หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

งานวิจัยใหม่ 3 ประเทศ ระบุตรงกัน 'ไฟเซอร์'ภูมิลดหลัง6เดือน แต่กัน'ป่วยหนัก-ตาย'ได้ตลอด

เนื้อหาโดย เล่าสู่กันฟัง

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก อัปเดตงานวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน Pfizer/Biontech ดังนี้ 

 

ล่าสุดมีงานวิจัยเพิ่มเติมอีก 3 ชิ้น จากอิสราเอล กาตาร์ และอเมริกา ที่ทำให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน

 

งานศึกษาที่อิสราเอลนั้นทำในบุคลากรทางการแพทย์ 3,808 คน พบว่าหลังฉีดวัคซีนไปครบสองเข็ม ระดับแอนติบอดี้ IgG จะสูงสุดในช่วง 4-30 วันหลังฉีดเข็มสอง และค่อยๆ ลดลงในช่วง 6 เดือนถัดมา ทั้งนี้ระดับ Neutralizing antibody ก็ลดลงในลักษณะเดียวกัน โดยการลดลงของภูมิคุ้มกันนั้นจะลดมากในกลุ่มคนที่สูงอายุ, เพศชาย, มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป, หรือมีโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง/โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง

 

ส่วนการวิจัยที่กาตาร์นั้น ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 947,035 คน พบว่าระดับประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อนั้นสูง 77% ภายในเดือนแรกหลังฉีดวัคซีนครบ แต่จะลดลงเหลือ 20% หากติดตามไปถึงเดือนที่ 5-7 อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และป้องกันการเสียชีวิตนั้น ยังคงสูงถึง 96% และไม่ได้ลดลงตลอดช่วง 6 เดือนที่ติดตามผล

 

ในขณะที่การวิจัยที่อเมริกา ศึกษาในกลุ่มประชากร 3,436,957 คน ติดตาม 6 เดือน พบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อสูงถึง 88% ในช่วงเดือนแรก และลดลงเหลือ 47% ในเดือนที่ 5 แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลยังคงสูง 87% ในเดือนแรก และ 88% ในเดือนที่ 5 โดยประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นได้ผลทั้งในสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์อื่น

 

ความรู้จากงานวิจัยข้างต้นทั้งหมด ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของภูมิคุ้มกันจากวัคซีนมากขึ้นว่า การจะป้องกันการติดเชื้อนั้นคงต้องอาศัยระดับแอนติบอดี้ที่สูงมากเพียงพอ จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทั่วโลกกำลังวางแผนที่จะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

อย่างไรก็ตาม การฉีดเข็มกระตุ้นที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเพื่อหวังจะกระตุ้นภูมิให้สูงขึ้นนั้น นอกจากหวังผลที่จะป้องกันการติดเชื้อแล้ว ยังหวังผลที่จะลดผลกระทบจากการติดเชื้อที่แม้จะอาการน้อย แต่อาจเกิดภาวะคงค้างที่เรารู้จักในชื่อว่า Long COVID อีกด้วย

 

ในขณะที่การป้องกันการป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล และป้องกันการเสียชีวิตนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนยังคงเดิมอยู่นานตลอดการติดตามผล น่าจะมาจากกลไกตอบสนองของร่างกาย ที่มีความจำฝังอยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน ผ่าน memory B cells ที่จะสร้างแอนติบอดี้เพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ และผ่านระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ในการต่อสู้กับเชื้อโรคภายหลังการติดเชื้อได้ จึงทำให้ลดป่วยรุนแรง และลดการเสียชีวิตได้ แม้จะได้รับวัคซีนมานานแล้วก็ตาม

 

สำหรับประชาชนไทยเรา ขอให้ป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตรนะครับ เพราะยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมีการผ่อนคลายการใช้ชีวิต และกำลังจะเปิดเมือง เปิดท่องเที่ยว และเปิดประเทศ

เนื้อหาโดย: ข่าววันนี้
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เล่าสู่กันฟัง's profile


โพสท์โดย: เล่าสู่กันฟัง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: มยุริญ ผดผื่นคัน, เยี่ยหัว, bgs
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ล่าสุดมีผู้ป่วยโควิดพุ่งวันละ 239 ราย อาการร้ายแรงกว่าปีที่ผ่านมาโรงแรมหนึ่งดาวกับโรงแรมห้าดาว เค้าเอาอะไรมาวัดกัน?obstacle: อุปสรรคตั้งใจปล่อยปลา แต่ที่โยนไปไม่ใช่ปลาfrankly: ตรงไปตรงมา ตามตรงHow to เลือกซื้อทุเรียนให้ดี กินแล้วไม่อ่อน ไม่แก่จนเกินไป มาดูกันว่าต้องพิจารณาอะไรบ้าง...
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"พชร์ อานนท์" ฟาดกลับทันที..หลังมีคนแซะให้เลิกทำหนัง เพราะหมดยุคแล้วfrankly: ตรงไปตรงมา ตามตรงHow to เลือกซื้อทุเรียนให้ดี กินแล้วไม่อ่อน ไม่แก่จนเกินไป มาดูกันว่าต้องพิจารณาอะไรบ้าง...แอร์อินเวอร์เตอร์ VS แอร์ดั้งเดิม: เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เลือกแบบไหนดี?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ชวดแชมป์!ต้านไม่อยู่ ฟุตซอลไทย พ่าย อิหร่าน 1-4ราคาโรงแรมแคปซูล ในโตเกียวพุ่งสูงขึ้นKanye West เตรียมเปิดตัวสตูดิโอหนังโป๊เบลล่า สวยสง่าในชุดไทย ร่วมทอดผ้าป่า ณ วัดภูเขาทอง
ตั้งกระทู้ใหม่