หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

Timeline 500 วัน กับโรคไวรัสโคโรนา 2019 การวิ่งมาราธอนที่คนไทยทุกคนต้องวิ่งไปด้วยกัน

เนื้อหาโดย โคนันเอง

จากวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ (นับเป็นวันที่ 0 หรือ Day 0) ซึ่งเป็นวันที่เราเริ่มได้ยินข่าวว่ามีโรคอะรูก็ไม่ไร้ (อะไรก็ไม่รู้) เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น มาถึงวันนี้นับได้ ๕๐๐ วันพอดี ประเทศไทยเราได้ผ่านเรื่องราวต่างๆ มามากมาย ขอใช้โอกาสครบรอบ 500 วัน สรุปเหตุการณ์ที่ผมคิดว่าสำคัญที่เกิดขึ้น เพื่อให้หลายท่านได้ทบทวนและเรียนรู้กันพอสังเขปแล้วกันครับ

 

 

31 ธันวาคม 2562 จีนรายงานการพบผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุเป็นกลุ่มก้อน ต่อองค์การอนามัยโลก โดยพบผู้ป่วยแล้ว 27 คน ทั้ง 27 คน มีประวัติเกี่ยวข้องกับ Wuhan Huanan Seafood Market และระบุว่าไม่มีการแพร่โรคจากคนสู่คน

3 มกราคม ปีที่แล้ว ได้แจ้งคำสั่งในเริ่มดำเนินการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินของกรมควบคุมโรคสำหรับโรคปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ และได้แต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ ท่ามกลางเสียงบ่นเล็กน้อยๆ ของพวกน้องๆ ที่รู้ว่าต้องเร่ิมมาทำงานกันในวันเสาร์อาทิตย์

7 มกราคม - มีข่าวว่าเชื้อก่อโรคคือ bat SARS-like coronavirus

8 มกราคม - พบผู้ป่วยสงสัยเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการตรวจเบื้องต้นพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ชัดเจน

10 มกราคม - ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจพบเชื้อ bat SARS-like coronavirus ในผู้ป่วย

11 มกราคม - จีนเปิดตัวเชื้อก่อโรค

13 มกราคม - ไทยรายงานการพบผู้ป่วยรายแรก

20 มกราคม – ทางการจีนประกาศว่าโรคโควิด 19 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้

23 มกราคม - จีนเริ่มมาตรการล็อกดาวน์เมือง Wuhan ห้ามประชาชนออกจากบ้าน

27 มกราคม - รัฐบาลได้ยกระดับให้ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) ติดตามและประเมินสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

30 มกราคม - องค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติ

31 มกราคม - รายงานผู้ป่วยคนไทยติดเชื้อในประเทศเป็นรายแรก

4 กุมภาพันธ์ - รับคนไทย 138 คนจากเมืองอู่ฮั่นกลับประเทศไทย โดยได้รับตัวไว้สังเกตอาการในสถานที่รัฐจัดให้เป็นเวลา 14 วัน พบผู้ติดเชื้อ 1 คน

15 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นบริจาค Favipiravir ให้ประเทศไทยจำนวน 200 เม็ด

24 กุมภาพันธ์ - ยา Favipiravir ล็อตแรก 5,000 เม็ดส่งถึงกรมควบคุมโรค

26 กุมภาพันธ์ - ยา Remdesivir ล็อตแรกส่งถึงกรมควบคุมโรค

29 กุมภาพันธ์ - คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย และประเทศไทยรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เสียชีวิตเป็นรายแรก

2 มีนาคม - มีข่าวแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้เดินทางกลับประเทศ

5 มีนาคม - ประกาศพื้นที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย

6, 8 มีนาคม - รายการมวยที่สนามมวยลุมพินี และสนามมวยราชดำเนิน

12 มีนาคม - สำนักนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

13 มีนาคม – ผู้มีชื่อเสียงที่ทำหน้าที่พิธีกรในสนามมวยประกาศตัวว่าติดเชื้อโควิด 19

13 มีนาคม - สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประกาศขอให้คนไทยที่เข้าร่วมงานดาวะห์ และผู้ติดตามใกล้ชิดเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไปพบแพทย์ทันที

17 มีนาคม - คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วน และให้ปิดมหาวิทยาลัย โรงเรียนนาชาติ สถาบันกวดวิชา ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณและโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และงดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค

21 มีนาคม - ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศกิจการและสถานที่เสี่ยงบางประเภททั่วกรุงเทพฯ เป็นเวลา 22 วัน ทำให้ผู้คนเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก และพบการรายงานผู้ป่วยในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ

22 มีนาคม - รายงานผู้ป่วยยืนยันสูงสุดของการระบาดในระลอกแรก จำนวน 188 คน

24 มีนาคม - ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563

31 มีนาคม – ประกาศให้สิทธิการรับบริการสาธารณสุขกรณีโรคโควิด 19 อยู่ในขอบเขตบริการสาธารณสุขตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

2 เมษายน - ประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักร (เคอร์ฟิว) และสั่งห้ามไม่ให้คนต่างชาติและคนไทยเดินทางเข้าประเทศไทย

4 เมษายน - สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ ห้ามเครื่องบินทุกประเทศและผู้โดยสารเข้าประเทศไทย 3 วัน และได้ห้ามต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

7 เมษายน - คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 63

8 เมษายน - กระทรวงวัฒนธรรมออกประกาศห้ามจัดงานสงกรานต์

9 เมษายน - กรุงเทพมหานคร และหลายจังหวัดเริ่มประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง ในวันเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขรายงานจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 54 คน และหลังจากวันที่ 9 เมษายนเป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยรายใหม่มีจำนวนน้อยกว่า 100 คนมาโดยตลอด

13 เมษายน - ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศไทย ได้พิจารณาออกคำสั่งปิดร้านค้าและสถานประกอบการจำหน่ายสุราเป็นการชั่วคราว

18-20 เมษายน - เริ่มเกิดกระแสสังคมเกี่ยวกับผู้มีจิตอาสาแจกสิ่งของ

24 เมษายน - บางจังหวัดในไทย (นครราชสีมา น่าน) เริ่มผ่อนปรนมาตรการ ปลดล็อคสถานที่ ธุรกิจบางประเภท

27 เมษายน - รายงานผู้ป่วยเป็นเลขหลักเดียว (9 ราย) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในเดือนมีนาคมเป็นต้นมา

3 พฤษภาคม - เริ่มมาตรการผ่อนปรน โดยเริ่มจากกิจการที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน และประเมินทุก ๒ สัปดาห์

13 พฤษภาคม - ไทยไม่พบผู้ป่วย (0 ราย) ในรอบเกือบ 4 เดือน

17 พฤษภาคม - เริ่มมาตรการผ่อนปรน หรือมาตรการคลายล็อกระยะที่ 2

25 พฤษภาคม - รายงานผู้ติดเชื้อในประเทศคนสุดท้ายของการระบาดระลอกที่ 1

1 มิถุนายน - เกิดเหตุการณ์ประชาชน ออกไปเที่ยวหาดบางแสนจนล้นหาด ทำให้เทศบาลเมืองแสนสุข ต้องออกประกาศปิดถนน และห้ามเข้าพื้นที่ชายหาดในเวลาต่อมา

5 มิถุนายน - กระทรวงคมนาคม ได้แจ้งให้หน่วยงานในสังกัดที่ให้บริการขนส่งสาธารณะทุกระบบสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ 100 % ทั้งรถโดยสารสาธารณะ (รถทัวร์) ทั่วประเทศ รถไฟทางไกลและเครื่องบิน

9-10 กรกฎาคม – คณะผู้บัญชาการทหารบก สหรัฐอเมริกา เดินทางมาประเทศไทย และสามารถเข้ามาปฏิบัติภารกิจได้โดยไม่ต้องกักกันตัว

12 กรกฎาคม - ศบค. เห็นชอบมาตรการ ผ่อนคลายผู้ไม่มีสัญชาติไทย เข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับกลุ่ม Medical Program (medical quarantine) โดยกำหนดเกณฑ์การเข้ามาและเลือกประเทศที่เสี่ยงต่ำถึงปานกลางก่อน

13 กรกฎาคม – เกิดเหตุการณ์ทหารอียิปต์ติดเชื้อ ไม่ให้ความร่วมมือตรวจหาเชื้อ และยังออกนอกโรงแรมกักกันโรค ที่จังหวัดระยอง และพบว่ามีการออกไปเดินห้างสรรพสินค้า และเด็กหญิงอายุ 9 ขวบลูกสาวอุปทูตติดเชื้อและเดินทางเข้ามาพักที่คอนโดส่วนตัวใน กทม.

20 - 24 กรกฎาคม - องค์การอนามัยโลกและองค์กรเครือข่ายดำเนินการสรุปบทเรียนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย และดำเนินการถ่ายทำสารคดีสะท้อนความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 1 ของประเทศไทย

11 สิงหาคม – เกิดกรณีที่มีชายชาวญี่ปุ่นติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังเดินทางกลับจากไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งการตรวจหาเชื้อของประเทศญี่ปุ่น เป็นการตรวจที่สนามบิน โดยใช้วิธี CLEIA (ChemiLuminescent Enzyme ImmunoAssay) โดยใช้ตัวอย่างน้ำลาย ซึ่งต่อมาเมื่อทำการตรวจยืนยันก็พบว่าผู้เดินทางคนดังกล่าวไม่ได้ติดเชื้อ

17 สิงหาคม – เกิดกรณีชาวมาเลเซียติดเชื้อโควิด 19 หลังเดินทางกลับจากไทย ในประเทศไทยได้ดำเนินการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัส พบว่าผู้สัมผัสทุกรายไม่มีผู้ใดติดเชื้อ 
15 กันยายน - ครม. อนุมัติหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV) ให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ในขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานและ ศบค. อนุมัติให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดนำร่องเปิดรับแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาความต้องการแรงงาน และอนุญาตแรงงานกัมพูชาเป็นชุดแรกจำนวน 500 ราย ผ่านจุดผ่านแดนถาวรหมู่บ้านแหลม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

28 กันยายน - ศบค. มีมติอนุญาตบุคคล 6 กลุ่ม เดินทางเข้าไทย เช่น นักกีฬาต่างชาติที่จะเข้ามาแข่งขันกีฬาจักรยานทางไกล นักบินและลูกเรือ ผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอยู่ชั่วคราวประเภทต่างๆ ผู้ถือวีซ่าท่องเที่ยวสำหรับกลุ่ม long stay ผู้ถือบัตร APEC Card เป็นต้น

1 ตุลาคม - มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญคือมีท่านปลัดกระทรวง อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมอนามัย และอธิบดีกรมสุขภาพจิต ท่านใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่

9 ตุลาคม - กรมควบคุมโรค เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดระลอกใหม่อย่างจริงจัง ด้วยการยกระดับและปรับปรุงสมรรถนะด้านต่างๆ ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งการปรับปรุงแนวทางการควบคุมโรค การจัดสถานกักกันเพิ่มเติม การวางระบบเฝ้าระวังและตรวจจับในหลายระดับ การเพิ่มจำนวนหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค 3 เท่าจากที่มีอยู่ 1,000 ทีม การเตรียมความพร้อมระบบบัญชาการเหตุการณ์ทุกการขยายศักยภาพด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

16 ตุลาคม - เริ่มพบผู้ติดเชื้อโควิดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

15 ตุลาคม - กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี ประกาศความร่วมมือกับแอสตราเซเนกา และมหาวิทยาอ๊อกฟอร์ดผลิตวัคซีนโควิด-19 เป็นชาติแรกในอาเซียน

17 ตุลาคม - ผู้ว่าราชการจังหวัดตากประกาศปิดกิจการที่มีความเสี่ยง จำกัดการเดินทางเข้าออกพื้นที่เสี่ยง เพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันควบคุมโรค ปิดด่านขนส่งสินค้า และเข้มงวดป้องกันการเดินทางเข้าออกผ่านทางช่องทางธรรมชาติ

21 ตุลาคม - พบผู้ติดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย เป็นนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส วัย 57 ปี ซึ่งได้รับการกักตัวครบ 14 วันในสถานกักกันทางเลือกแล้ว คาดว่าอาจจะเป็นการติดเชื้อระหว่างที่กักกันตัวอยู่ในสถานที่กักกันทางเลือก ซึ่งนำไปสู่การเข้มงวดวิธีปฏิบัติในสถานกักกันทางเลือก

26 ตุลาคม - สถานการณ์การระบาดที่แม่สอดเริ่มดีขึ้น จังหวัดตากจึงเริ่มมาตรการผ่อนคลาย และให้สามารถกลับมาเปิดด่านแม่สอดได้ภายใต้เงื่อนไขการดำเนินมาตรการป้องกันการติดเชื้อที่เคร่งครัด

30 ตุลาคม - พบแรงงานเมียนมาเข้าเมืองผิดกฎหมายผ่านทางชายแดนไทย-มาเลเซียติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พัทลุง 1 ราย

8 พฤศจิกายน - กระทรวงสาธารณสุข มีแผนที่จะเริ่มนำร่องการกักตัว 10 วันในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำหรือใกล้เคียงกับประเทศไทย

10 พฤศจิกายน - พบผู้ติดเชื้อในประเทศ 1 ราย อาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพศชาย สัญชาติฮังการี อายุ 53 ปี อาชีพนักการทูต มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันที่เป็นชาวต่างชาติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่โรงแรมสถานกักกันทางเลือก (ASQ)

17 พฤศจิกายน – ครม. มีมติเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ 6,049,723,117 บาท เพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนไทยโดยการจองล่วงหน้า และการจัดซื้อวัคซีนกับบริษัท AstraZeneca (Thailand) จำกัด และบริษัท AstraZeneca UK จำนวนวัคซีน 26 ล้านโด๊ส

28 พฤศจิกายน - พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ หญิงวัย 29 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ว่า จากการสอบสวนทราบว่าได้เดินทางกลับจากทำงานที่ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และลักลอบเดินทางเข้าไทยผ่านทาง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้น ยังคงพบผู้ติดเชื้อเดินทางข้ามมาจากฝั่งท่าขี้เหล็กอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางการจัดช่องทางพิเศษให้ผู้เดินทางเข้าพักสังเกตอาการที่ local quarantine จำนวนผู้ติดเชื้อที่ลักลอบเข้าประเทศจึงค่อยๆ ลดลง

9 ธันวาคม – ครม. มีมติอนุมัติผ่อนปรนให้ต่างด้าวที่เป็นนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa, STV) สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้โดยไม่จำกัดประเทศ แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข การขอวีซ่า พร้อมแจ้งสถานที่พำนักในไทยให้ชัดเจน และยินยอมที่จะกักตัวเป็นเวลา 14 วัน

17 ธันวาคม – พบผู้ติดเชื้อรายแรกในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจากการสอบสวนโรคในระยะต่อมาพบว่าได้มีการเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วในสมุทรสาคร การระบาดระลอกใหม่นี้ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวัดที่มีผู้เดินทางเข้ามายังสมุทรสาครอย่างกว้างขวาง การแพร่ระบาด

19 ธันวาคม – พบผู้ติดเชื้อยืนยันเป็นจำนวนมากจากการค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร พบผู้ติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 43 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจทั้งหมด และในวันเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้ประกาศปิดตลาดกลางกุ้ง

20 ธันวาคม – พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนหลักร้อยในรอบหลายเดือน โดยได้รายงานผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 576 ราย แบ่งเป็นแรงงานต่างด้าว 516 ราย ติดเชื้อในประเทศ 19 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่อยู่ในสถานที่กักกันแห่งรัฐ 41 ราย

25 ธันวาคม - กระทรวงสาธารณสุขเปิดโรงพยาบาลสนาม บริเวณตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร โดยเริ่มเปิดให้บริการจำนวน 30 เตียง และสามารถขยายศักยภาพให้สามารถมีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้สูงสุด 100 เตียง

26 ธันวาคม - สมุทรสาครเริ่มปฏิบัติการตรวจเชิงรุกเพื่อประเมินสถานการณ์ และควบคุมโรคโรค โดยตั้งเป้าที่จะตรวจโรงงานขนาดใหญ่ให้ได้ทุกแห่งภายใน ๒ สัปดาห์

30 ธันวาคม - จังหวัดสมุทรสาครเปิดโรงพยาบาลสนามแห่งแรก ภายในวันโกรกกราก

—————เริ่มต้นปี 2564————

4 มกราคม - จังหวัดสมุทราสาครเปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ ๒ สนามกีฬา อบจ.

8 มกราคม - อำเภอแม่สอดพบคนไทยติดโควิด 17 คน จาก 40 คน โดยคนไทยทั้ง 40 คนเป็นผู้เดินทางข้ามมาจากเมียนมา และเข้าสู่สถานที่กักกันภายในอำเภอแม่สอด

25 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ - ช่วงเวลา 10 วันที่สมุทรสาครรายงานผู้ป่วยอย่างน้อย 733 คน

3 กุมภาพันธ์ - จังหวัดสมุทรสาครเริ่มดำเนินการควบคุมการระบาดและการจำกัดการแพร่ระบาดในโรงงานขนาดใหญ่ ๙ แห่ง โดยมีแผนจะปิดกั้นไม่ให้แรงงานของบริษัทออกมาปะปนกับประชาชนภายนอกเป็นเวลาอย่างน้อย ๔ สัปดาห์

9 กุมภาพันธ์ - พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในตลาดพรพัฒน์ ปทุมธานี

22 กุมภาพันธ์ - นักท่องเที่ยวจากยุโรปกลุ่มแรก 59 คน เดินทางถึง จ.ภูเก็ต พร้อมตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนเข้ากักตัวใน Villa Quarantine ที่โรงแรมศรีพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งให้กักตัวเป็นเวลา 14 วัน ภายใต้มาตรการสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด

24 กุมภาพันธ์ – วัคซีนซิโนแว็ค 200,000 โด๊สแรก ขนส่งถึงประเทศไทย

28 กุมภาพันธ์ – ประเทศไทยเริ่มการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 254 คน ที่สถาบันบำราศนราดูร 95 คน และที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร 159 คน

1 มีนาคม – กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สมุทรปราการ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเริ่มการฉีดวัคซีนเข็มแรกของจังหวัด ในขณะที่จังหวัดสมุทรสาครมีคำสั่งปิดศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3 โครงการวัฒนาแฟคตอรี่

2 มีนาคม - ครม. อนุมัติงบประมาณ 6,387,285,900 บาทเพื่อจัดซื้อวัคซีนโควิด 19 จำนวน 35 ล้านโด๊ส

3 มีนาคม – จังหวัดสมุทรสาครออกคำสั่งเรื่อง ผ่อนปรนมาตรการคุมโควิด-19 โดยลดระดับจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

8 มีนาคม – วัคซีนบริษัทแอสตราเซเนกาส่งถึงไทย จำนวน 117,000 โดส ในขณะที่จังหวัดสมุทรสาครทำการเปิดศูนย์ห่วงใหญ่คนสาคร แห่งที่ 10 ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม

12 มีนาคม – นายกรัฐมนตรีเลื่อนฉีดวัคซีน เนื่องจากมีกระแสข่าวกระทรวงสาธารณสุขเดนมาร์กประกาศระงับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทแอสตราเซเนกาเป็นการชั่วคราว หลังมีรายงานกรณีการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ได้รับวัคซีนบางราย ในวันเดียวกัน ในกรุงเทพมหานครได้มีการตรวจพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในตลาดบางแค

16 มีนาคม – นายกรัฐมนตรีได้รับการฉีดวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกา

17 มีนาคม – อนุมัติและเริ่มฉีดวัคซีนฉุกเฉินในกลุ่มเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับ Cluster บางแค โดยได้มีการเตรียมวัคซีนรองรับไว้ 6,000 โด๊ส

3 เมษายน - สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 13 คน ที่ไปเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ 3 แห่ง ได้แก่ Krystal Club, ลาบลาบาร์ และเบียร์เฮ้าส์ย่านทองหล่อ-เอกมัย นับเป็นการระบาดระลอกที่ ๓ ของประเทศไทย ซึ่งการแพร่ระบาดก่อนช่วงสงกรานต์ ซึ่งต่อมาได้ก่อให้เกิดการระบาดแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว และยังคงมีสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงจนถึงปัจจุบัน

27 เมษายน - เริ่มพบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนคลองเตย

30 เมษายน - กระทรวงสาธารณสุขเปิดศูนย์แรกรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาคารนิมิตบุตร เพื่อช่วย กทม ในการจัดการผู้ติดเชื้อ

4 พฤษภาคม - เริ่มฉีดวัคซีนเพื่อหวังผลในการควบคุมโรคในชุมชนคลองเตย

14 พฤษภาคม - วันที่ 500 - Day 500 - นายกรัฐมนตรีเปิดโรงพยาบาลสนามขนาด 5,200 เตียง ภายในอาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง

……….

500 วันผ่านไปแล้ว

สถานการณ์เดินมาจนถึงวันนี้

วันที่สถานการณ์การระบาดในประเทศไทยถือได้ว่า

อยู่ในระดับที่ “รุนแรงที่สุด” เท่าที่เราเผชิญมา

ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วครับ

ที่ทุกคนจะต้องลุกขึ้นสู้กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

…..

ตอนที่ไฟไหม้ เราควรจะเร่งรีบดับไฟ

ไม่ใช่ไปยืนด่าไฟที่กำลังไหม้

หรือกล่าวโทษใครบางคนหรืออะไรบางอย่างที่เราคิดไปเองว่าอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้

หากการทะเลาะกัน ทำให้การดับไฟทำได้ช้าลง

หยุดทะเลาะกันแล้วหันมาร่วมมือกันดับไฟก่อนดีกว่ามั้ยครับ

น้ำลายดับไฟไม่ได้ครับ

หยุดพูดแล้วเริ่มลงมือทำ

บางคนอาจต้องวางมือจากสิ่งที่กำลังจดจ่ออยู่ตรงหน้า

มาช่วยกันดับไฟก่อนเถอะครับ

ละทิ้งตัวตน ละทิ้งอัตตา

แล้วมาช่วยกัน

……….

จริงๆ แล้วคนไทยทุกคนกำลังอยู่ในช่วงสงคราม

และเราก็มีศัตรูตัวเดียวกัน

แม้บางคนอาจจะหลงลืมความจริงข้อนี้ไปชั่วขณะ

แทนที่จะจัดการศัตรู กลับหันไปส่งเสริมศัตรู-หยุดเถอะครับ

จะทำอย่างไรจึงจะจัดการกับศัตรูได้

มาถึงวันนี้ แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้ครับ

เหลือแค่ลงมือทำ เริ่มที่ตัวเรา ทำในส่วนที่เราทำได้ ทำให้ดีที่สุด

จากนั้น จึงเริ่มสนับสนุนคนอื่นที่กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์

ถึงเวลาต้องรวมใจเป็นหนึ่ง

ถึงเวลาที่เราต้องรวมแรงร่วมใจกันอีกครั้งครับ

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก  หมอแก้ว ผลิพัฒน์

เนื้อหาโดย: conun 68
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
โคนันเอง's profile


โพสท์โดย: โคนันเอง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: conun 68
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ราคาทองร่วงหนัก10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67ลาก่อนพระปีนเสา! เจ้าอาวาสวัดสามชุกสั่งไล่ออกสังกัดวัด หลังพฤติกรรมไม่เหมาะสมครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่มีความละอายเลขเด็ดเจ๊ฟองเบียร์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วัยรุ่นฟันน้ำนม!! เต้นบีบอยอย่างเทพ รุ่นนี้ยังใส่แพมเพิสอยู่เลย เก่งแท้เจ้าหนูเอ้ย"แซมมี่-แชมป์ ฉลองลอยกระทงในสไตล์คู่รักสุดเก๋ ธีมสลับร่างสุดฟิน"ฟิล์ม ถูกกล่าวหาหลอกผู้เสียหาย ลงทุนน้ำมัน พบผู้เสียหายหลายร้อยคน มูลค่ารวมเกือบ 800 ล้าน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
ประสบความสำเร็จกี่โมงโตมาพึ่งเข้าใจ…วิธีลอยกระทงสำหรับ"คนโสด"เล่าให้ฟังเฉยๆ…
ตั้งกระทู้ใหม่