ผัวเมียตีกัน แบบไหนไม่มีความผิดข้อหาพยายามฆ่า "กะโหลกยุบ-เบ้าตาแตก-สมองบวม"
กฎหมายอาญาถือเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพฤติการณ์การกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดจำเลย โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำแนกเจตนาฆ่ากับเจตนาทำร้าย หรืออีกแง่หนึ่งคือ ผู้กระทำประสงค์ต่อความตาย หรือประสงค์เพียงให้ผู้ถูกกระทำเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ถ้าวินิจฉัยว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หากผู้ถูกกระทำตาย ผู้ตายจะมีความผิดตามมาตรา 288 แต่หากผู้ถูกระทำไม่ตาย เช่น หลบทัน หรือรักษาพยาบาลทัน ผู้กระทำก็ผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตรงกันข้าม หากวินิจฉัยว่าผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น แม้ผู้ถูกกระทำตาย ผู้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาเท่านั้น ตามมาตรา 290
เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น จึงต้องถือหลักว่า “การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” นั่นเอง
การใช้ “หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” เพื่อวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเจตนาทำร้ายนั้น ศาลไทยอาศัยข้อพิจารณา คือ
1. พิจารณาจาก “อาวุธ” ที่ใช้กระทำ
2. พิจารณาจาก “อวัยวะ” ที่ถูกกระทำ
3. พิจารณาจาก “ลักษณะของบาดแผล” ที่ถูกกระทำ
4. พิจารณาจาก “พฤติการณ์อื่นๆ”
-“อวัยวะ” ศรีษะใบหน้า จุดตาย
-“ลักษณะของบาดแผล” เจ็บปางตาย กะโหลกส่วนหน้าแตกยุบ เบ้าตาด้านซ้ายแตก ต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิต สมองบวม
-พิจารณาจาก “พฤติการณ์อื่นๆ”
4 ข้อข้างต้น เข้าข่ายแค่ไหน??? เราคงไม่ได้เห็นสภาพผู้ถูกกระทำ ที่รอดชีวิต
จากคดีดัง เธอโดนอดีตสามีทำร้ายเจ็บปางตาย กะโหลกส่วนหน้าแตกยุบ เบ้าตาด้านซ้ายแตก ต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิต สมองบวม ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งและสลบไป 3 เดือน กลายเป็นคนพิการและเสียโฉม ตลอดจนมีอาการสาหัสต้องผ่าตัดทุกเดือน แพทย์เผยว่า โอกาสรอดมีเพียง 1% เท่านั้น
จนต้องวอนผู้ใจบุญช่วยรักษาใบหน้า และต่อมาได้ไปศัลยกรรมใบหน้าที่เกาหลีจนกลับมาดูดีอีกครั้ง แม่จะไม่เหมือนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์
ภาพจากสื่อ google