เพราะลูกไม่ใช่แค่เด็กซนธรรมดา แต่เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ค้นหาตัวตน
ในวัยเข้าสู่ชั้นประถม เด็กๆจะเริ่มมีความสนใจในสิ่งที่เขารักมากขึ้น และแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองอย่างเด่นชัด อาจจะมีขัดใจและโต้เถียงกับพ่อแม่ผู้ปกครองบ่อยครั้ง แต่นั่นก็คือการพัฒนาไปตามวัยของเขาเอง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งถ้าหากมีความกังวลในเรื่องนี้ การปรึกษาจิตแพทย์เด็กถือเป็นทางออกที่ดีมากๆและยังสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเข้าใจกันและกันมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ใช่ความผิดของเด็กเลย หากเขาจะมีความซนและความอยากลองในเรื่องใดที่พ่อแม่อาจมองและกังวลว่าเป็นสิ่งอันตราย
หลักสูตรปฐมวัยหรือประถมศึกษานั้น แน่นอนว่าถ้าเป็นโรงเรียนรัฐบาลก็จะมีความแตกต่างอย่างมากในเรื่องหลักสูตรหากเทียบกับโรงเรียนนานาชาติในระดับชั้นประถมศึกษา elementary international school Bangkok เพราะหลักสูตรโรงเรียนรัฐบาลยังคงเน้นท่องจำและไม่ได้ให้เด็กตั้งคำถามมากนัก เด็กจะถูกป้อนความรู้ข้อมูลซึ่งไม่อาจนำมาต่อยอดหรือโต้แย้งได้หากข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นหลักสูตรจากต่างประเทศหรือนานาชาติ เด็กจะมีอิสระด้านความคิด การวิเคราะห์และการตั้งคำถาม ครูจะมีหน้าที่แค่เพียงไกด์ไลน์ให้เท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเด็กทั้งสองหลักสูตรถึงมีทัศนคติที่แตกต่างกันในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามการเลือกกิจกรรมให้เด็กในวัยซนนี้ทำนั้นคือสิ่งที่เด็กสามารถเล่นได้อย่างเต็มที่ซึ่ง ในเว็บไซต์ไมโลได้แชร์ไว้ว่า กิจกรรมสำหรับเด็กประถมในช่วงวัย 6-7 ปีนี้เป็นช่วงที่เด็กวัยนี้จะเข้าใจคอนเซปต์ของสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นกว่าวัยอนุบาล มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องรอบตัว แต่ไม่ใช่วัยที่เราจะคาดหวังให้เขามีสมาธิอยู่กับกิจกรรมได้ยาวๆ เด็กวัยนี้จะมีอาการคล้ายเด็กไฮเปอร์หรือเด็กสมาธิสั้น ถ้าเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา ควรแบ่งกิจกรรมนั้นออกเป็นกิจกรรมย่อยๆ เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไป กิจกรรมสำหรับเด็กที่เหมาะกับช่วงวัยนี้อาจเป็นงานศิลปะที่ไม่ซับซ้อน แต่ให้เขาได้ใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กในการตัด แปะ พับสิ่งต่างๆ หรืออาจจะเริ่มแนะนำให้ลูกรู้จักกับดนตรี เพราะวัยนี้สามารถจับจังหวะและแยกความแตกต่างระหว่างเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ได้ ส่วนลูกวัย 8 ปี ความแตกต่างที่พ่อแม่จะเริ่มสังเกตได้ในลูกวัยนี้ก็คือ ลูกจะสามารถมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำได้นานขึ้น ความอยากรู้อยากเห็นยังคงมีเหมือนวัยก่อนหน้า แต่พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือกับคำถามที่มากขึ้น ในช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะหากิจกรรมสำหรับเด็กประถมที่เหมาะสมกับลูกได้ง่ายขึ้น เพราะด้วยพัฒนาการทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้นตามวัย ลูกจะสามารถแสดงออกได้ชัดเจนขึ้นระหว่างกิจกรรมที่ชอบและไม่ชอบ เพราะฉะนั้นกิจกรรมสำหรับเด็กที่เหมาะกับวัยนี้ควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่ลูกสนใจ ตัวอย่างเช่น หากเราสังเกตว่าลูกเริ่มชอบอ่านนิทานด้วยตัวเองมากขึ้น แทนที่จะเป็นฝ่ายให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟังอย่างเดียว เราอาจจะชวนลูกไปร้านหนังสือ ให้เขาเลือกหนังสือที่ชอบ พอเขาอ่านแล้ว ก็อาจจะชวนคุยถึงนิทานเรื่องนั้น หรือให้เขามาเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังทีหลังว่า หนังสือที่ซื้อมานั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร วิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้ฝึกพัฒนาการด้านสติปัญญาผ่านการใช้ภาษา ทั้งการอ่านและการถ่ายทอดเรื่องราวนั้นให้คนอื่นฟังอีกต่อ