10 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังพยายามทำให้คนอื่นพอใจมากเกินไป และสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมได้อย่างไร
การทำให้คนอื่นมีความสุข และความมุ่งมั่นที่จะสร้างพลังบวกให้กับสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ดีเสมอ แต่คงจะแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะหากคุณพยายามมากเกินไป ในสักวัน คุณอาจจะพบว่าตัวเองได้ละทิ้งความต้องการของตัวเอง ลืมเวลาส่วนตัว และสร้างความเครียดให้กับตัวเอง เพียงเพื่อให้แน่ใจว่าคนรอบข้างรู้สึกดี
ในวันนี้เราจะมาแลกเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับหัวข้อที่ละเอียดอ่อนนี้กันครับ และหาวิธีแก้ปัญหาที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้นก่อนที่มันจะสายเกินไป
1. คุณพบว่าทุกอย่างยากที่จะปฏิเสธ
เมื่อคุณคุ้นเคยกับการช่วยเหลือคนอื่นในทุกเรื่อง เหตุผลง่าย ๆ ก็คือคุณจะไม่สามารถพูดคำว่า “ไม่” กับคำขอของพวกเขาได้เลย อาจเพราะกลัวว่าถ้าปฏิเสธไปแล้วพวกเขาอาจจะโกรธ หรือคิดว่าคุณไม่สนใจ ยิ่งไปกว่านั้นการพูดว่า“ไม่” ยังทำให้คุณรู้สึกผิด เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นคุณจึงมักจะยอมทำทุกอย่าง โดยปล่อยให้คนอื่นมาละเมิดเวลาว่าง หรือความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยวิธีเดิม ๆ เรื่อยไป
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ก่อนอื่นต้องตระหนักถึงพลังของการพูดคำว่า “ไม่”
อาจเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่สุดท้ายแล้วเชื่อว่ามันก็จะได้ผล การปฏิเสธบางสิ่งที่ทำให้คุณได้ใช้เวลาว่างอยู่กับตัวเองบ้าง ไม่ได้ทำให้คุณเห็นแก่ตัว แต่คุณกำลังปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความรัก และความเคารพอยู่ต่างหากล่ะ
2. คุณต้องการเป็นที่รักของทุกคนรอบตัว
ความกลัวจากการถูกปฏิเสธเป็นอีกลักษณะหนึ่งที่พบได้บ่อย เมื่อพูดถึงความพึงพอใจของผู้คน คุณกลัวว่าถ้าคนไม่ชอบคุณ พวกเขาจะปล่อยให้คุณอยู่คนเดียว ด้วยเหตุนี้คุณจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่น เพื่อจะเป็นที่รักของพวกเขาให้ได้
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ตรวจสอบดูว่าคุณถูกหลอกหรือไม่?
ถ้าคนอื่นรู้ว่าคุณจะทำอะไรเพื่อพวกเขา ส่วนใหญ่จะไม่ลังเลที่จะใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ พวกเขาสามารถใช้คำขอหวาน ๆ ต่อคุณได้ อาทิ “คุณเป็นคนเดียวที่ทำเรื่องนี้ได้” เพื่อผลักดันให้คุณทำสิ่งต่าง ๆเพื่อพวกเขา ทันทีที่รู้แบบนี้ ก็ควรให้ความสำคัญกับตัวเองเพิ่มขึ้นมาบ้าง
3. อารมณ์เชิงลบของคนอื่นมีอิทธิพลต่อคุณเสมอ
ไม่มีอะไรผิดในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และเปลี่ยนเรื่องต่าง ๆให้กลายเป็นเรื่องชวนหัว แต่คนที่ต้องการทำให้คนอื่นพอใจอยู่เสมอ จะไม่สามารถจัดการกับความไม่พอใจได้ แม้ว่ามันจะไม่เกี่ยวกับพวกเขาเลยก็ตาม
คนที่ชอบอ้อนวอนขอความช่วยเหลือคนอื่นเป็นประจำ สามารถมองเห็นความรำคาญของคนรอบข้างได้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคนอื่น ๆ ก็ไม่พอใจเช่นกัน
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ทำความเข้าใจว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจเป็นประโยชน์ ช่วยให้เราสามารถแสดงออก และพูดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่มารบกวนจิตใจได้
การระงับความรู้สึกของคุณ และของคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะบางครั้งเราก็จำเป็นต้องระบายมันออกมาบ้าง
4. คุณรู้สึกผิด และขอโทษสำหรับทุกสิ่ง แม้ว่ามันจะไม่จำเป็นก็ตาม
หากทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผนปฏิกิริยาแรกของคุณคือ “ฉันขอโทษ!” ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นคุณพยายามรับโทษ และแบกรับผลที่ตามมาเสมอ สิ่งนี้มาจากความปรารถนาภายในที่จะเป็นคนดี และสุภาพ แต่สุดท้ายแล้วมันจะทำลายความนับถือตนเองของคุณมากขึ้น และอาจกลายเป็นนิสัยได้
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ใส่ใจกับสิ่งที่คุณทำ พูด และรู้สึก
พยายามวิเคราะห์สาเหตุ และเมื่อคุณเริ่มขอโทษ สังเกตคนที่คุณทำสิ่งนี้ด้วย ในหลาย ๆ สถานการณ์ไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม รวมถึงคำตำหนิ ดังนั้นบางครั้งคุณก็สามารถปล่อยให้ตัวเองข้ามสิ่งนี้ไปได้อย่างง่ายดายเหมือนกัน
5. คุณละเลยความต้องการ และความปรารถนาของตัวเองมากเกินไป
เนื่องจากคุณยุ่งอยู่กับการคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น จึงมักจะลืมคิดถึงเรื่องของตัวเอง คุณมีความสามารถในการระงับอารมณ์ และลืมสิ่งที่คุณต้องการในขณะนี้ ในช่วงเวลาหนึ่งคุณอาจไม่รู้จักตัวเองดีอีกต่อไป ซึ่งอาจถึงจุดที่รู้สึกยากสำหรับคุณ ที่จะพูดเกี่ยวกับความรู้สึก และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองเลยทีเดียว
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ฟังตัวเองให้มากขึ้น ใช้เวลาเรียนรู้ในสิ่งที่คุณรู้สึกชอบ และต้องการ
6. คุณชอบการให้มากกว่าการรับ ทำแล้วรู้สึกสบายใจ
การเสียสละเพื่อคนอื่น อาจกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้ที่พยายามทำให้คนอื่นพอใจอยู่ตลอดเวลา คุณอาจหวังว่าคนอื่นจะสังเกตเห็น และชื่นชม แต่โดยปกติแล้วผู้คนมักจะคุ้นเคยกับวิธีการนี้ และใช้ประโยชน์ จนในที่สุดคุณก็ไม่เหลืออะไรให้ตัวเองเลย
ปรับปรุงแนวคิดโดย : นึกถึงลำดับความสำคัญของตัวคุณ
ตัดสินใจว่าอะไรสำคัญสำหรับคุณก่อน ไม่ใช่สำหรับคนอื่น ทั้งนี้คุณยังสามารถกำหนดระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจงได้เมื่อคุณพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มที่
7. คุณรู้สึกรับผิดชอบต่อความรู้สึกของคนอื่น
ดูเหมือนคุณจะสังเกตเห็นทุกอารมณ์ ความเปลี่ยนแปลงของเพื่อน ครอบครัว และแน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้คุณกังวลอยู่เสมอ ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดคุณอาจโทษตัวเองด้วยซ้ำที่ไม่สามารถทำให้ใครบางคนสงบลง และทำให้พวกเขามีความสุขได้ แต่ความจริงก็คือ นั่นเป็นความรับผิดชอบของแต่ละคนในการควบคุมอารมณ์ของตนเองนะ
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ใช้การยืนยันอย่างเอาใจใส่
คุณสามารถพยายามเข้าใจว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร แต่คุณทำตามด้วยคำพูดที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น“ผมรู้ว่าความโกรธของคุณมาจากไหน แต่คงทำได้แค่อยู่เคียงข้างคุณตอนนี้”
8. คุณพยายามจับคู่คนรอบตัวคุณ
หลายคนอาจกลัวที่จะแสดงบุคลิกที่แท้จริงของตนให้คนอื่นเห็น เลยตัดสินใจที่จะไปตามกระแส และเปลี่ยนตัวเองให้มีพฤติกรรมเหมือน ๆ คนอื่น วิธีนี้อาจทำให้คิดว่าคนรอบข้างจะชอบพวกเขามากขึ้น และเพื่อบรรยากาศที่ดี
ปรับปรุงแนวคิดโดย : เรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเองเมื่ออยู่ใกล้ผู้อื่น
แม้ว่าคุณอาจมีความคล้ายคลึงกับคนรอบข้างมาก แต่พยายามยอมรับ และเคารพในความแตกต่างของคุณกับพวกเขา มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้คุณไม่เหมือนใคร และไม่จำเป็นที่จะต้องซ่อนมันไว้
9. คุณต้องการให้คนอื่นมายกย่อง
คนเรามักจะแสวงหาการยกย่องจากผู้อื่น ส่วนใหญ่มักมาจากความนับถือตนเองที่ค่อนข้างต่ำ
ปรับปรุงแนวคิดโดย : ถึงเวลาแล้วที่ต้องหยุดค้นหาการยอมรับจากคนอื่น
พยายามตรวจสอบว่าคุณกำลังทำอะไรเพื่อให้ได้รับคำชมจากผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นการโพสต์จำนวนมากบนโซเชียลมีเดียเมื่อค้นพบแล้วก็ค่อย ๆ เลิกพฤติกรรมนี้ซะ
10. คุณไม่ยอมรับเมื่อมีความรู้สึกเจ็บปวด
เพราะคุณพยายามทำให้คนอื่นมีความสุขอยู่เสมอ คุณจึงกดดันตัวเองด้วยเช่นกัน คุณพยายามซ่อนความรู้สึกเชิงลบเพื่อไม่ให้คนอื่นรู้สึกแย่ คุณปฏิเสธว่าคุณรู้สึกเศร้า โกรธ หรือผิดหวังกับบางสิ่งบางอย่าง และสวมหน้ากากแสร้งว่ามีความสุข ซึ่งนั่นอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่คุณไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองอีกต่อไปเลยก็เป็นได้
ปรับปรุงแนวคิดโดย : เรียนรู้ที่จะยอมรับความรู้สึกของคุณบ้าง
เพราะการระงับอารมณ์สามารถทำให้ร่างกายของคุณเครียด และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ การดูแลตนเองมีความสำคัญพอ ๆ กับการดูแลคนอื่น เห็นอกเห็นใจตัวเอง และพยายามปฏิบัติต่อตัวเอง รวมทั้งความรู้สึกของคุณด้วยความสนใจ และความรักบ้าง
จำไว้ว่าคนที่จะรักคุณได้ดีที่สุด ก็คือตัวคุณเองนั่นแหละ ใส่ใจความรู้สึกของตัวคุณเองเพิ่มขึ้นอีกนิด เพื่อสุขภาพจิตที่ดีครับ