กระจ่างศาสตร์!! "ถ้ำนาคา" คล้ายกับงูยักษ์หรือลำตัวของพญานาค เกิดจากสิ่งนี้
ถ้ำนาคา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติภูลังกา อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ รอยต่อระหว่างจังหวัดบึงกาฬ – นครพนม จากกรณีที่มีคนแห่ไปท่องเที่ยว กราบไหว้มากมาย จนล้น ลงกลับกันมาไม่ทันนั้น
จุดเด่นสำคัญของถ้ำนั้น ภายในถ้ำจะพบกับหิน ที่มีรูปร่างคล้ายกับงูยักษ์หรือลำตัวของพญานาค มีลักษณะเหมือนเกล็ดของงูขนาดใหญ่ ซึ่งในทางธรณีวิทยา นั้นเกิดจากหินบนพื้นผิวโลกผ่านการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร้อน - เย็นสลับกัน กระบวนการทางกายภาพเกิดการผุพัง ปริแตกตามพื้นผิวโดยรอบหิน เรียกว่า ซันแครก (sun crack)
ภาพจาก https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/893225344493853/
ลวดลาย ”SUN CRACK” แห่งยอดภูลังกาเหนือ
Sun crack stone in Phu Hin Rong Kla National park, Thailand
ปรากฏการณ์ซันแคร็ก (sun crack) ทำให้ผิวหน้าหินแตกจากอุณหภูมิที่แตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนอย่างรวดเร็ว ผ่านกาลเวลา มาแต่บรรพกาล โดยถ้ำนาคาแตกต่างกับถ้ำส่วนใหญ่ในไทยที่เป็นถ้ำหินปูน แต่เป็นหินตะกอนแม่น้ำช่วงปลายถึงหลังยุคไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลก เกล็ดพญานาคที่เห็นเป็นรอยแตกระแหงโคลนบรรพกาลที่ผุผังสึกกร่อนในอัตราที่ต่างกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างกลางวันและกลางคืนอย่างรวดเร็ว ทำให้หินเกิดการขยายตัวและหดตัวสลับไปมา จนแตกเป็นหลายเหลี่ยม (จะเป็นลักษณะซันแคร็กดึกดำบรรพ์ หรือ ระแหงโคลนดึกดำบรรพ์ (paleo-mud cracks or fossil-mudcracks)
ลักษณะ paleo-mud cracks or fossil-mudcracks ในต่างประเทศ
พร้อมมีการผุพังรวมทั้งถูกอากาศและน้ำกัดเซาะในแนวดิ่ง หินที่แตกเป็นก้อนคล้ายเกล็ดงูใหญ่ ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นแยกออกจากกันอย่างชัดเจน และที่สำคัญแต่ละชั้นที่แยกออกจากกันนั้นมีเอกลักษณ์และระบบแตกเฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นว่าเป็นหินตะกอนเนื้อเม็ดประเภทหินทราย แต่ละชั้นมีขนาดเม็ดทรายต่างกัน มีองค์ประกอบแร่ต่างกัน และการเชื่อมประสานอาจแน่นไม่เท่ากันด้วย
ภาพตัวอย่างจาก https://blogs.agu.org/mountainbeltway/2014/02/25/carbonate-mudcracks-in-cross-section-tonoloway-formation/
ส่วนที่คล้ายเกล็ดงู ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง คือริ้วรอยแตกของระแหงโคลนบรรพกาล ที่เกิดมาพร้อมกับการสะสมของตะกอนและการแข็งตัวเป็นชั้นหินตะกอนขนาดต่างๆ โดยหินทรายชั้นบนเนื้อจะละเอียดกว่า จึงแตกคล้ายเกล็ดงูขนาดเกล็ดเล็กกว่า เมื่อเทียบกับชั้นหินที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นหินทรายเนื้อหยาบกว่า จึงแตกเป็นเศษก้อนหินคล้ายเกล็ดงูที่มีขนาดใหญ่กว่า และเมื่อผ่านกระบวนการผุผังมานาน ขอบเดิมของเศษหินที่คล้ายเกล็ดงูที่เป็นเหลี่ยมมุมค่อยๆ มนลง