ้น
เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้น ถ้าเป็นเรื่องดี เราก็ไม่มีสิ่งใดให้ต้องกังวล แต่ถ้าเป็นเรื่องร้ายแล้วล่ะก็ จะต้องรับผลที่ตามมาอย่างแน่นอน เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับร่างกายและทรัพย์สินได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ที่เรารู้จักในนาม อุบัติเหตุ เมื่อได้ยินคำนี้ทีไร ลางสังหรณ์และใจจะหวิวทันที เพราะข่าวส่วนมากที่ออกมานั้น มักจะเป็นเรื่องอุบัติเหตุที่มีผลต่อผู้เสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างมากได้ หรือจะเป็นอุบัติเหตุทั่วไปหรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากอาการป่วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ การเตรียมความพร้อม หากสิ่งนั้นเกิดขึ้น เช่น ถ้าคนในครอบครัวของเรามีโรคประจำตัว เราก็ควรมีอุปกรณ์คนไข้ไว้ติดบ้าน ไม่ว่าจะเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือจะเป็นยาที่จำเป็นเฉพาะที่แพทย์จ่ายให้อย่างถูกต้อง
หลายครอบครัวอาจจะไม่ได้วางแผนหรือตระหนักในเรื่องนี้มากนัก เวลาที่เกิดปัญหาใดๆขึ้นมาจึงไม่สามารถที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือผู้มีโรคประจำตัวได้ทันท่วงที ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเลย ซึ่งการเรียนรู้เรื่องการปฐมพยาบาลนั้นควรจะมีการให้ความรู้ โดยเว็บไซต์ pobpad ได้แชร์บทความไว้ว่า การสำลักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดค้างอยู่ในลำคอหรือกีดขวางหลอดลม สังเกตเห็นได้จากอาการบางอย่าง เช่น เล็บ ริมฝีปาก และผิวหนังของผู้ป่วยคล้ำหรือเปลี่ยนเป็นสีเขียว พูดไม่มีเสียงหายใจลำบาก หายใจเสียงดัง ไม่สามารถไอแรง ๆ หรือหมดสติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรทำโดยทันที เนื่องจากการสำลักจะทำให้สมองขาดออกซิเจน โดยปฏิบัติดังนี้ ตบหลัง 5 ครั้ง ระหว่างกระดูกสะบักของผู้ป่วยด้วยส้นมือ โดยผู้ช่วยเหลือควรเรียนเทคนิคการตบหลังก่อนการช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นให้ใช้วิธีการกดกระแทกที่ท้องแทน หรือจะทำ 2 วิธีสลับกันก็ได้ กดกระแทกที่ท้อง (Abdominal Thrusts) 5 ครั้ง ควรทำก่อนการขอความช่วยเหลือ โดยให้ยืนข้างหลัง เอาแขนรัดรอบเอว แล้วโน้มตัวผู้ป่วยไปด้านหน้าเล็กน้อย กำหมัดแล้ววางไว้ตรงสะดือของผู้ป่วย จากนั้นใช้มืออีกข้างจับที่หมัด แล้วกดลงแรงและเร็วที่ท้องของผู้ป่วย ให้เหมือนกับกำลังพยายามยกตัวผู้ป่วยขึ้น วิธีนี้สามารถทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา และสามารถใช้ได้กับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีและผู้ใหญ่ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ผู้ช่วยเหลือวางท้องแขนลงบนหน้าตัก จับผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง แล้ววางใบหน้าของผู้ป่วยลงบนท้องแขน จากนั้นค่อย ๆ ทุบลงกลางหลังให้แรงมากพอจะทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาได้ หากยังไม่ได้ผลให้ใช้ 2 นิ้ววางตรงกลางกระดูกหน้าอก และปั๊มหัวใจ 5 รอบแบบเร็ว ๆ ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา ในกรณีที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมขวางทางเดินหายใจ หากทารกหยุดหายใจ ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือแล้วจึงทำ CPR