ออกกำลังกายแบบชะลอวัย/anti aging exercise
คุณคงจะพอเห็นภาพรวมของวิถีการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักมาพอสมควรแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลือกประเภทของการออกกำลังที่คุณชอบและเหมาะสมกับคุณ ที่ทำแล้วสนุกอย่าทำต่อเนื่องไปเรื่อย และทุกวัน เพราะสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักนั้นสำเร็จได้ แต่บางคนอาจจะไม่ชอบเล่นโยคะหรือพิลาทิส แต่ชอบการเล่นเวท ก็สามารถที่จะทดแทนกันได้เพราะการเล่นเวทก็อาศัยแรงต้านที่ทำต่อกล้ามเนื้อเช่นกันบางคนอาจจะชอบออกกำลังกายเป็นกลุ่มหรือเข้าคอร์สออกกำลังกาย
ซึ่งนิยมกันมากในฟิตเนส ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ขอเพียงแค่เรารักและสนุกมีกำลังใจในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆ
วันนี้เราก็เลยมีกำลังใจที่จะมานำทางให้คุณได้ออกกำลังกายแบบชะลอไว้เพื่อสุขภาพ
ใครพร้อมแล้วยกมือขึ้นเลย...
การออกกำลังกายแบบชะลอไว้ ที่จริงแล้วไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ขึ้นอยู่กับความถนัดของร่างกายแต่ละบุคคล
ดังนั้นทั้งประเภทระดับความเข้มข้นหรือระยะเวลา รวมทั้งความถี่ของการออกกำลังกายเลยแตกต่างกัน
เป้าหมายหลักของการออกกำลังกายแบบชะลอวัยก็คือ
เพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น หรือสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น ให้ทำงานได้ดีและไม่เสื่อมไปก่อนวัยอันควร ช่วยลดปริมาณมวลไขมันที่สะสมในร่างกาย สร้างเหมือนกันให้มากขึ้น เพื่อให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายมีความสมดุล แล้วสุดท้ายเพื่อให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักก็คือเพื่อนออกกำลังกายเพื่อชะลอไว้นั่นเอง
ดังนั้นแล้วอีกปัจจัยหนึ่งที่เราเล็งเห็นว่ามีความสำคัญมากในการวางแผนการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและเพื่อการชะลอวัยไปด้วยก็คือโปรแกรมการออกกำลังกายตามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนบางอย่างจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งโปรแกรมการออกกำลังกายที่เราอยากจะแนะนำก็คือ
1.แนะนำการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เนื่องจากจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากขึ้นแล้วสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนในกลุ่มฮอร์โมนฟื้นฟูร่างกายเช่นโกรทฮอร์โมน, เทสโทสเตอโรนแนะนำให้ออกที่ระยะเวลาประมาณ 30 นาทีต่อวัน 1-2วัน/สัปดาห์ง เน้นการบริหารกล้ามเนื้อมัดใหญ่
2.แนะนำการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดหรือฝึกสมดุลในร่างกาย
เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดความเครียด ปรับสมดุลให้กับร่างกาย ทำให้ระบบภายในดีขึ้น แนะนำให้ออกประมาณ 30 นาที/วัน 2-5วัน/สัปดาห์
รูปแบบของการออกกำลังกายประเภทนี้ก็จะได้แก่ โยคะ พิลาทิส และไทเก๊ก ที่ถือเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามธาตุต่างๆ
นอกจากปัญหาภายในยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายอีกหลายชนิดที่ส่งผลต่อการออกกำลังกาย เช่น ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ
***ออกกำลังกายแบบ cardio ไม่จำเป็นมากในช่วงเริ่มต้น ประมาณ 10-20 นาทีต่อวัน ระดับความเข้มข้นแบบเบา ความถี่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะการออกกำลังกายแบบนี้จะยิ่งไปส่งเสริมความเครียดให้กับร่างกายเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนได้น้อยตัวเองทำให้อาการอ่อนเพลียรุนแรงมากขึ้น และไม่ทำให้น้ำหนักลดลง ซึ่งบางคนอาจจะหยุดออกกำลังกายไปเลยก็ได้ พอยิ่งออกก็ยิ่งเหนื่อยแถมน้ำหนักก็ไม่ลงอีกด้วย
ซึ่งสุดท้ายนี้หากคุณเริ่มมีความผิดปกติปัญหาของความผิดปกติในฮอร์โมนต่าง ๆ เหล่านี้เราจะรู้ก็ต่อเมื่อต้องเข้ามาปรึกษาแพทย์อาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการควบคู่ การเข้ามาปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ลดน้ำหนักยากเหลือเกินหรือพยายามแล้วแต่ทำไม่ได้ เธอเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการวางแผนลดน้ำหนักที่ถูกวิธีและเหมาะสม
Reference
- Hasani-Ranjbar S, Soleymani-Far E, Heshmat R, Rajabi H, Kosari H. Time course
responses of serum GH, insulin, IGF-1, IGFBP1, and IGFBP3 concentrations after
heavy resistance exercise in trained and untrained men. Endocrine 2012;41: 144-51.
- Upender Kumar. Aerobic Exercise : Fat Cremation and Heart Rejuvenation. IJMAS
2014;1(6), 185-94.
อ้างอิงจาก: pixabay