ถ้าสายไฟฟ้าลงดินหมด กทม.จะน่าอยู่แค่ใหน!!!!
เวลาเราเดินตามฟุตบาทถนนใน กทม.เราเห็นสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ ระโยงระยาง...จนมีคนนำคำมาแซวๆว่า
"เสานี้ไม่ว่าง เสาโน้นก็ไม่ว่าง"
แล้วถ้าในเมืองใหญ่ๆเอาสายไฟลงดินทำให้ทัศนียภาพเมืองใหญ่ๆดีขนาดใหนครับ
การเอาสายไฟลงดินนั้นทางการไฟฟ้าค่อยๆทำมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2527 บนถนนสีลม
ข้อดีของการเอาสายไฟลงใต้ดิน คือ
1.ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกลมแรงซึ่งอาจพัดกิ่งไม้หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้าทำให้เกิดความเสียหายและความอันตรายได้
----------------------
2.รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
----------------------
ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ จึงสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสังคมเมือง และนับวันการใช้ไฟฟ้า ยิ่งมีบทบาทกับเรามากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
----------------------
3.ช่วยทำให้ทัศนียภาพสวยงาม
----------------------
ประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ การไฟฟ้านครหลวงเร่งมือนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตาชาวต่างชาติ
MEA ชูความสำเร็จโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน พลิกโฉมเมืองมหานคร การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ในฐานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย
พร้อมขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานครแห่งอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล จึงได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่องเร่งสร้างมหานครอัจฉริยะ Smart Metro เพื่อความเพียงพอ มั่นคง พัฒนาเสถียรภาพความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และช่วยปรับทัศนียภาพให้สวยงาม มีความปลอดภัย
ในพื้นที่สำคัญ
และสมุทรปราการ ปัจจุบัน
ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ระยะทางรวม 48.6 กิโลเมตร
ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของถนนสายสำคัญต่าง ๆ เช่น
ถนนสีลม
ถนนสุขุมวิท
ถนนพหลโยธิน
ถนนพญาไท
ถนนพระราม 1
ถนนพระราม 4
ถนนราชดำริ
ถนนราชวิถี
ถนนราชปรารภ
ถนนศรีอยุธยา
ถนนสวรรคโลก
ถนนสาธุประดิษฐ์และสว่างอารมณ์
ถนนพิษณุโลก
และถนนนครสวรรค์
ททั้งนี้ แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของ MEA ได้ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเส้นทางที่มีความจำเป็น โดยคัดเลือกตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า สาธารณูปโภคสำคัญ แนวถนนสายหลัก และบริเวณย่านธุรกิจและสถานที่สำคัญ
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าหนาแน่น และมีการเติบโตของความต้องการไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว โดยโครงการ ฯ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร
ประกอบด้วย
1. โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะทางรวม 128.2 กิโลเมตร ได้แก่
นนทรี
ถนนพระราม 3
รัชดาภิเษก-พระราม 9
รัชดาภิเษก-อโศก
รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ถนนพระราม 4
ถนนวิทยุ พื้นที่เมืองชั้นใน (ถนนสาทร ถนนเจริญราษฎร์ ถนนชิดลม ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง)
ถนนอังรีดูนังต์ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน สายสีชมพู และสายสีเหลือง
2. โครงการที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ระยะทางรวม 38.8 กิโลเมตร ได้แก่
ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม
สายสีเขียวส่วนต่อขยาย
และสายสีม่วง
โครงการร่วมกรุงเทพมหานคร (ถนนอรุณอัมรินทร์-ถนนบรมราชชนนี-ถนนพรานนก-ถนนทหาร-ถนนประชาราษฎร์สาย 1 และถนนสามเสน)
ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างภายในปี 2563 เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการก่อสร้าง พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างให้มีความรวดเร็วมากขึ้น MEA จึงได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน พร้อมรับฟังปัญหาและนำไปแก้ไข รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี กรุงเทพมหานคร (กทม.)
สนับสนุนด้านการอำนวยความสะดวกในบริเวณพื้นที่ทางเท้าสำหรับดำเนินโครงการ ฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
ร่วมแก้ไขปัญหาสายสื่อสาร สำหรับโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินนั้น MEA ได้ดำเนินโครงการครั้งแรกบนถนนสีลม ตั้งแต่ปี 2527
ซึ่งนับว่าเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย
และได้ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมระยะทาง 215.6 กิโลเมตร ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจากมติ ครม. ในการลงทุนรวมกว่า 69,232.6 ล้านบาท
นอกจากนี้ MEA ยังดำเนินโครงการการพัฒนาระบบไฟฟ้าไปสู่การเป็น มหานครอัจฉริยะ Smart Metro Grid โดย MEA ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการ เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City) ของพื้นที่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สยามสแควร์”
ซึ่งถือเป็นพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร แลนมาร์คสำคัญที่มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษาของประเทศ
นอกจากนี้ MEA ยังดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ Outgoing เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าใจกลางเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
ซึ่งประกอบด้วย ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน (ตลอดแนวถนน)
และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต)
โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร อยู่ลึกประมาณ 40 เมตร มีความยาวของอุโมงค์โดยประมาณ 1,800 เมตร ซึ่งจะถือเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ เพื่อสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง ลดปัญหาไฟฟ้าดับ สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมืองมหานครของประเทศไทย MEA พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองมหานคร
ทั้งภารกิจการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่ MEA มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนในอนาคต รองรับการเป็นมหานครอัจฉริยะ "Smart Metro" ตอบโจทย์การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร สู่การเป็น Smart City ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป
#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
Energy for city life, Energize smart living ///////////////
ขอบคุณข้อมูล MEA