ย้อนรอยประวัติศาสต์การเมืองไทย!! นายกฯ "ยุบสภา" มาแล้ว 14 ครั้ง นับถอยหลัง "รัฐบาลนายกฯ ตู่"
ไทยเรามีรัฐบาลที่ตัดสินใจยุบสภา มาแล้วรวม 14 ครั้ง มี 8 ครั้ง ที่เกิดจากความขัดแย้งภายในรัฐบาล การแย่งชิงตำแหน่ง และปัญหาในรัฐสภา ชมดูยุคที่สำคัญๆ กันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สัญญา ธรรมศักดิ์ ประกาศยุบสภา เมื่อ เนื่องจากสมาชิกนิติบัญญัติลาออก จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้
12 มกราคม พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้นตำรับรัฐบาลเสียงน้อยที่สามารถรวบรวมเสียงได้ 16 พรรคจัดตั้งรัฐบาล แต่บริหารงานได้ไม่ถึงปีก็ประกาศยุบสภา เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลมีการแสวงหาประโยชน์ แย่งชิงตำแหน่ง ทำให้เกิดความขัดแย้ง
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบาลขัดแย้งกับสภา กรณีการตราพระราชกำหนด
29 เมษายน พ.ศ. 2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 อานันท์ ปันยารชุน เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง
นายชวนหลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
รัฐบาลชวนสมัยแรกได้มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อสมาชิกคณะรัฐมนตรีไปมีส่วนในเอกสารโครงการปฏิรูปที่ดิน สปก. 4-01 ซึ่งมีการจำหน่ายในจังหวัดภูเก็ต เกิดการวิจารณ์จากสาธารณะและสื่ออย่างหนัก จึงเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านนำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หยิบเป็นประเด็นหลักในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและได้กำหนดวันลงมติคือวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ปรากฏว่าพรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่ารัฐบาลตอบคำถามในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคลุมเครือไม่ชัดเจน ทางพรรคจึงได้มีมติงดออกเสียงให้รัฐบาล ทำให้ผลการประชุมของพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลืออยู่จึงเห็นตรงกันให้มีการยุบสภา นายชวนในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538
27 ก.ย.2539 บรรหาร ศิลปอาชา ยุบสภา เหตุถูกพรรคฝ่ายค้าน อภิปรายไม่ไว้วางใจโจมตีว่าการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน กดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ทักษิณประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย ไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ผลปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
รอติดตาม หลังจาก นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตกอยู่ในสภาวะเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลขยายวงกว้างดั่งไฟลามทุ่ง และสถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดีนักในช่วงนี้