จรวดป้องกันอากาศยานในกองทัพไทย
จรวดป้องกันอากาศยานในกองทัพไทย
HQ-22 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศแบบใหม่ของจีน มันถูกเปิดเผยครั้งแรกในปี 2014 สำหรับรุ่นที่ได้รับการ Downgraded (การลดประสิทธิภาพลง) จะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ FK-3 โดยมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าส่งออกเป็นหลัก มันถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งแรกในปี 2016 จนถึงตอนนี้มันเป็นหนึ่งในระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่มีความสามารถมากที่สุดของจีน โดยเข้ามาแทนที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ HQ-2 ที่มีอายุการใช้งานมานาน
HQ-22 นั้นมีความคล้ายคลึงกับระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศแบบ HQ-9 ซึ่งถูกนำมาใช้งานในช่วงปลายทศวรรษ 1990 นอกจากนี้มันยังคล้ายคลึงกับ HQ-16 ที่เข้าประจำการในปี 2011 โดยตัวอาวุธปล่อยของระบบเหล่านี้ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในภาชนะบรรจุแต่อย่างไรก็ตามระบบทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทที่ต่างกันและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดย HQ-9 และ HQ-16 จะยิงอาวุธปล่อยในแนวตั้งในขณะที่ HQ-22 จะยิงอาวุธปล่อยในแนวเฉียง ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ HQ-22 สามารถต่อสู้กับเป้าหมายที่เป็นเครื่องบิน, เฮลิคอปเตอร์, UAV (อากาศยานไร่คนขับ), กระสุนปืนใหญ่ และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน
HQ-22 ใช้อาวุธปล่อยนำวิถีแบบใหม่ที่มีระยะยิงไกลสุด 170 กิโลเมตร และสามารถเข้าถึงเป้าหมายที่ระดับความสูงสูงสุด 27,000 เมตร ในบางครั้งมันถูกเรียกได้ว่าเทียบเท่ากับ S-400 ของรัสเซีย ซึ่งนั้นไม่จริงเลยเพราะ S-400 ของรัสเซียเป็นระบบอาวุธที่มีความสามารถมากกว่าซึ่งสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ในระยะไกลถึง 400 กิโลเมตร และที่ระดับความสูงสูงสุด 56,000 เมตร ตัวอาวุธปล่อยของ HQ-22 ใช้การนำทางด้วยเรดาร์แบบ semi-active ฐานปล่อยอาวุธถูกติดตั้งอยู่บนแชสซีพิเศษของ Hanyang ที่มีการกำหนดค่าเป็น 8x8 หากมองจากแชสซีแล้วระบบอาวุธนี้ถูกออกแบบมาสำหรับการเดินทางบนถนนที่มีพื้นผิวแข็ง หนึ่งกองร้อยทั่วไปของ HQ-22 จะประกอบด้วยรถฐานยิงจำนวน 3 คัน โดยในหนึ่งกองร้อยสามารถต่อสู้กับเป้าหมายทางอากาศได้พร้อมกัน 6 เป้าหมาย
ข้อมูลจาก http://internationalmilitaryweapon.blogspot.com/
ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง KS-1C ที่พัฒนาโดย China Aerospace Science and Industry Corporation(CASIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตตาจร ที่กองทัพอากาศไทยจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
ซึ่ง ๑ระบบ ประกอบด้วยรถที่บังคับการ KZH, รถ Radar ค้นหา KMZ, รถ Radar ติดตามเป้าหมาย KLD, รถระบบแปลงความถี่ KBP, รถแท่นยิง KFC ๔ระบบ โดยหนึ่งแท่นยิงอัตตาจรมีจรวด ๒นัดระยะยิง 70km, ที่จ่ายพลังงาน KDP, รถบรรทุกลูกจรวด และรถบรรทุกเครื่องมือ
กองทัพอากาศไทยได้นำระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง KS-1C เข้าประจำการใน กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ ที่กองบิน๗ โดยกองบิน๗ มีหน่วยบินที่ขึ้นตรงคือ
ฝูงบิน๗๐๑ มีเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ๑๑เครื่อง และฝูงบิน๗๐๒ มีเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่ ๑ บ.ค.๑ SAAB 340 AEW(Airborne Early Warning Radar) Erieye ๒เครื่อง และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๗ บ.ล.๑๗ SAAB 340B ๔เครื่อง
การพบภาพของระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง KS-1C ที่กองบิน๔ ตาคลีล่าสุด น่าจะเป็นการแสดงถึงว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะมีการจัดหา KS-1C เพิ่มเติมอย่างน้อย ๑ระบบมาก่อนหน้าแล้วและถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๔ ที่น่าจะหน่วยล่าสุด
โดยกองบิน๔ มีหน่วยบินที่ขึ้นตรงประกอบด้วย ฝูงบิน๔๐๑ ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle จำนวน ๑๒เครื่อง,
ฝูงบิน๔๐๒ ประจำการด้วยเครื่องบินตรวจการณ์และฝึกแบบที่๒๐ บ.ตฝ.๒๐ Diamond DA42 MMP จำนวน ๕เครื่อง, ฝูงบิน๔๐๓ ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU Fighting Falcon จำนวน ๑๘เครื่อง
และฝูงบิน๔๐๔ ประจำการด้วยอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aeronautics Aerostar จำนวน ๒ระบบ, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Aeronautics Orbiter II และอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Aeronautics Dominator จำนวน ๑ระบบ เป็นต้น
ตามแผนในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ในส่วนการป้องกันฐานบินได้ระบุถึงโครงการจัดหาระบบป้องกันฐานบิน ระยะที่๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025), ระยะที่๒ งป.๒๕๖๙-๒๕๗๑(2026-2028)
และระยะที่๓ งป.๒๕๗๒-๒๕๗๔(2029-2031) สำหรับระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง(MEDRAD: Medium Range Air Defence) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศและภาคพื้นแก่ที่ตั้งฐาน ทอ.ให้รองรับภัยคุกคามในอนาคตและทดแทนระบบเก่าที่ใช้งานมานาน
ข้อมูลจาก https://aagth1.blogspot.com/2021/02/ks-1c.html