โรคกลัวความมืด
โรคกลัวความมืด
มีอาการหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อถึงเวลากลางคืน หรือเมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีแสงสว่างเข้าถึงน้อย ซึ่งลักษณะอาการเช่นนี้ อาจส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับใน ตอนกลางคืน จนกระทั่งเป็นการรบกวนการพักผ่อนของร่างกาย ซึ่งจะสามารถมีผลต่ออาการทางสุขภาพอย่างเช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่สดชื่น หรือเสี่ยงที่จะมี อาการหลับในหรือง่วงนอนในช่วงกลางวัน และอาจเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรควิตกกังวลซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
เกิดขึ้นได้ยังไง
โรคกลัวจัดเป็นโรคที่ผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคอย่างชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปม
ปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน เช่น อาจเคยถูกตำหนิบ่อย ๆ อาจเคยมีปัญหากับที่ทำงานอย่างรุนแรง
อาการ
-กล้ามเนื้อตึงตัว รู้สึกชาวูบขึ้นมาทั้งตัว
-ปวดศีรษะ
-ใจสั่น หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง
-มือสั่น ปากสั่น เหงื่อออก
-ใจสั่น หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง
-มือสั่น ปากสั่น เหงื่อออก
-อาจมีอาการรู้สึกวิงเวียน และหมดสติได้
การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy) แพทย์จะพิจารณากับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล โดยแพทย์จะใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่กลัวมากจนไม่สามารถทำพฤติกรรมบำบัดได้ ยาที่นำมา ใช้ในการรักษา เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้าบางชนิด ยาแก้โรคจิตบางชนิด เป็นต้น เพราะการให้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยกลัวน้อยลง แต่ วิธีนี้ไม่ทำให้โรคหายขาดได้จึงต้องทำร่วมกับการบำบัด หากผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการทำพฤติกรรมบำบัดแพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยา
รักษา
พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy) เป็นวิธีปรับความคิดที่กระตุ้นอาการกลัว โดยให้ผู้ป่วยเข้าหา เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว หรือสถานการณ์ที่หวาดกลัว
แบบค่อยเป็นค่อยไป (graded exposure) เพื่อสร้างความเคยชิน แม้ในช่วงแรกผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องเผชิญต่อสิ่งที่กลัว แต่เมื่อใช้วิธีนี้ซ้ำๆ
จะทำให้ผู้ป่วยเคยชิน และเกิดความกลัวลดน้อยลง