แก้ไขแล้ว!! ทางม้าลาย บริเวณรอยต่อ รพ.ราชวิถี-รพ.เด็ก ทางม้าลาย 2 ฝั่ง ไม่ตรงกัน อยู่เยื้องกัน
หลังจากนักข่าวอย่าง อาร์ท เอกรัฐ ลงสำรวจ และโพสต์คลิป อันตราย! #ทางม้าลาย 2 ฝั่งถนนไม่ต่อเนื่อง ไม่ตรงกัน!! ในวันที่ 11 กพ. ที่ผ่านมา
สำรวจ #ทางม้าลาย บริเวณรอยต่อ รพ.ราชวิถี-รพ.เด็ก”ทางม้าลาย 2 ฝั่ง ไม่ตรงกัน อยู่เยื้องกัน!!
สังเกตจากจังหวะผมลองเดินข้าม เราจะชนกับ
“ราวเหล็ก”พอดี จากนั้่นต้องเดินบนเกาะกลางถนนไปทางซ้าย เพื่อข้ามไปอีกฝั่งถนน!
ปชช.หลายคนบอกมาว่า กลางวันคนข้ามเยอะอันตรายครับ!
แจ้งทาง กทม. กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ และ ผู้ว่าฯ อัศวิน เพื่อดำเนินการ
แก้ไขเพื่อความปลอดภัยอีกจุดนะครับ!!
(หมายเหตุ : ล่าสุด ผมได้แจ้งปัญหานี้ ไปยังโครงการของผู้ว่าฯ ทางไลน์@ เรียบร้อย
จะติดตามการแก้ปัญหาต่อไปครับ!)
ชมคลิป
ล่าสุด! “สำนักการจราจรและขนส่ง” กทม.
ชี้แจงผม กรณี “#ทางม้าลายไม่ตรงกันหน้ารพเด็ก
ไว้ ณ ที่นี้แล้วนะครับ
12 กพ . ทาง เพจ สำนักการจราจรและขนส่ง - สจส. โพสต์ไว้ว่า
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ขอเรียนชี้แจงกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าทำไมทางม้าลายบริเวณหน้าโรงพยาบาลเด็กทั้ง 2 ฝั่งถึงไม่ตรงกันดังนี้ค่ะ 😊
เดิมทางม้าลายบริเวณดังกล่าวมีลักษณะตรงกันค่ะและมีสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้ามติดตั้งไว้ พร้อมทั้งมีการจัดทำทางลาดสำหรับผู้พิการใข้รถเข็นและผู้สูงอายุ ไว้ด้วยแล้ว
**แต่ด้วยเมื่อมีการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลเด็ก โดยทางโรงพยาบาลได้จัดทำทางเข้า-ออกโรงพยาบาลอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับทางม้าลายและสัญญาณไฟกะพริบเดิมที่มีอยู่ จึงประสานสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ดำเนินการย้ายสัญญาณไฟกะพริบเตือนและทางข้าม เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบกายภาพพื้นที่พบว่าทางเท้าฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเด็กมีลักษณะแคบไม่เพียงที่จะย้ายไฟกะพริบเตือนไปติดตั้ง รวมทั้งไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำทางลาดผู้พิการใช้รถเข็นและผู้สูงอายุ แต่กายภาพทางเท้าฝั่งหน้าโรงพยาบาลเด็กมีทางเท้าที่กว้างเพียงพอสำหรับติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเตือนและทำทางลาดสำหรับผู้พิการใช้รถเข็นและผู้สูงอายุ จึงได้ดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดทางเข้าออกโรงพยาบาลเด็กได้และยังคงให้ประชาชนสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย ดังนี้ค่ะ
(1) ย้ายทางข้ามและสัญญาณไฟกะพริบเตือน เฉพาะฝั่งด้านทางม้าลายฝั่งหน้าโรงพยาบาลเด็ก โดยยังคงทางข้ามและสัญญาณไฟกะพริบเตือนฝั่งตรงข้ามไว้ในตำแหน่งเดิม
(2) จัดทำทางข้ามทั้ง 2 ฝั่ง ให้เป็นสีแดง เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะขับขี้ด้วยความระมัดระวัง และชะลอความเร็ว
(3) เปลี่ยนช่องจราจรกลับรถที่ติดกับเกาะกลางถนน ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการใช้เป็นช่องกลับรถ ให้เป็นเกาะสีสมมุติซึ่งเป็นเขตพื่นที่ปลอดภัยตามกฎหมายและเพิ่มพื้นที่การเดินและพักคอยในการข้ามถนนไปยังฝั่งตรงข้ามค่ะ 🙂



