เมื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีผสมสานรวมกันอย่างลงตัวในด้านการทำธุรกิจ
ใครว่านวัตกรรมนั้นจะมีอยู่แค่ในส่วนของ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารอย่าง สมาร์ทโฟน ด้านดิจิตอล หรือแม้กระทั่ง Metaverse ที่กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ยิ่งไปกว่านั้น นวัตกรรมที่เกิดขึ้นต่างก็ยิ่งขับเคลื่อนให้ประเทศต่างๆทั่วโลกก้าวข้ามวิกฤติหลายๆอย่างในช่วงโรคระบาดโควิด19 ไม่ว่าจะเป็น การประชุมผ่าน zoom ข้ามทวีบทั่วโลกดั่งกับว่าโลกใบนี้ไม่มีพรมแดนในการสื่อสาร มีเพียง Time Zone เท่านั้นที่เป็นอุปสรรค
เมื่อเราได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมอย่างชาญฉลาดที่นำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานเพื่อทำให้ธุรกิจของเราขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่น ในช่วงแรกอาจจะประสบปัญหาและติดขัด ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ เมื่อเรามีที่ปรึกษาที่ดีที่ไว้ใจได้ในเรื่องของการออกแบบนวัตกรรม ที่จะต้องได้รับการออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจง ปรับกลยุทธ์ต่างๆให้เข้ากับธุรกิจทุกรอบด้าน รองรับการแก้ปัญหาหากมีสิ่งใดๆที่กระทบต่อธุรกิจเกิดขึ้น เช่น หาก สินค้าในสต๊อกของเราไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปและปริมาณที่ได้ออกจำหน่ายไปแล้ว และลูกค้าที่เป็นลูกค้าประจำคือใคร หากเรามีโปรแกรมเฉพาะที่สามารถรวบรวมข้อมูลทุกอย่างทีต้องการ เราจะสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้หลายๆอย่างในด้านธุรกิจ และบทความที่เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆจากเว็บไซต์สนุกดอทคอมได้แชร์ไว้ว่า บริษัทเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม (IBM) กล่าวว่าบริษัทได้ผลิตหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบควอนตัม หรือชิปควอนตัมที่ทรงพลัง ซึ่งจะทำให้อีกภายในสองปีข้างหน้า ระบบประมวลผลแบบควอนตัมจะทำงานบางอย่างได้รวดเร็วกว่าระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทั่วไป ไอบีเอ็มกล่าวว่า ชิปควอนตัมที่ชื่อว่า “อีเกิล” ของบริษัทมี 127 คิวบิต ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดที่ใช้วัดปริมาณข้อมูลควอนตัม ในขณะที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้ บิต เป็นตัววัดข้อมูล ซึ่งใช้เลข 1 หรือ เลข 0 เป็นสัญลักษณ์ แต่ คิวบิต สามารถใช้ทั้งเลข 1 และเลข 0 ได้ในเวลาเดียวกัน คิวบิตนี้อาจจะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม การสร้างคิวบิตก็เป็นเรื่องยากและจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ไอบีเอ็มกล่าวว่า ชิปอีเกิลนี้เป็นชิปควอนตัมแรกที่จะมีมากกว่า 100 คิวบิต บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันยังกล่าวอีกว่าระบบการทำความเย็นและระบบการควบคุมที่บริษัทนำมาใช้ในการผลิตชิปอีเกิลนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถผลิตชิปที่มีคิวบิตสูงขึ้นได้ในอนาคต โดยวางแผนที่จะผลิต ชิปออสเปรย์ (Osprey) ในปีหน้า ที่มี 433 คิวบิต และ ชิปคอนดอร์ (Condor) ที่มีถึง 1,121 คิวบิต ไอบีเอ็มยังกล่าวด้วยว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทคาดหวังว่าจะเข้าใกล้การมี “ความได้เปรียบทางควอนตัม” ซึ่งหมายถึงเมื่อควอนตัมคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม นายดาริโอ กิล รองประธานของไอบีเอ็ม กล่าวว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ทดแทนคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งหมดเลยทีเดียว เขาคิดว่าในอนาคต การประมวลผลบางอย่างของคอมพิวเตอร์จะใช้ชิปทั่วไปและบางงานจะใช้ควอนตัมชิป