“ใบทำมัง” ตัวตายตัวเเทนของเเมงดา ตำน้ำพริกอร่อยมาก
ใครชอบทานน้ำพริกเเมงดา จะเข้าใจเลยว่ากลิ่นมาหอมป่านใด๋ อยากสูดเข้าให้เต็มปอด อยากเอาไปทำเป็นยาดมเลย (เว่อร์ไป ๆ 55555) เเต่บางช่วงเเมงดานาหายากซื้อยากมาก คนใต้อย่างเเอดเวลาอยากกินก็ต้องไปซื้อเเบบสำเร็จรูปมากินให้พอหายอยาก เเต่กลิ่นมันไม่ได้เลย กลิ่นเจือจางระดับเเปด พอมาเจอใบไม้ชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นเหมือนเเมงดามาก เอามาใช้เเทนกันได้เลย นั่นคือใบทำมัง
ต้นทำมังหรือธัมมัง หรือไม้เเมงดา เป็นไม้เนื้อเเข็ง ทรงพุ่มรูปกรวยกว้าง ใบสีเขียวสดเเละมันเเวว ต้นทำมังที่มีถิ่นกำเนิดในแหลมมาลายูเเละทางภาคใต้ของไทย ปัจจุบันเริ่มหายาก เเละใกล้สูญพันธุ์เเล้ว จึงจัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข คือ ห้ามตัด ฟัน โค่นล้ม เว้นแต่ได้อนุญาตในกรณีพิเศษ
ต้นทำมังเเทบทุกส่วน สามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้ เเละที่นิยมมากที่สุดคือใบอ่อน เอามาเป็นผักเเกล้มน้ำพริก ใบเเก่นำมาตำน้ำพริกใช้เเทนเเมงดา ซึ่งเหมาะมากสำหรับคนที่ทานเจหรือทานมังสวิรัต เป็นการทานน้ำพริกเเมงดาที่ไม่มีเเมงดา กลิ่นมันคล้ายกันมากจริง ๆ
ด้วยความที่ใบมีกลิ่นค่อยข้างเเรง ส่วนลำต้นก็มีกลิ่นเเรงสำหรับมอดเเละปลวก ทำให้เวลาเอาลำต้นมาทำงานไม้ต่างๆ ปลวกมอดจะไม่กิน ส่วนเปลือกต้นทำมังสามารถนำมาปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อและแก้จุกเสียดได้ดี
โดยกลิ่นเเมงดาในตัวเเมงดาที่หลายคนชื่นชอบนั้น ที่จริงเเล้วมันเป็นกลิ่นฟีโนโมนเพศสำหรับดึงดูดให้เเมงดาตัวผู้เเละตัวเมียมาผสมพันธุ์กัน โดยกลิ่นนี้จะประกอบด้วยสารหลายชนิดผสมกันอยู่ ได้แก่ เอทิลอะซีเทต เฮกซิลแอซีเทต โพรพีลินไกลคอล และไดเมทิลซัลไฟด์
กลิ่นเเมงดานี้มีทั้งในตัวผู้เเละตัวเมีย เเต่ในเพศผู้จะมีกลิ่นเเรงกว่า พูดง่ายๆ ก็คือกลิ่นเเมงดาเพศผู้หอมกว่า เวลาเอามาตำน้ำพริกก็จะให้กลิ่นที่หอมมากกว่าตัวเมีย ซึ่งใบเเก่ของต้นทำมังจะมีความคล้ายกับกลิ่นเเมงดาตัวผู้นั่นเอง