ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยมีครอบครัวศิลปอาชา และมิตรสหายชาวสุพรรณบุรีช่วยกันสนับสนุน
หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยภริยา ดร.สุวรรณา ศิลปอาชา กรรมาธิการสหพันธ์สเก็ตน้ำแข็งนานาชาติ สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา ส่วนราชการ จ.สุพรรณบุรี และพี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรี ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 3 ชั้น โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี สำหรับโรงพยาบาลหนองหญ้าไซนั้นมีประวัติมายาวนานเป็นโรงพยาบาลที่ช่วยเหลือประชาชนชาวสุพรรณมานานกว่า 30 กว่าปี ดังนั้นตามข้อมูลขอนุญาตแจ้งประวัติเดิมคราวๆ ของโรงพยาบาลหนองหญ้าไซกันให้ทราบก่อนที่จะเกิดโครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 3 ชั้น คราวๆ ให้พอรับทราบกันก่อน
สำหรับโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี (ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 503 หมู่ 13 ตำบลหนองหญ้าไซ) เดิมได้รับงบประมาณตั้งเป็นโรงพยาบาลสาขา แต่เนื่องจากกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ เป็นพื้นที่ชนบทยากจนและห่างไกล ประชาชนส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรมผลผลิตและรายได้ไม่แน่นอน ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจยากจน เมื่อเจ็บป่วยจะต้องได้รับการรักษาในที่ห่างไกล เช่น โรงพยาบาลสามชุก ด่านช้าง ดอนเจดีย์ หรือเดิมบางนางบวช สิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพย์สินอันก่อให้เกิดความลำบากอย่างมากทั้งนี้เนื่องจาก ต้องเดินทางโดยใช้เส้นทางที่เป็นดินลูกรังจากหมู่บ้านถึงโรงพยาบาลเหล่านั้น ขณะนั้นรถยนต์โดยสารประจำทางก็มีน้อย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีขณะนั้นคือ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เห็นว่าการดำเนินงานในรูปแบบโรงพยาบาลสาขาไม่สามารถให้บริการประชาชนได้เต็มที่ เพราะไม่มีแพทย์ประจำ เจ้าหน้าที่มีเพียง 5 คนกรณีที่ประชาชนเจ็บป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะยิ่งประสบอุปสรรคมากขึ้น แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาล 10 เตียง จะมีกรอบอัตรากำลัง และการสนับสนุนงบประมาณดีกว่า เพื่อให้ประชาชนกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ ได้รับประโยชน์จากการตรวจรักษาอย่างแท้จริง จึงได้ดำริที่จะจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียงแทน และเริ่มดำเนินการหาเงินบริจาคนับแต่นั้นมา
โดยได้รับการบริจาคที่ดิน จำนวน 25 ไร่จากผู้ใหญ่ชั่ง ชาญวงษ์ และจากการซื้อสมทบด้านหน้าติดถนนอีก 9 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 34 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา โดยนายสมบูรณ์ นางพะยอม ธิกุลวงษ์ บริจาคซื้อเป็นเงิน 233,750 บาท จากการสมทบของข้าราชการสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี และการทอดผ้าป่าสามัคคีโดยการนำของนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ บริจาคซื้อสมทบอีก 233,750 บาท รวมเป็นเงิน 467,500 บาท
ต่อมา คุณลุงทองอยู่ และคุณป้าสำเนียง ทิพยานนท์ ได้บริจาคสร้างอาคารผู้ป่วยขนาด 10 เตียง เป็นเงิน 3,200,000 บาท โดยทำการเซ็นสัญญาก่อสร้างโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2531 ตามแบบก่อสร้างเลขที่ 5318 วางศิลากฤษ์สร้างอาคารโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2531 เวลา 10.00 น. โดยคุณหญิงแจ่มใส ศิลปะอาชา ภริยารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้นเป็นประธาน ระหว่างการก่อสร้าง ได้เปิดทำการตรวจรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของสถานีอนามัย ตำบลหนองหญ้าไซ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าไซในปัจจุบัน) เป็นที่ทำการชั่วคราว ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีได้สนับสนุนเวชภัณฑ์ยาเป็นเงิน 50,000 บาท ไม่มีค่าวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้ใช้เงินบำรุงที่ได้จากการเก็บค่ารักษาพยาบาลมาจัดซื้อเพื่อเป็นการบริการประชาชนไปก่อน
ช่วงการก่อสร้างก็ได้จัดหาเงินบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ข้าราชการพ่อค้า ประชาชนชาวกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ และอำเภอใกล้เคียงจึงได้ร่วมบริจาคสมทบ โดยการทอดผ้าป่าสามัคคี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2531 ได้เงินประมาณ 400,000 บาท เมื่อการก่อสร้างได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ได้รับมอบงานงวดสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2532
ก็ได้ย้ายมาเปิดทำการรักษาพยาบาลที่อาคารโรงพยาบาลหลังใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 และเริ่มรับผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2532
สำหรับโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ แต่เดิมเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้รับงบประมาณตั้งเป็นโรงพยาบาลสาขา แต่เนื่องจากกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซในสมัยนั้น เป็นพื้นที่ชนบทยากจนและห่างไกล ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมผลผลิตและรายได้ไม่แน่นอน เมื่อเจ็บป่วยจะต้องเดินทางไปรักษาในที่ห่างไกล เช่น โรงพยาบาลสามชุก ด่านช้าง ดอนเจดีย์ หรือเดิมบางนางบวช ซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพย์สิน สร้างความลำบากอย่างมาก เนื่องจากต้องเดินทางโดยใช้เส้นทางที่เป็นดินลูกรัง จากหมู่บ้านถึงโรงพยาบาลเหล่านั้น รถยนต์โดยสารประจำทางก็มีน้อย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีขณะนั้นคือ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เห็นว่าการดำเนินงานในรูปแบบโรงพยาบาลสาขา ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้เต็มที่ เพราะไม่มีแพทย์ประจำ เจ้าหน้าที่ก็มีเพียง 5 คน แต่ถ้ายกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง จะมีกำลังและการสนับสนุนงบประมาณดีกว่า เพื่อให้ประชาชนกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ ได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างมีคุณภาพ จึงได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียงแทน และเริ่มระดมทุนหาเงินบริจาคนับแต่นั้นมา โดยมีครอบครัวศิลปอาชา และมิตรสหายชาวสุพรรณบุรีช่วยกันสนับสนุน
ปัจจุบัน กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ ได้ยกระดับขึ้นเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ ตัวโรงพยาบาลได้รับการพัฒนาต่อเติม ขยายกำลังการให้บริการ ทั้งทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์การแพทย์ และอาคารสถานที่ รองรับความเจริญเติบโตของ อ.หนองหญ้าไซ เพื่อยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่พี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
#วราวุธศิลปอาชา #พรรคชาติไทยพัฒนา#โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ#จังหวัดสุพรณบุรี
ขอบคุณที่มา http://www.nongyasai-hos.com/index.php/general-information/ประวัติโรงพยาบาล.html
https://web.facebook.com/ChartthaipattanaParty/posts/4672392102810319