หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไม่ใช่กุ้ง ไม่ใช่ปู "แม่หอบ" สัตว์ยักษ์ดึกดำบรรพ์ ถือกำเนิดมาตั้งแต่16 ล้านปีก่อน

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

 

ไม่ใช่กุ่ง ไม่ใช่ปู แม่หอบ หรือ จอมหอบ ( Mud lobster, Mangrove lobster ) เป็นสัตว์น้ำประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสกุล Thalassina และวงศ์ Thalassinidae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณหรือซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่ดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนยาวนานถึง 16 ล้านปี

ซากดึกดำบรรพ์ที่นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ออสเตรเลีย

 

การที่ได้ชื่อในภาษาไทยว่า “แม่หอบ” เนื่องจากมีความเชื่อว่า เนื้อของแม่หอบสามารถรักษาอาการหอบหืดได้ จึงนิยมนำมาเผาไฟรับประทานกันในอดีต สอดคล้องกับชื่อวิทยาศาสตร์ Thalassina ที่หมายถึง “การย้อนกลับทางเดินหายใจ”

เพื่อให้เหงือกไม่มีสิ่งสกปรก สถานะปัจจุบันของแม่หอบ ถือได้ว่าใกล้ต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างบอบบางตายง่าย เช่น ในช่วงฤดูมรสุมน้ำทะเลอาจท่วมรูของแม่หอบ จนทำให้แม่หอบตายได้

มีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับปูโดยขาคู่แรกขนาดใหญ่คล้ายก้ามปู นอกจากใช้เดินแล้วยังทำหน้าที่ขุดรูและขนดินออกมากองคล้ายจอมปลวก แต่มีขนาดเล็กกว่า หัวเหมือนกุ้งมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีแดงเข้มเป็นปล้อง ๆ คล้ายกั้ง ท้องขนาดเล็กยาวเรียวไม่มีแพนหาง ลักษณะคล้ายแมงป่อง มีขนาดความยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร (7.9–12 นิ้ว)

อาศัยโดยการขุดรูอยู่ตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น สามารถอยู่บนบกได้เป็นเวลานานกว่าครัสตาเซียนจำพวกอื่น ๆ กินอาหารจำพวกอินทรีย์สารที่อยู่ในดินเลนในเวลากลางคืน

ในประเทศไทยพบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่รัฐเกรละ ในอินเดีย, ศรีลังกาจรดถึงเวียดนาม, หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น จนถึงชายฝั่งทะเลของปาปัวนิวกินีและออสเตรเลียทางตอนเหนือและตะวันตก รวมถึงฟิจิและซามัว พบได้รอบ ๆ พื้นที่เกษตรกรรม เช่น พื้นที่เพาะเลี้ยงปลาหรือกุ้ง โดยถือว่าเป็นสัตว์คุกคาม

การที่ได้ชื่อในภาษาไทยว่า "แม่หอบ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า เนื้อของแม่หอบสามารถรักษาอาการหอบหืดได้ จึงนิยมนำมาเผาไฟรับประทานกันในอดีต สอดคล้องกับชื่อวิทยาศาสตร์ Thalassina ที่หมายถึง "การย้อนกลับทางเดินหายใจ" เพื่อให้เหงือกไม่มีสิ่งสกปรก

สถานะปัจจุบันของแม่หอบ ถือได้ว่าหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างบอบบางตายง่าย เช่น ในช่วงฤดูมรสุมน้ำทะเลอาจท่วมรูของแม่หอบ จนทำให้แม่หอบตายได้

รูปปั้น แม่หอบ ที่ชีวมณฑลป่าชายเลนระนอง ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว

โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/แม่หอบ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
65 VOTES (5/5 จาก 13 คน)
VOTED: Apiwat Arlize, JGai, เป็ดปักกิ่ง, Riddikulus, แหวนดอกไม้วงนั้น, คุณท่าน, อกหัก มารักกะลิง, Amitytong, ยอน มาราเธ็ด, taewsa, Thorsten, PaMok, ลูกสาวอบต
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เส้นดำๆ หลังกุ้งคืออะไร? กินได้ไหม?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผิดเวลาไปหน่อย!! ป้าเข้าวัดสวดมนต์เสียงดั่งลั่นโบสถ์ พระทำวัตรเย็นก็ไม่ได้ ต้องให้ตำรวจมาเชิญตัวออกไปชาวบ้านอึ้ง!! หลังพบคู่รักซั่มกันบนดาดฟ้า ท้าลมหนาว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คนโสดต้องกินองุ่น 12 ลูกใต้โต๊ะ12 วิก่อนปีใหม่….เพื่อ????ธัญพืชโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง? ที่สายสุขภาพต้องลองYouTube มีแผนจะลบวิดีโอประเภท Clickbait ที่หลอกลวงผู้บริโภค โดยจะเริ่มที่อินเดียเป็นที่แรกนักวิทย์สร้าง แบตเตอรี่เพชรคาร์บอน-14 สำเร็จ ให้พลังงานกว่า 5,000 ปี กว่าแบตฯจะลดลงครึ่งหนึ่ง
ตั้งกระทู้ใหม่