จุดเริ่มต้น และจุดจบนายกสายทหารแต่ละคนของไทย
ว่างๆ เลยมานั่งทำสรุปการเมือง ย้อนทบทวนการเมืองการปกครองของไทยดู ว่าผู้นำแต่ละคนขึ้นสู่อำนาจได้อย่างไร มีจุดจบอย่างไรกันดู เผื่อจะเป็นแนวทางให้นายกคนปัจจุบันเลือกไปเป็นแนวทางดูบ้าง
พระยาพหลพลพยุหเสนา
- นายกฯ คนที่ 2 แต่เป็นนายทหารคนแรกที่ได้เป็นนายกฯ
- เป็นนายกรัฐมนตรี 5 ปี ตั้งแต่ 21 มิ.ย. 2476 ถึง 21 ธ.ค. 2481
- ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เพราะพ่ายแพ้มติเรื่องพิจารณาระเบียบงบประมาณเมื่อเดือนกันยายน 2481
- ไม่รับตำแหน่งหลังการเลือกตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกฯแทน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- เป็นนายกฯแทน พ.อ.พระยาพหลฯ
- กลับเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯอีกครั้งหลังการรัฐประหาร ปี 2490
- อยู่ในตำแหน่งยาว 9 ปี 5 เดือน
- ถูกนายทหารรุ่นน้อง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ยึดอำนาจ
- จอมพล ป. ลี้ภัยไปที่ประเทศญี่ปุ่น และจบชีวิตที่นั่น
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
- ยึดอำนาจจอมพล ป.สำเร็จ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500
- ตั้ง นายพจน์ สารสิน อดีต รมว.การต่างประเทศ นั่งเก้าอี้นายกฯ เพื่อเตรียมการเลือกตั้งใหม่
- เลือก พล.ท.ถนอม กิตติขจร นั่งเก้าอี้นายกฯแทนอีกครั้ง เนื่องจากไปรักษาตัวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- กลับมายึดตำแหน่งนายกฯ คืน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502
- ถึงแก่อสัญกรรม ในขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง เมื่อ 8 ธันวาคม 2506
จอมพลถนอม กิตติขจร
- สืบทอดอำนาจจากจอมพลสฤษดิ์ 9 ธันวาคม 2506
- เว้นวรรคเผด็จการ เปิดให้มีการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ
- ยึดอำนาจตนเองลงเอยด้วยเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ถูกประชาชนขับไล่
- ลี้ภัยออกนอกประเทศ ไปที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พร้อมครอบครัว
- ถูกคนไทยที่นั่นต่อต้าน ก่อนจะมาปักหลักที่สิงคโปร์ พร้อมบวชเป็นเณร
- กลับประเทศไทย และกลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
- พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชิงประกาศลาออกในสภา ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523
- เสียงในสภาทั้ง ส.ส.-ส.ว.ก็พร้อมใจหนุน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ
- ว่ากันว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ “รัฐประหารเงียบ” ประชาชนไม่ได้เลือกมา ไม่เคยลงสนามเลือกตั้ง
- รับตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี
- ทนกระแสกดดันจากสังคมไม่ไหว ประกาศวางมือทางการเมือง
พล.อ.สุจินดา คราประยูร
- ผู้บัญชาการทหารบก ผู้อยู่เบื้องหลังคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
- บอกจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองหลังคืนอำนาจ แต่กลับลำรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- จึงเกิดการเดินขบวนขับไล่ จนลงเอยด้วยเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ”
- พล.อ.สุจินดาลาออกจากตำแหน่ง เป็นนายกฯเพียง 47 วัน และยุติบทบาททางการเมือง
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
- เป็นนายกฯคนที่ 24 จากการเชิญของคณะปฏิรูปการปกครอง (คปค.)
- เป็นนายกฯที่ประคองสถานการณ์ พร้อมลงจากอำนาจหลังจากมีรัฐบาลใหม่ คือ พรรคพลังประชาชน เมื่อปี 2551
- ได้รับการโปรดเกล้าฯกลับไปเป็นองคมนตรี
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
- เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
- หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ได้กลับเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งในฐานะนายกฯ ในบัญชีพรรคพลังประชารัฐ
- ทุกคนรอดูจุดจบทางการเมืองในครั้งนี้อยู่
หรือจะเลือกจบแบบผู้นำประเทศอื่นก็ได้นะ เพราะคนมากมายรอแค่ให้จบเต็มแก่แล้วล่ะ