นิ้วล็อกเพราะรักงานเป็นเหตุ …แต่เหตุฉไหนจะแก้ไม่ได้ล่ะ
การที่มุ่งมั่นในการทำงานด้วยมือเป็นระวิงหรือชอบอยู่กับเมาส์และแป้นพิมพ์ทั้งวันแล้วละก็ อุ่นใจไปได้เลยว่าคุณไม่เสี่ยงมากกับการเป็นโรคที่เรียกว่านิ้วล็อก วันนี้ทางเราก็ได้เลือกหัวข้อของโรคนิ้วล็อกนี้มาฝากเอาไว้ให้เป็นการระวังก่อนที่จะเกิดขึ้นกับตัวของคุณอาการของโรคนี้จะเป็นยังไงไม่รอช้าดีกว่าเราไปรู้จักกับเขากันเถอะ
รู้จักกับ (Trigger Finger) หรือ โรคนิ้วล็อก
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่เป็นโรคนี้และมีอาการรุนแรงวิธีจะหายได้มีวิธีเดียวก็คือการพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยการผ่าตัดหรือเจาะในส่วนที่มีอาการของนิ้วล็อกและไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่แข็งแรงหรืออ่อนแอมากแค่ไหนโรคนี้ก็ไม่เลือกทั้งนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับแป้นคีย์บอร์ดและเมาส์คอมพิวเตอร์ทั้งวันแน่นอนว่าคุณมีโอกาสอย่างมากที่จะเป็นโรคนี้นอกจากการเป็นโรคนี้ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับโรคอื่น ๆ
เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคนิ้วล็อกเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวทำงานอย่างหนักและเป็นเวลานั้นสำหรับโรคนิ้วล็อกที่เกิดขึ้นกับผู้ชายนั้นจะเกิดกับผู้ชายที่ใช้มือในการทำงานอย่างเช่นใช้มือในการแบกหามหรือยกสิ่งของที่หนักอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะชาวนา ชาวสวน กรรมกรแบกหาม
โรคนี้เกิดที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว อาจเกิดขึ้นแล้วแต่บางคนมักจะมีอาการปวดรุนแรง เมื่อตื่นนอนหรืออยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นอย่าง เช่น ห้องนอนที่มีเครื่องปรับอากาศ และ ห้องทำงานที่ออฟฟิศ
หากคุณเป็นคนเช่นนี้
ทำงานมือเดียวบ่อย ๆ ใช้มือยกของหนัก ถือของหนักทุกวัน พิมพ์งานอยู่หน้าจอคอมตลอดเวลา
กายภาพบำบัดนิ้วล็อกทำได้โดยวิธีไหนบ้าง(?)
อาจเริ่มต้นจากการใช้น้ำอุ่นสักประมาณ 15-20 นาทีเป็นการบรรเทาอาการปวดหรือรับประทานยาแก้ปวดร่วม
ลดหรือพักการใช้นิ้วมือและทำกายภาพบำบัด ใส่เครื่องดามนิ้ว ทำอัลตร้าซาวด์ ใช้ความเย็นประคบเพื่อรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อและดึงข้อต่อให้กลับเข้าที่ เลือกกายภาพบำบัดโดยการผ่าตัดซึ่งต้องได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์
การฉีดยาลดอาการนิ้วล็อกช่วยได้ไหม(?)
การรักษาโรคนนิ้วล็อกด้วยการฉีดยาอาจใช้ไม่ได้ผล แต่การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะทำให้อาการนิ้วล็อก และการปวดนั้นหายไป สำหรับในผู้ป่วยกับอาการนิ้วล็อกรุนแรง การผ่าตัดนับว่าไม่ได้ยุ่งยากและใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิด 10นาที
สำหรับอาการนิ้วล็อกชนิดไม่รุนแรงใช้การรักษาอย่างไร(?)
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคนิ้วล็อกไม่รุนแรงแพทย์จะทำการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ให้ เพื่อลดอาการบวมที่เส้นเอ็นและพังผืดรวมไปถึงการได้รับยาแก้อักเสบที่ชื่อว่า NSAID ทำให้นิ้วกลับมาเหยียดงอได้ปกติ
กันไว้เพราะยังไงก็ย่อมดีกว่าแก้เสมอ
อย่าใช้มือทำงานหนักมากเกินไปและเป็นระยะเวลานานหรือติดต่อกันโดยที่ไม่ได้หยุดพัก เช่น การพิมพ์งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการเขียนหนังสือนานเกินไป
ไม่ควรที่จะใช้นิ้วหิ้วของที่มีน้ำหนักมากเกินไปและหิ้วของหนักเป็นเวลานานและเป็นประจำ เพราะอาจก่อให้เกิดอาการของโรคนิ้วล็อกได้
แนะนำว่าควรบริหารมือบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการดัด งอ คลาย นิ้วมือเพื่อให้กล้ามเนื้อและนิ้วแข็งแรง ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ้วล็อกได้
หาฟองน้ำมาหนุนมือบนที่รองเม้าส์ในช่วงเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคนิ้วล็อกได้
สวมถุงมือนุ่ม ๆ ทุกครั้งที่ต้องใช้มือในการยก กำ กด สิ่งของที่มีน้ำหนักเยอะ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับนิ้วโดยตรง และป้องกันการเกิดโรคนิ้วล็อกด้วย
สำหรับสารอาหารบรรเทาโรคนิ้วล็อก
สารอาหารที่จะช่วยบรรเทาอาการโรคนิ้วล็อกสำหรับคนทำงานที่ต้องเจอกับอาการนี้ ซึ่งเป็นสารอาหารเดียวกับที่ช่วยในการบำรุงเส้นเอ็นเพราะนิ้วล็อกเกิดมาจากเส้นเอ็นอักเสบ
ธัญพืช ข้าวกล้อง เม็ดบัว ลูกเดือย ถั่วเมล็ดแห้ง
มันเทศ ผักใบเขียว ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ตำลึง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลีเขียว บวบ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วพู ขึ้นฉ่าย ชะอมถั่วแห้ง
อย่างไรก็ตามแต่อาการของโรคนิ้วล็อกเรียกได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่โดยเฉพาะวัยรุ่นที่เริ่มเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย ต้องทำรายงานส่งบ้างก็ต้องเขียนหรือพิมพ์เป็นรูปเล่มและวัยผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็อาจจะพบเจอได้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 29 ปี เป็นต้นไป ที่ต้องอยู่กับการใช้มือทำงานและเป็นงานหนักอยู่ประจำ การได้พักที่แม้จะดูยากไปหน่อยการดูแลตัวเองด้วยการสังเกตร่างกายอยู่เสมอเพื่อจะได้หาวิธีป้องกันก่อนที่อาการนิ้วล็อกจะเกิดขึ้นเสียก่อน
Reference: https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/trigger-finger
อ้างอิงจาก: pixabay