คุณเรียกเครื่องหมายนี้ว่าอะไร
เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า เครื่องหมายนี้ทำไมต้องเรียกว่า ไปยาลใหญ่ เรียกเเบบนี้ถูกจริงเหรอ เเล้วทำไมต้องมี ล.ลิงอยู่ตรงกลาง ตัวอื่นได้มั้ย เเอดเชื่อว่าน่าจะมีมีหลายคนที่เรียกเครื่องหมายที่ว่า เก้าลอเก้า ด้วยซ้ำ 5555555 ที่มาของเครื่องหมายนี้มาได้ยังไง มาทบทวนภาษาไทยสมัยประถมกันค่ะ
เครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง โดยคำว่าไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล เป็นภาษาบาลี ซึ่งเเปลว่า ย่อ ในภาษาไทยจะคั่นด้วย ล.ลิง เพราะฉะนั้นการอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ที่อยู่ข้างท้ายข้อความให้เราอ่านว่า "ละ" หรือ "และอื่น ๆ" ไม่ใช่อ่านว่าไปยาลใหญ่เด้อ
โดยเครื่องหมายนี้จะใช้เมื่อต้องการละคำที่มีต่อท้ายที่ยังมีอีกเยอะ เช่น จังหวัดในภาคใต้ ได้เเก่ ชุมพร สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ฯลฯ เเบบว่าสาธยายไม่ไหวเเล้ว ก็ใส่เครื่องหมายนี้ให้รู้ว่า มียังมีอีกมากนะยู๊
หรือในอีกกรณีนึง คือใช้คั่นกลาง ระหว่าง คำต้น และคำท้าย ซึ่งให้อ่านว่า "ละถึง" อย่างเช่น ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ชโย หรือ อิติปิ โส ฯลฯ ภควาติ
นอกจากนี้เครื่องหมาย“ละ” ยังมีในภาษาเขมรด้วยนะคะ ซึ่งเค้าใช้เหมือนของภาษาไทยเลยค่ะ คือใช้ละคำต่อท้าย โดยสัญลักษณ์จะเป็นเเบบนี้ (៘) ซึ่งถ้าดูบนเเป้นพิมพ์มันคือตัวเดียวกันด้วย
ของเสริมอีกนิด มีไปยาลใหญ่ที่ต้องอ่านว่า “ละ” เเล้ว จะไม่มีไปยาลน้อยได้ยังไง ถ้าเป็นเครื่องหมายไปยาลน้อย จะเขียนเเค่ตัวเดียวเเบบนี้ ฯ อ่านว่าไปยาลน้อยได้เลยค่ะ ใช้วรรคเหมือนกัน เเต่จะใช้ย่อเพื่อทำให้คำสั้นลง เช่น ข้าฯ คำเต็มคือ ข้าพเจ้า หรือจะเป็นคำว่า กรุงเทพฯ คำเต็มคือ "กรุงเทพมหานคร" อย่างนี้เป็นต้น