จุดเปลี่ยนประเทศไทย ต่อยอด 5G สู่ Hub Tech company
จุดเปลี่ยนประเทศไทย ต่อยอด 5G สู่ Hub Tech company
ความคาดหวังสู่การแข่งขันระดับโลก
การระบาดใหญ่ของโควิด-19 เราได้เห็นธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ปรับตัวสร้างความท้ายทาย ให้ธุรกิจกลับมายืนได้อย่างแข็งแกร่ง และยังต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ได้แข่งขันกับคู่แข่งอย่างตลาดเดียวกันอย่างเดียว แต่ต้องทันกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิมอีกด้วย ถือเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกธุรกิจจะต้องเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้
จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของความต้องการของมนุษย์ มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องมือ Marketing Landscape changing (การเปลี่ยนภูมิทัศน์การตลาด) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของพื้นที่หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดที่เราต้องการ เพื่อที่เราจะได้บุกตลาดนั้นๆ เพื่อสร้างธุรกิจขึ้นมาให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกมากขึ้น
ยกตัวอย่างประเทศใน South East Asia เช่นประเทศ บรูไน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ ประเทศที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงค่อนข้างแรงสามอันดับแรกก็คือ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย เพื่อให้ประเทศไทยได้เกิดความทัดเทียมด้านเทคโนโลยีให้สามารถแข่งขันสู่ตลาดภูมิภาคเอเชีย และ ตลาดโลกได้
จึงเกิดปรากฏการณ์ “พันธมิตรธุรกิจในกลุ่มเดียวกัน” เช่น ทรูดีแทค ประกาศจับมือกัน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 โดยเป็นการประกาศสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยจะปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพ เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อคนไทยดีอย่างไร?
1. Benefit ที่จะมีมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน เช่น
- ความเร็วอินเตอร์เน็ต (ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในปัจจุบัน)
- ราคาที่ดีมากขึ้น (ต้นทุนลดน้อยลง)
- สัญญาณโทรศัพท์จะดีขึ้นมากกว่าเดิม ปิดจุดอ่อนเรื่องสัญญาณของดีแทค และ ทรูจะมีโครงข่ายที่แข็งแรงมากขึ้นด้วย
- เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น (เพื่อสร้างประสิทธิภาพ 5G ในประเทศไทยมากขึ้น เช่น IOT และ Content ต่างๆ เพื่อรองรับบริการ)
2. ราคาที่ต้องจ่าย “ไม่สูงขึ้น” ไม่ต้องกังวล ถ้ายังมี กสทช. ดูแลความธรรมนี้ให้กับผู้รับบริการทุกเครือข่าย (กลัวถูกยึดใบอนุญาต)
3. หมดกังวล “ผูกขาด” ไม่แข่งขัน ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีแค่ 2 โอเปอเรเตอร์ แต่ยังมีรัฐวิสาหกิจที่เข็มแข็งคือ NT ภายใต้ชื่อ “บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)” หรือ “เอ็นที” (National Telecom Public Company Limited : NT Plc.) เป็นการควบรวมกิจการระหว่าง “บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)” กับ “บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)” ให้เป็นองค์กรเพียงหนึ่งเดียว ปัจจุบันยังให้บริการมีลูกค้ามากกว่า 3 ล้านราย และยังมีโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย และแข่งขันน่าจะสูงขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่มีใครยอมเสียลูกค้าของตน พร้อมใจเสนอ benefit เต็มที่ และประโยชน์นี้ก็จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคอย่างแน่นอน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถือว่า มีความสำคัญระดับประเทศที่เราต้องจับตาความเคลื่อนไหวขับเคลื่อน ระหว่างเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ที่ต่างมั่นใจการร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันในครั้งนี้ จะสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประชาชนไทยได้อย่างแน่นอน
-------------------------------------------------------