เมื่อปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเองและรับมือกับการถูกบูลลี่
หากเราในวัยผู้ใหญ่ที่ทำหน้าที่พ่อแม่ ผู้ปกครองได้มองย้อนไป ในวัยที่เราเป็นเด็ก เราได้เล่นเต็มที่หรือไม่ เราโดนห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่อยากทำหรือเปล่า นี่คือคำถามที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ และเหตุผลอะไรที่เราจะทำในแบบเดียวกันกับลูกหลานของเรา เมื่อเขาอยากลองทำอะไรใหม่ๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นจะทำให้เขาค้นพบตัวตนของเขามากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร ถนัดในสิ่งไหนเป็นพิเศษหรือไม่ และยิ่งไปกว่านั้น เราอาจจะเห็นว่าเขามีพรสวรรค์ที่โดดเด่นในเรื่องกีฬา วิชาการ ดนตรี หรือแม้กระทั่งการทำอาหาร ซึ่งส่วนมากหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ international school in Thailand จะมีไว้ให้เด็กๆที่สนใจ
การส่งเสริมให้เด็กๆได้เรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะปล่อยปละละเลยให้เขาทำสิ่งไหนก็ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด และได้รับการสนับสนุนน อีกทั้งต้องได้รับการอธิบายที่มาที่ไปอย่างมีเหตุและผล เราต้องไม่คิดในเชิงที่ว่าเด็กนั้นไม่รู้เรื่อง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย เด็กเรียนรู้และจำจากสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ปฏิบัติ และถ้าเราไม่ระวังคำพูดและการกระทำของตัวเอง ลูกๆอาจจะนำไปทำตามได้ และถ้าลูกต้องเข้าไปในสังคมเด็กๆ อาจจะมีการกระทบกระทั่งและทำให้เกิดการบูลลี่ได้ ซึ่งพ่อแม่ต้องคอยรับมือในเรื่องนี้ โดยทางเว็บไซต์ passeducation ได้แชร์บทความในเรื่องนี้ไว้ว่า จากสถิติพบว่า ร้อยละ 40-80 ของเด็กวัยเรียนเคยถูกรังแกอย่างน้อย 1 ครั้ง เรื่องการแกล้งกันหรือบูลลี่จึงอาจเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่สำหรับตัวเด็กแล้ว การถูกเพื่อนกลั่นแกล้งหรือบูลลี่ ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำ ก็สร้างบาดแผลร้าวลึกลงในจิตใจอย่างแน่นอน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสอนวิธีรับมือเมื่อลูกโดนแกล้ง ให้เด็กได้เตรียมตัวหรือรู้จักวิธีรับมือการถูกบูลลี่อย่างเหมาะสม พร้อมกันนั้นคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องเตรียมตัว เตรียมหัวใจ รับมือในวันที่ลูกโดนแกล้ง เพื่อส่งมอบความเข้มแข็งและแข็งแกร่งให้ลูกกล้าเผชิญหน้า ปัญหาลูกถูกแกล้งหรือบูลลี่ การกลั่นแกล้งหรือรังแกกันในโรงเรียนเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกได้ทั้งคำพูด การกระทำ ตัวอย่างเช่น ทำร้ายทางกาย เช่น ตี ผลัก ต่อย ตบ หยิก ดึงผม ใช้อุปกรณ์แทนอาวุธในการข่มขู่ ทำร้ายจิตใจ เช่น ล้อเลียนหรือทำให้รู้สึกอับอาย กีดกันออกจากกลุ่ม เพิกเฉย ทำเหมือนไม่มีตัวตน ทำร้ายทางคำพูด เช่น ใช้คำหยาบคายหรือดูถูก เหยียดหยาม ล้อเลียนลักษณะภายนอกของเหยื่อในทางลบ ทำร้ายทางโซเชียล เช่น ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กล่าวหา ด่าว่า หรือใส่ความ ให้ได้รับความอับอาย ผลกระทบเมื่อเด็กโดนแกล้ง เมื่อลูกโดนแกล้ง โดนบูลลี่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อจิตใจ โดยเด็กที่ถูกรังแกมักจะมีอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีความสุข ส่งผลต่อการกินการนอนผิดปกติ อาจรวมถึงอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ และแน่นอนว่าทำให้เด็กมีผลการเรียนแย่ลง