ป่าช้าเหงา..ชื่อนี้ได้แต่ใดมา
สมุนไพรที่ชื่อว่า ป่าช้าเหงา หรือ หนานเฉาเหว่ย ได้ชื่อนี้มาอย่างไรนะ
ดอกป่าช้าเหงา
ชื่อทั่วไป
-ป่าช้าเหงา
-หนานเฉาเหว่ย
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
-ป่าเฮ่วหมอง(ล้านนาและไทใหญ่)
-บิสมิลลาฮ(3 จังหวัดภาคใต้)
ชื่อเรียกอื่นๆ
-หนานเฟยเฉา
-หนานเฟยซู่
เหตุที่เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่าป่าช้าเหงา เพราะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคต่างๆ จนทำให้ไม่มีใครเสียชีวิต หรือไม่ค่อยมีคนตาย ที่ป่าช้าจึงเงียบเหงา...เลยกลายเป็นชื่อของสมุนไพรชนิดนีันั่นเอง
และที่ล้านนาและไทใหญ่ เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า ป่าเฮ่วหมอง ...ป่าเฮ่ว หมายถึงป่าช้า จึงหมายถึง ป่าช้าหมอง คือ นานๆทีจะมีคนเสียชีวิตและนำไปฝังที่ป่าช้า
ในแอฟริกาใช้กินเป็นผักและรักษาโรคมาลาเรีย ที่อเมริกาขายเป็นยาเพิ่มภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เบาหวาน ต่อมลูกหมาก และควบคุมน้ำตาล สมุนไพรชนิดนี้ ดังมาจากเมืองจีนก่อน ต่อมาโด่งดังในประเทศไทย
-พ่อหมอชาวไทใหญ่ ใช้แก้โหลง คือ ยาแก้พิษ
-ชาวกะเหรี่ยงใช้เป็นยาแก้หวัด
-ตำรับยาล้านนาใช้รักษาโรคเรื้อรัง ที่ชื่อว่า โรคสาน คือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติ รวมทั้งฝีต่างๆ และโรคขาง คือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ
สมุนไพรป่าช้าเหงานี้ได้รับความนิยมมาก พ.ศ.2547 ทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศร ได้จัดทำโครงการชลอวัยไกลโรคสำหรับผู้สูงอายุ ทำการวิจัย และพบว่ามีสรรพคุณ้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียหายจากเบาหวาน และไตวาย ปัจจุบันมีขายทั้งต้นสด แห้ง และแบบผง
กินเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ใส่ในอาหาร
-ใช้รองกระทงในการทำห่อหมก ซึ่งควรลวกน้ำร้อนก่อน เพื่อลดความขมและลดฤทธิ์ยา ทาน 3-5 ใบ
-ยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา ซึ่งควรลวกน้ำร้อนก่อน เพื่อลดความขมและลดฤทธิ์ยา ทาน 3-5 ใบ
กินป่าช้าเหงาเพื่อเป็นยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
-กินใบสด ถ้าใบมีขนาดใหญ่ยาวเท่าฝ่ามือ วันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง 2-3 วันกินที หากจะกินทุกวันให้กินใบเล็กๆ 1-2 ใบ ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือนและเริ่มกินใหม่
-ต้มกิน ใบยาวเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้า ตอนตื่นนอน กินบ้างหยุดบ้าง
ป่าช้าเหงา หากกินเข้มเกินไปจะเป็นอันตรายได้ เพราะเป็นสมุนไพรที่ลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเฟสบุ๊ก สมุนไพรอภัยภูเบศร ได้โพสข้อความเตือนป่ารับประทานสมุนไพรป่าช้าเหงา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ว่าพบผู้ป่วยชายไทย อายุ 64 ปี มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 18 กันยายน ด้วยอาการหน้ามือด เหนื่อยมากขึ้น เหงื่อแตก ใจสั่น อ่อนแรง แพทย์ได้รับค่าน้ำตาลในเลือด พบว่าเหลือเพียง 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
จากกรณีดังกล่าว เภสัชกรของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร จึงได้เตือนประชาชนที่ใช้สมุนไพรโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างความดันโลหิต เบาหวาน ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเป็นหลัก ต้องสังเกตความผิดปกติและศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนรับประทาน เพราะปัจจัยในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
ข้อควรระวัง
ไม่แนะนำให้กินทุกวัน หรือกินต่อเนื่อง เพราะเป็นยาเย็น และห้ามใช้สมุนไพรป่าช้าเหงาในคนไข้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือดชื่อ วาร์ฟาริน เพราะอาจาเสริมฤทธิ์ยา รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่ีมีการทำงานของตับและไตบกพร่อง ผู้ป่วยเลือดจาง ส่วนผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดดีอยู่แล้วไม่ควรรับประทานเป็นยา หากมีอาการความดันโลหิตตก น้ำตาลตก วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น ควรหยุดรับประทานทันที
รับประทานแต่พอดี จะดีต่อสุขภาพ หากมากไปก็เป็นโทษได้เหมือนกัน ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงนะคะ