หมึกมหึมา! สืบพันธ์ุแปลกปลาด! สัตว์น้ำหายาก มันอาศัยที่ความลึกอย่างน้อย 2,200 เมตร แถบขั้วโลกใต้
หมึกกล้วยยักษ์
เทียบขนาดกับคนแล้วคงเห็นนะครับว่าหมึกกล้วยตัวนี้ใหญ่ขนาดไหน
ปลาหมึกกล้วยยักษ์ที่เห็นมีน้ำหนักประมาณ 16 กิโลกรัมถูกจับได้ในตาข่ายของชาวประมงตุรกีที่แล่นเรือไปยังทะเลอีเจียนใกล้เมืองอิซเมียร์ของ #Turkey
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าภาวะสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดรวมถึงหมึกกล้วยที่เห็นก็เป็นเพราะสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
หมึกกล้วยยักษ์ หมึกมหึมา หรือ หมึกโคลอสซัล ในยุคกลาง เชื่อกันว่า คราเคน สัตว์ประหลาดทะเลขนาดใหญ่ที่มีความน่ากลัวที่ลูกเรือต่าง ๆ เล่าขานกันมาจนเป็นตำนาน โดยเฉพาะในทะเลแถบกรีนแลนด์หรือมหาสมุทรอาร์กติกว่ามีรูปร่างเหมือนหมึกกล้วยขนาดใหญ่ ก็คือ หมึกมหึมา นั่นเอง
ประเมินจากตัวอย่างที่ขนาดเล็กกว่าและยังไม่โตเต็มวัย คาดว่าขนาดตัวเต็มวัยใหญ่ที่สุดอาจถึง 14 เมตร จึงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่สุดด้วย หนวดไม่เหมือนหมึกชนิดอื่นที่มีปุ่มดูดยาวเป็นแถวหรือมีฟันซี่เล็ก แต่มีทั้งปุ่มดูดและตะขอที่แหลมคม ลำตัวกว้างกว่า หนากว่า และหนักกว่าหมึกชนิดอื่น เชื่อว่ามีแมนเทิลที่ยาวกว่าหมึกชนิดอื่น แต่มีหนวดสั้นกว่าเมื่อเทียบตามสัดส่วน
จะงอยปากใหญ่ที่สุดในบรรดาหมึกที่รู้จักกัน มีขนาดและความแข็งแรงมากกว่าในหมึกสกุล Architeuthis และเชื่อว่า มีดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์
ถิ่นอาศัยมีบริเวณหลายพันกิโลเมตร ตั้งแต่ทวีปแอนตาร์กติก ขึ้นไปทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้, ทางใต้ของทวีปแอฟริกา และทางใต้ของนิวซีแลนด์ กล่าวคือมีถิ่นอาศัยในมหาสมุทรทางตอนใต้ของโลกที่ล้อมรอบขั้วโลกใต้เป็นวงกลม
วงจรชีวิตของหมึกชนิดนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก เชื่อว่าล่าเหยื่อเช่น หนอนทะเลและหมึกชนิดอื่นในทะเลลึก โดยใช้แสงเรืองจากตัวเอง อาจกินปลาขนาดเล็ก เพราะชาวประมงจับได้ขณะจับปลาจิ้มฟัน
เชื่อว่าศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญของมันคือ วาฬสเปิร์ม ซึ่งซากวาฬจำนวนมากมีแผลบนหลัง คล้ายปุ่มดูดของหมึกขนาดใหญ่ และซากจะงอยปากหมึก ที่พบในกระเพาะของวาฬสเปิร์มแอนตาร์กติกที่อาศัยในมหาสมุทรตอนใต้ ถึง 14% เป็นของหมึกชนิดนี้ ทำให้อนุมานได้ว่ามีปริมาณ 77% ของน้ำหนักอาหารที่วาฬเหล่านี้ในบริเวณนั้นกิน
หมึกที่โตเต็มวัยน่าจะอาศัยที่ความลึกอย่างน้อย 2,200 เมตร ขณะที่ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่อาศัยที่ความลึก 1,000 เมตรเป็นอย่างมาก
มีการสีบพันธ์ุที่แปลกปลาด โดยหนวดในสัตว์ประเภทหมึกซึ่งใช้ปล่อยอสุจิไปในตัวเมีย จึงคาดว่าใช้ ลึงค์ โดยสอดใส่อสุจิเข้าสู่ร่างกายของตัวเมียโดยตรง
หมึก เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวอ่อน หมึกจึงไม่ใช่ "ปลา" เพราะปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ระดับชั้นต่ำสุด