รอยสักต้องห้าม
การสักที่มีขึ้นในหมู่มนุษยชาติต่างๆ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี ปัจจุบันมีทั้งหญิงทั้งที่นิยมกัน ไม่ว่าเพราะแฟชั่น หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ บูชาครู ต่างๆ นาๆ ที่เป็นการเขียนสีและลวดลายต่างๆ บนร่างกาย ซึ่ง รอยสัก อาจคงอยู่ชั่วคราวหรือถาวร การสักของแต่ละวัฒนธรรมมีความหมายเฉพาะตัวต่างกันไป
สำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ บูชาครู นั้นผู้สักจะต้องมีพิธีไหว้ครูและผู้ที่รับการสักจะต้องรับสัจจะ เพื่อปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด แต่มีสองรอยสักต้องห้ามคือ
1. พญาครุฑ ที่กล่าวกันว่า เป็น สัญลักษณ์ครุฑ สัญลักษณ์แห่งแผ่นดิน เป็นเครื่องหมายแห่งสิทธิอำนาจและความเป็นมงคล
ครุฑคือสัตว์หิมพานต์อย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่สัตว์สามัญธรรมดา เพราะพยาครุฑเป็นสัตว์กึ่งเทพ ซึ่งมีอำนาจเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นพาหนะของพระนารายณ์อย่างหนึ่งในเมืองไทยเรานับถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ เป็นองค์นารายณ์อวตารจึงมีการใช้ธงรูปครุฑ และมีครุฑเป็นสัญลักษณ์ประจำแผ่นดิน
สามารถพบเห็นรูปครุฑได้จากเอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ และนับว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารศักดิ์สิทธิ์ หากราชการผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ใดมีความสุจริตจงรักภักดีต่อแผ่นดิน องค์พระมหากษัตริย์ และหน้าที่ของตน องค์พญาครุฑก็จะส่งพลังปกป้องให้มีความสุข ความเจริญในหน้าที่
เชื่อว่าหากที่ใดมีอาถรรพ์แรงท่านให้นำเอาตราครุฑไปติดจะทำให้อาถรรพ์นั้นเสื่อมสลายไปในที่สุด ตราครุฑล้างอาถรรพ์ได้จึงเป็นที่เชื่อถือกันมาตลอดและได้รับความเคารพบูชาว่าเป็นของสูง เสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งองค์พระประมุข ผู้ใดมีสัญลักษณ์ครุฑ รูปครุฑบูชาไว้ย่อมได้อานิสงส์มาก อาทิ มีความเจริญแก่ตัวเองและครอบครัวเป็นต้น ดังนี้แล้วครุฑจึงเป็นของสูงที่เราควรรู้ควรบูชาอย่างหนึ่ง
2. ท้าวเวสสุวรรณ กล่าวกันว่า ป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มียักษ์เป็นบริวาร
ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลโลกมนุษย์ รักษาสมบัติเทวโลก ปกครองเหล่ายักษ์ภูตผีปีศาจ รวมถึง ช่วยปกปักรักษาพระพุทธศาสนา ยังมี ความเชื่อถือกันอีกว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ และ มหาเทพแห่งความร่ำรวยมั่งคั่ง เหมาะแก่การบูชาเสริมดวง อำนาจบารมี ทรัพย์สินเงินทอง และความเจริญก้าวหน้า
เป็นเทพผู้เป็นใหญ่ ปกป้องจากสิ่งชั่วร้าย และเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง โดยประจำทิศเหนือ และยังมีเทพอื่นอีก 3 องค์คือ ท้าววิรุฬหก ประจำทิศใต้ ท้าวธตรฐ หรือพระอินทร์ ประจำทิศตะวันออก และท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศตะวันตก
พญาครุฑ กับ ท้าวเวสสุวรรณ เปรียบเป็นของสูง การสักจะต่างกับของบูชา การสักเหมือนการอันเชิญท่านเข้ามาประทับในร่าง ซึ่งมีข้อห้าม เช่นห้ามประพฤติตนไม่ดี ผิดศีล 5 ไม่กระทำตนเป็นผู้ทำลายศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การยุยงหรือส่งเสริมให้ผู้อื่นหมดสิ้นความศรัทธาต่อศาสนา ไม่ประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต เอารัดเอาเปรียบ หรือฉ้อโกงผู้อื่น ไม่กระทำตนเป็นผู้เห็นแก่ตัว ขาดน้ำใจ และการให้ทาน
ซึ่งต้องรับสัจจะก่อนสักยันต์ หากยึดถือปฎิบัติไม่ได้ของสูงเหล่านี้ก็จะเสื่อมลง เปรียบได้กับจิตใจคนคนนั้นที่เสื่อมถอยลง นำพาชีวิตให้ย้ำแย่ลง