ไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่ใช้รถรางไฟฟ้า
กิจการรถรางไฟฟ้าประเทศไทย
เริ่มเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๗
เป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินทาง
แม้แต่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่จัดระบบการเดินรถรางที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลกประเทศหนึ่งในปัจจุบัน
ก็เพิ่งเริ่มงานรถรางเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖
อังกฤษช้ากว่าไทย ๙ ปี
ทำไมผมจึงนำเรื่องนี้มาเล่า ผมเจอภาพนี้ในเฟสบุ๊ค
เลยหาข้อมูลครับ
รถรางไทยเริ่มสมัย ร.5
นายจอห์น ลอฟตัล นายจอห์นขออนุญาตรัฐบาลทำสัมปทานการรถรางขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้นายจอห์นดำเนินการได้ ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่นอารยประเทศทั้งหลาย อีกทั้งยังมีพระราชดำริว่าการมีรถรางมากๆ เป็นความสะดวกของอาณาประชาราษฎร์ และประการสำคัญคือ รถของนายจอห์นไม่เป็นอันตรายแก่ถนนหลวงด้วย
นายจอห์น ลอฟตัล เริ่มวางรางสำหรับให้รถวิ่งตั้งแต่บางคอแหลม ถนนตก มาตามสายถนนเจริญกรุง จนถึงพระบรมมหาราชวัง
ขณะนั้นมีประชาชนสนใจมาดูการสร้างรางเพราะไม่เคยเห็น บางคนก็ไม่รู้ว่านายจอห์นจะทำอะไร จึงเกิดการวิจารณ์กันมาก
ฉวยโอกาสทำการโฆษณาคุณภาพรถว่าวิเศษนัก ดีกว่าเดิน ดีกว่ารถม้า นั่งแล้วไม่สะเทือน
หลังจากที่วางรางเสร็จ นายจอห์นก็ทำพิธีเปิดรางเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๑ โดยใช้ม้าลากไปตามราง
เมื่อเดินรถวันแรกนั้นนายจอห์นไม่เก็บสตางค์ให้นั่งฟรี
ผู้คนจึงพากันนั่งรถรางเป็นการใหญ่และได้รู้ว่านั่งรถรางแล้วไม่สะเทือนจริงๆ ดีกว่ารถเจ๊ก สบายกว่ารถม้าเป็นไหนๆ
รถรางสมัยจอร์นยังใช้ม้าลากไปตามราง
ฝรั่งเขาเป็นการตลาด
-พอคนสนใจก็โฆษณาแบบเน็ตไอดอลพอคนติดตามเยอะรีวิวสินค้า
-ของมาใหม่ต้องให้ลูกค้าลองก่อน แบบสมัยนี้สินค้าใหม่จะให้ชิมฟรีก่อน หรือรถไฟฟ้าขบวนใหม่ๆก็จะให้ประชาชนนั่งฟรีเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมให้มาชอบการใช้บริการ พอเริ่มเก็บตังคนก็ยังใช้เพราะสะดวกกว่าเดินทางแบบเดิมๆ
แต่นายจอห์นเดินรถอยู่ได้ไม่กี่ปีก็ต้องโอนกิจการไปให้บริษัทอังกฤษ คือบริษัท บางกอกแทรมเวย์ คอมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทนี้ปรับปรุงกิจการรถรางให้สะดวกขึ้นอีกเล็กน้อยแต่ยังใช้ม้าลากอยู่เช่นเดิม
ดำเนินการอยู่ได้ไม่นานก็ขาดทุนย่อยยับ
เลยต้องโอนกิจการรถรางไปให้บริษัทของชาติ
เดนมาร์กอีกเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๕
บริษัทหลังได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงรถราง โดยเปลี่ยนจากการใช้ม้าลากมาใช้กำลังกระแสไฟฟ้าแทน โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด
ด้วยชั่วระยะเวลาเพียง ๔ ปี กิจการรถรางต้องเปลี่ยนมือผู้ดำเนินการมาถึง ๓ ครั้ง
ภายหลังจากวางสายไฟฟ้าและปรับปรุงระบบการเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รถรางโดยกำลังกระแสไฟฟ้าก็ได้ทำพิธีเปิดเดินขบวนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๗
ถือได้ว่าการใช้กำลังไฟฟ้าในกิจการรถรางนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินทาง
แม้แต่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่จัดระบบการเดินรถรางที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลกประเทศหนึ่งในปัจจุบัน
ก็เพิ่งเริ่มงานรถรางเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ เป็นเวลาภายหลังจากที่ประเทศไทยใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อการรถรางถึง ๙ ปี
และถ้านับรวมถึงเวลาที่นายจอห์นเริ่มงานรถรางในเมืองไทยด้วยแล้ว อังกฤษเริ่มงานรถรางภายหลังประเทศไทยถึง ๑๕ ปี
รถรางโดยกระแสไฟฟ้าของบริษัทชาติเดนมาร์กดำเนินการมาได้ ๖ ปี คือดำเนินงานมาถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๓ บริษัทรถรางก็โอนกิจการเข้าไปรวมเป็นบริษัทเดียวกับบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด กิจการของบริษัทก็เจริญและเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้น
รถรางในประเทศไทย
ในอดีตประเทศไทยก็เคยมีการใช้รถรางครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431โดยเปิดสายบางคอแหลมเป็นสายแรกเมื่อเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ทำให้ใช้เวลาการเดินทางมาก จึงไม่เป็นที่นิยม ภายหลังเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437
ข้อดี
ไม่ปล่อยมลพิษเพราะใช้ไฟฟ้า มลภาวะทางเสียงน้อยกว่า
สามารถเข้าถึงสถานีรถรางได้ง่ายกว่าการคมนาคมประเภทอื่น ๆ เช่น รถไฟใต้ดิน เพราะอยู่กลางถนน
ใช้ราง เวลานั่งจึงรู้สึกสบายกว่ารถเมล์ที่กระเด้งมากกว่า
มีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าขนส่งมวลชนประเภทอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
ข้อเสีย
กินพื้นที่ถนนบางส่วน
ทุนตั้งต้นสูงกว่ารถเมล์ (ถึงแม้ว่าในระยะยาวจะประหยัดมากกว่า)
และจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2511 ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร
รถรางไฟฟ้าคือต้นแบบรถไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ไทยเริ่มก่อนแต่ปัจจุบันตามหลังชาติอื่น..มันไปสะดุดช่วงใหนนะจึงได้ชะลอการพัฒนาการขนส่งทางรางไป...
ขอบคุณข้อมูลภาพ