5 สถานที่ชีวมณฑลของไทยที่หลายคนไม่รู้ และ บทความสรุปความหมายของชีวมณฑล สั้นๆง่ายๆ
หลังจากที่ประเทศไทยได้รับข่าวดีอีกครั้งหลังจากกระแสการขึ้นเป็นมรดกโลกของ กลุ่มแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยการผลักดันของกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยท่านวราวุธ ศิลปอาชา ที่พยายามมานานหลายปี จนสำเร็จ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไปแล้วนั้น หลังจากนั้นไม่นาน กรมอุทยานฯ เผยข่าวดี “ดอยเชียงดาว” จ.เชียงใหม่ ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลกจากยูเนสโก นับเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลลำดับที่ 5 ของเมืองไทย
สำหรับดอยเชียงดาวมีคุณค่าสำคัญที่ควรค่าต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ได้แก่
-มีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน
-มีภูมิประเทศเขาหินปูนอันโดดเด่น
-มีภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มาเป็นเวลากว่า 40 ปี
(ขอบคุณข้อมูลhttps://mgronline.com/travel/detail/9640000091227)
นอกจากนี้ดอยเชียงดาวยังมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว
แต่สำหรับหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว ก่อนหน้าที่เราจะได้ รับการยอมรับการขี้นทะเบียนของดอยเชียงดาวนั้น ประเทศไทยเราได้ รับการขึ้นทะเบียนพื้นที่สงวนชีวมณฑลมาแล้ว 4 ที่ หลายคนอาจยังไม่ทราบหรือลืมไปบ้างว่ามีที่ไหนบ้าง เรามาทำความรูจักกันพื้นที่สงวนชีวมณฑลอีก 4 ที่ อันได้แก่
1.พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช (Sakaerat Biosphere Reserve) จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เริ่มจากบริเวณพื้นที่ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาได้ขยายขอบเขตพื้นที่รอบนอก เพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอวังน้ำเขียว ( ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลไทยสามัคคี และตำบลระเริง) และ 6 ตำบลในอำเภอปักธงชัย (ตำบลภูหลวง ตำบลตะขบ ตำบลตูม ตำบลสุขเกษม) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขตร้อน และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยระบบนิเวศเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
2.พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า (Mae Sa-Kog Ma Biosphere Reserve) จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติออบขาน และอุทยานแห่งชาติขุนขาน จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอสะเมิง ประกอบด้วย 2 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก คือ ลุ่มน้ำแม่สาและลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและวิจัยทางด้านลุ่มน้ำธรรมชาติและอุทกวิทยา และเป็นต้นแบบของการจัดการลุ่มน้ำ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
3.พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak Biosphere Reserve) จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นป่าไม้สักธรรมชาติที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนั้น ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อย่างแหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบรณาบ้านห้วยหก
4.พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong Biosphere Reserve) จังหวัดระนอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีระบบนิเวศแบบป่าชายเลนเป็นจุดเด่น ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนของอำเภอเมืองระนองที่มีคุณค่า ประกอบด้วยป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ผ่านการทำไม้ซึ่งคงเหลือไม่กี่แห่งในประเทศไทย โกงกางยักษ์อายุ 200 ปี ป่าชายเลนระนองมีความสำคัญในการรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม ชายฝั่งทะเลเป็นแนวป้องกันลมพายุ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด เป็นบริเวณที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนมาเป็นเวลานานจนเป็นแบบอย่างของการค้นคว้าวิจัยให้กับพื้นที่อื่น ๆ
5.พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว (Doi Chiang Dao Biosphere Reserve) จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นแล้ว
(ขอบคุณที่มา https://bit.ly/39uO7MJ)
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่าชีวมณฑลคืออะไร? เรามาสรุปง่ายๆ ดังนี้คือ ชีวมณฑลเป็นระบบที่ซับซ้อนมากซึ่งมีความสัมพันธ์มากมายที่เป็นปัจจัยปรับสภาพของสิ่งมีชีวิตบนโลก มีความจำเป็นต้องป้องกันระบบนิเวศ มลพิษและความเสื่อมโทรม เพื่อให้กิจกรรมของเราสามารถรักษาความสัมพันธ์ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในสิ่งแวดล้อมต่างทำหน้าที่ของตัวเองและชุดของฟังก์ชันนั้นคือสิ่งที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ในสภาพที่แข็งแรง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการปกป้องและอนุรักษ์ระบบนิเวศของเราจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อที่เราจะได้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป คุณภาพชีวิต.
ดังนั้นในชีวมณฑลจึงมี ปัจจัยทางชีวภาพ ที่แสดงโดยชุมชนของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นทั้งหมดที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและกับระบบย่อยที่เหลือของโลก ชุมชนของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ประกอบด้วยผู้ผลิตผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย แต่ก็มีเช่นกัน ปัจจัย abiotic ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ออกซิเจนน้ำอุณหภูมิแสงแดดเป็นต้น ชุดของปัจจัยเหล่านี้ทางชีวภาพและทางชีวภาพประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม.
ระดับขององค์กรในชีวมณฑล
ในชีวมณฑลโดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และด้วยปัจจัยที่ไม่เหมาะสม นั่นคือเหตุผลที่ในธรรมชาติมี ระดับต่างๆขององค์กร ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและกลุ่มที่มีขนาดใหญ่มีประชากรชุมชนและระบบนิเวศ
ประชากร
องค์กรระดับนี้เกิดขึ้นในธรรมชาติเมื่อสิ่งมีชีวิตของพืชสัตว์หรือจุลินทรีย์บางชนิดเชื่อมโยงกันในช่วงเวลาและพื้นที่ร่วมกัน นั่นคือพืชและสัตว์นานาชนิด อยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน และใช้ทรัพยากรเดียวกันเพื่อความอยู่รอดและขยายพันธุ์
(ขอบคุณที่มา https://www.meteorologiaenred.com/th/biosfera.html)
อ้างอิงจาก: https://bit.ly/39uO7MJ,https://www.meteorologiaenred.com/th/biosfera.html,