ปิดตำนาน เครื่องบินรบ F-16 ADF มือสอง
ทหารคือรั้วของชาติ ทหารอากาศคือหลังคาประเทศ...
ถึงเวลากองบินที่ทำงานมากว่า 20
กองบิน 1 ทำพิธีอำลา และปลดประจำการ เครื่องบินขับไล่ ( บข.19/ก ) หรือ F-16ADF Air Defense Fighter (10207), F-16 (10321) สังกัดฝูงบิน 102 และ ฝูงบิน 103 ที่ประจำการ ตั้งแต่ปี2540 โดย ทอ.จะยอย ปลดประจำการ และปิดฝูง
โดยมี การบินFly By และ อุโมงค์น้ำ Water Salute โดยมี ผู้การอ๋า นาวาอากาศเอก เจริญ วัฒนศรีมงคล ผู้บังคับการกองบิน 1 เป็นประธาน
เรามาข้อมูลเรื่องนี่กันครับ
ถ้าถามว่ารู้จักเครื่องบินรบของ ทอ. ลำไหนบ้าง 8 ใน 10 คนจะต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า F-16 เป็นแน่
ปัจจุบัน F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้า (Front Line Fighter) แห่งน่านฟ้าไทย มายาวนานกว่า 20 ปี จนกลายเป็นเครื่องบินรบที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงมากที่สุด
ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ไทยมีแนวโน้มว่าจะถูกภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์รุกราน ทำให้กองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยสำหรับรับมือกับภัยอันตราย
โดยในขณะนั้นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของไทยมีเพียงแค่ F-5 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่เจ็ทยุคที่ 3 ที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับ MIG-23 ของเวียดนามเท่านั้น
แต่เมื่อพูดถึงปริมาณ มันกลับต่างกันถึง 1 ต่อ 3กองทัพอากาศไทยจึงเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่
โดยมีตัวเลือก 2 ตัวคือ
F-20 Tigershark ของบริษัท Northrop Grumman
และ
F-16 Fighting Falcon ของบริษัท Lockheed Martin
โดยกองทัพอากาศไทย ได้เลือก F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ตรงต่อความต้องการของกองทัพ
#แต่สหรัฐฯกลับต้องการขาย F-16/79 ซึ่งเป็น F-16 ที่ลดสมรรถนะลงมา ทั้งแรงขับเครื่องยนต์ ทั้งการบรรทุกอาวุธ รัศมีปฏิบัติการ ให้กลับไทย
####แต่กองทัพอากาศไทย ก็ได้ยื่นคำขาดว่าต้องการ F-16A/B Block 15OCU เท่านั้น
โดยอ้างเหตุผลคือ ต้องการกำลังรบที่ทันสมัยสำหรับการต่อกรกับการวางกำลังเป็นจำนวนมากของเครื่องบินรบโซเวียตแบบ MIG-23 ของเวียดนาม ด้วยการกดดันจากไทยและบริษัทผู้ผลิต
ในที่สุด สหรัฐฯ จึงอนุมัติการขาย F-16A/B Block 15 OCU ในปี พ.ศ. 2528
โดยการที่กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 นั้นมี 4 โครงการด้วยกัน ดังนี้
โครงการที่ 1 : Peace Naresuan I (นเรศวรสันติ 1) กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยว จำนวน 8 ลำ และ F-16B รุ่น 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำในปี 2528 ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2531 ปัจจุบันเป็น F-16 ฝูงแรกของไทยที่ประจำการอยู่ที่ กองบิน 1 โคราช ฝูงบิน 103 Lightning
โครงการที่ 2 : Peace Naresuan II (นเรศวรสันติ 2) กองทัพอากาศจัดหา F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยวเพิ่มเติมอีก 6 ลำ ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2534 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ กองบิน 1 โคราช ฝูงบิน 103
โครงการที่ 3 : Peace Naresuan III (นเรศวรสันติ 3) ในปี 2537 กองทัพอากาศพิจรณาเครื่องบินขับไล่/โจมตีฝูงใหม่ โดยมีตัวเลือกคือ F-16A/B, A-10A และ F-7M ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดหา F-16 เช่นเดิม โดยเป็น F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยว จำนวน 12 ลำ และ F-16 รุ่น 2 ที่นั่งจำนวน 6 ลำ F-16 ฝูงนี้ได้รับการออกแบบให้ทำภารกิจขับไล่/โจมตีกลางคืนโดยเฉพาะ โดยติดตั้งกระเปาะช่วยเดินอากาศ (Navigation Pod) แบบ Rubis สำหรับปฏิบัติการในเวลากลางคืน และ กระเปาะชี้เป้า (Targeting Pod) แบบ Atlas II โดยรุ่นสองที่นั่ง ห้องนักบินผู้ช่วยจะถูกปรับปรุงให้เป็นที่นั่งของนายทหารอาวุธ (Weapon System Officer) ทำหน้าที่ทำงานกับระบบอาวุธและเรด้าห์ในการโจมตีภาคพื้น ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 403 Cobra กองบิน 4 ตาคลี
โครงการที่ 4 : Peace Naresuan IV (นเรศวรสันติ 4) กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet จำนวน 8 ลำเพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่ของไทย แต่จากวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนั้น ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดงบประมาณอย่างรุนแรง ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ กองทัพอากาศไทยจึงเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ซื้อสัญญา F/A-18 ทั้ง 8 ลำกลับไป ปัจจุบัน F/A-18 ทั้ง 8 ลำ ประจำการอยู่ในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ เป็นฝูงสุดท้ายที่ใช้รุ่น C/D แต่กำลังรบของกองทัพอากาศไทยยังขาดไปอีก 1 ฝูงบิน ในปี 2542 กองทัพอากาศจึงจัดหา F-16 ADF มือสองจำนวน 16 ลำ เป็นรุ่นที่เดี่ยวจำนวน 15 ลำ และ รุ่น 2 ที่นั่งจำนวน 1 ลำ
ซึ่งเป็นเครื่องบินที่เกินความต้องการของสหรัฐฯ โดยใช้เงินที่เคยจ่ายไปในโครงการจัดหา F/A-18
และเงินที่กองทัพอากาศฝากไว้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อดำรงความพร้อมรบทางอากาศของกองทัพไทย F-16ADF เป็นเครื่องบินแบบแรกของไทยที่มีความสามารถในการใช้อาวุธปล่อย อากาศสู่อากาศระยะกลาง มีความสามารถในการโจมตีข้าศึกที่ระยะเหนือสายตา (Beyond Visual Range)
โดยกองทัพอากาศได้จัดหาขีปนาวุธแบบ AIM-120 AMRAAM มาติดตั้งใช้งานกับ F-16ADF
ปัจจุบันฝูงบินนี้ถูกประจำการอยู่ที่ ฝูงบิน 102 Star กองบิน 1 โคราช
ในปี 2547 กองทัพอากาศสิงคโปร์ ได้มอบ F-16A/B ให้ไทยจำนวน 7 ลำ โดยเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว 3 ลำ และ รุ่น 2 ที่นั่ง 4 ลำ เป็นข้อแลกเปลี่ยนให้กับกองทัพอากาศไทยให้พื้นที่แก่กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาทำการฝึกในประเทศไทย F-16 เหยี่ยวเวหาแห่งสันติ
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา.. F-16 ได้สร้างความเหนือกว่าทางด้านการครองอากาศ ทำให้เหตุขัดแย่งกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง จบลงอย่างง่ายดาย เพียงแค่มี F-16 บินคุมเชิง..
แค่เสียงคำรามของเครื่องยนต์ ก็แสดงถึงความเหนือกว่าทางเวหานุภาพแล้ว.. F-16 ที่ประจำการในประเทศไทย ในปัจจุบัน F-16 ที่ยังประจำการในประเทศมีด้วยกัน 3 ฝูงบิน
ดังนี้..
-ฝูงบิน 103 Lightning กองบิน 1 โคราช สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปสายฟ้า
-ฝูงบิน 403 Cobra กองบิน 4 ตาคลี สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปงูจงอาง
-ฝูงบิน 102 Star กองบิน 1 โคราช สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปดาววิ่ง ตลอด กว่า20 ปี ที่ผ่านมา เทคโนโลยีทางการทหาร ก็ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และ F-16 เอง ก็จำเป็นต้องทำการอัพเกรดปรับปรุงด้วยเช่นกัน เพื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักอย่าง Su-30 ของมาเลเซียและเวียดนาม หรือ F-15SG ของสิงคโปร์ กองทัพอากาศจึงเริ่มทำโครงการ MLU (Mid Life Upgrade) เพื่อเพิ่มความทันสมัยให้กับ F-16 แห่งกองทัพไทยต่อไป.. โดยการทำ MLU ครั้งล่าสุดนี้ จะทำให้ F-16A/B Block 15 ของไทยมีความสามารถทัดเทียม F-16C/D Block 52 ของสหรัฐฯ เลยทีเดียว
ภาพข้อมูล: กองบิน /วาสนา นาน่วม