ภาครัฐเยียวยาภาคเอกชนไม่ใช่สิ่งผิด ภาคเอกชนควรได้รับเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก และก็มีภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวไม่ได้ตามเป้าหมาย ภาคเอกชนอาจจะต้องล้มพับไปก็เท่ากับว่าการที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมายืนใหม่ได้อีกครั้งเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เหมือนเซ็ตศูนย์ใหม่ เป็นแบบนี้คงไม่ดีแน่ ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ไปไม่ถึงขั้นนั้นคือการช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งหลักๆ จะมีอยู่ 3 อย่างคือ ลดค่าใช้จ่าย / ส่งเสริมรายได้หรือแหล่งเงินทุน/ วางแนวทางการพัฒนาในอนาคต
เหตุที่ต้องออกมาบอกแบบนี้ ก็เนื่องจากโควิดที่กลับมาระบาดหนักเป็นระลอกที่ 5 นับแต่มีโควิด ส่งผลกระทบหมดตั้งแต่แอฟฟริกา ยุโรป สุดท้ายก็มาเยือนไทยจนได้ จนส่งผลให้การเปิดประเทศที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 2 เดือนกว่าต้องชะงักลง
“จากบรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงส่งท้ายปี 2564 ต้อนรับปีใหม่ 2565 ที่ผ่านมา นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้บอกว่า มีความคึกคักมาก จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ที่เข้ามาเที่ยวภูเก็ตมีสัดส่วนเป็นครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งพบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้าภูเก็ตประมาณ 4,000 คนต่อวัน โดยเห็นยอดจองล่วงหน้า ในเดือนมกราคม ยังดีอยู่ ส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวแบบกระจายตัว แต่มียอดจองสูงๆ ในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อาทิ ป่าตอง ยอดจองล่วงหน้าอยู่ที่ 60-70% ส่วนยอดจองล่วงหน้าใหม่ หลังจากเดือนมกราคม เป็นต้นไป เริ่มชะลอตัวลง เพราะมีข้อมูลออกไปว่า ประเทศไทยอาจยกระดับความเข้มข้นของมาตรการเข้าประเทศขึ้นมา”
ข้อมูลจาก มติชน https://www.matichon.co.th/economy/news_3116578
โดยสุดท้ายไทยเองก็ยกเลิกการท่องเที่ยวแบบ Test & Go ที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดจำนวนลง หลายๆ คนก็คงรอดูท่าทีว่าไทยจะมีแนวทางอย่างไรต่อไป จะมีวิธีการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทยที่สะดวกและปลอดภัยหรือไม่ ตรงจุดนี้ก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะสถานการณ์ยังไม่นิ่งนั่นเอง
คิดดูสิเจ้าโควิดชื่อว่า Covid-19 นั่นหมายถึงมันอยู่กับเราตั้งแต่ปี 2019 จนปีนี้ 2022 มันอยู่กับเรามาตั้ง 3 ปีแล้ว
ภาคเอกชนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดนเป็นลำดับแรกๆ โดยเฉพาะธุรกิจสายการบินการเดินทางระหว่างประเทศ ที่ปิดประเทศเป็นอย่างแรก เมื่อต้นทางเศรษฐกิจหลักถูกปิด ตัวลงผลกระทบก็เริ่มไล่ลำดับกระจายออกไปเรื่อยๆ สายการบินไม่ได้บิน ร้านค้า ร้านอาหารในสนามบิน รถแท็กซี่ที่คอยรับส่งนักท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร โรงแรม เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวไม่ได้มาแล้ว คนในประเทศก็เคอร์ฟิวอีกต่างหาก ปรากฎการณ์เซเว่นปิดก็เกิดให้เห็นมาแล้ว
พิจารณาให้กว้างไปอีก แม่ค้าที่ขายพวงมาลัยที่พระพรหม คุณลุงรถตุ๊กๆ แถววัดพระแก้วก็ไม่มีนักท่องเที่ยว รถเข็นขายตั๊กแตนทอดที่ข้าวสารก็ขายของให้นักท่องเที่ยวไม่ได้เหมือนเดิม
เห็นได้ว่าผลกระทบของเศรษฐกิจกระทบหมดทั้งคนตัวเล็ก ตัวใหญ่ ถ้าไม่อยากจะล้มพังทั้งระบบ รัฐต้องช่วยเหลือเอกชนภาคการท่องเที่ยว ส่วนแนวทางการช่วยเหลือที่รัฐควรจะมีให้ หลัก ๆ คือ
ลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าประกันสังคมของพนักงานที่อยู่ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องทั้งหมด ค่าใช้จ่ายที่รัฐพึงจะได้จากการประเมินสถานการณ์ตอนที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวพีค เมื่อปี 2019
ส่งเสริมให้มีรายได้หรือแหล่งเงินทุน เช่น นำโรงแรม หรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องมาพัฒนาเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในประเทศ โครงการ เราเที่ยวด้วยกันก็เป็นแบบนึง
หรือ Soft Loan ดอกเบี้ยต่ำ ที่ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหมดสามารถพยุงตัว ผ่านภาวะวิกฤตในช่วงต่าง ๆ ไปได้ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ค่อยเป็นเลยด้วยซ้ำ
และท้ายที่สุดต้อง วางแนวทางการพัฒนาในอนาคต เพื่อเตรียมตัวรับนักท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์ดีขึ้นอีกครั้ง
เริ่มคิดและวางแผนให้ชัดเจนว่า ในอนาคตท่องเที่ยวจะเป้นแบบไหน อาจจะต้องพัฒนาเตรียมไว้ก่อน อาจจะผนวกกับ Soft Power มากระตุ้นการท่องเที่ยวอีกครั้งก็เป็นได้