หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

5 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกการงานและอาชีพก่อนปี 2022 [Future Of Jobs]

อ้างอิงจากบทความใน World Economic Forum https://bit.ly/2VXsnzL

โลกการงานในอนาคตได้ย่างกรายเข้ามาเป็น “โลกความจริง” ของคนทำงานและบริษัทนับล้านๆ ทั่วโลก สิ่งน่ารู้ที่ได้รายงานไว้ล่าสุดในเอกสาร ‘Future of Jobs Report’ คาดการณ์ไปถึงสิ่งที่น่าจะเกิดกับพวกเราทุกคนในปี 2018-2022 ไว้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใน 20 ภาคเศรษฐกิจ และ 12 ภาคอุตสาหกรรม และต่อไปนี้คือสิ่งที่พวกเราควรจะรู้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับมันได้อย่างเต็มที่

1.ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบดิจิตอล (Automation, robotization and digitization) ส่งผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรมไม่เท่ากัน
5 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกการงานและอาชีพก่อนปี 2022 [Future Of Jobs]

มือถือพร้อมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) และคลาวด์เทคโนโลยี (cloud technology) ได้ก้าวเข้ามาเป็นเทคโนโลยีหัวหอกสำคัญที่บริษัทต่างๆ ยินดีที่จะศึกษาและพร้อมรับมาใช้ในการทำงานระหว่างปี 2018 – 2022

นอกจากนี้ยังมีอีกมากที่มองว่าการเอาระบบการเรียนรู้ของเครื่องกล (machine learning) และเทคโนยีความจริงเสมือน (augmented and virtual reality) มาใช้เป็นการลุงทุนในอนาคตทางธุรกิจ
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดไป ในช่วงแรกนี้การลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์แบบที่เราเห็นๆ กันตามภาพยนต์หรือนิยายวิทยาศาสตร์ก็ยังเป็นแค่ความสนใจของกลุ่มคนหรือคณะวิจัยเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ทว่าที่ร้อนแรงขึ้นมากจริงๆ กลับเป็นพวกหุ่นยนต์อัตโนมัติตามโรงงาน (Stationary robots) ที่น่าจจะเป็นกลุ่มของหุ่นยนต์ที่มีการนำไปใช้มากที่สุดก่อนช่วงปี 2022 โดยถูกใช้งานแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละอุตสาหกรรม

 

2.ยังมีอนาคตที่สดใสสำหรับตำแหน่งงาน

(ท่ามกลางการพังทลายของตำแหน่งงานเดิมๆ)

 

ภายในปี 2022 จะมีการเติบโตของตำแหน่งงานใหม่ๆ สำหรับพนักงานบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลกราวๆ 16-27% ในขณะที่ ‘เนื้องาน’ ในปัจจุบันจะได้รับผลกระทบจากจากเทคโนโลยีเดิมๆ ที่ล้าสมัยและถูกแทนที่ลดลงราวๆ 31-21%

ถ้าให้พูดในเชิงตัวเลขตรงๆ จะมีตำแหน่งงาน 75 ล้านตำแหน่งในปัจจุบันที่ถูกทดแทนอันเป็นผลมาจากการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ในสามขั้วระหว่าง มนุษย์-เครื่องจักร-อัลกอริทึม ในขณะเดียวกันก็มีงานใหม่ๆ ถือกำเนิดขึ้นมากถึง 133 ล้านตำแหน่งงาน

ตัวอย่างอาชีพใหม่ๆ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts), นักพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์, ผู้เชี่ยวชาญระบบการซื้อขายออนไลน์และโซเชียลมีเดีย…เหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพที่มีเทคโนโลยีเป็นรากฐานหรือไม่ก็ต่อยอดเอาเทคโนโลยีมาใช้ทั้งสิ้น

ถึงจะพูดอย่างนี้ แต่งานอีกแบบที่จะเติบโตเช่นกันกลับเป็นตำแหน่งงานที่อาศัย ‘ความเป็นมนุษย์’ เช่น งานบริการลูกค้า, การขายและการตลาด, งานฝึกอบรมและพัฒนาคน, ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาองค์กร (Organizational Development Specialists) รวมไปถึง ผู้จัดการบริหารนวัตกรรม (Innovation Managers.)

 

3.อัตราส่วนการช่วยกันทำงานระหว่างมนุษย์-เครื่องจักร-อัลกอริทึมจะเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล

 

พนักงานเตรียมตัวประสบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารของขั้วการทำงานของ ‘มนุษย์-เครื่องจักร-อัลกอริทึม’ ได้เลย เมื่อมองดูในมุมของชั่วโมงการทำงาน ปัจจุบันแรงงานจากคนคิดมากถึง 71% ของชั่วโมงทำงานทั้งหมด ในขณะที่เครื่องจักรและอัลกอริทึมรวมกันเพียง 29%

แต่การคาดการณ์ในปี 2022 ค่าเฉลี่ยชั่วโมงการทำงานจากมนุษย์น่าจะขยับลดจาก 71% เหลือแค่ประมาณ 58% (เกือบแค่ครึ่งเดียว) แล้วงานที่เหลืออีก 42% จะถูกโอนถ่ายไปให้เครื่องจักรและอัลกอริทึมทำแทน ถ้าลองย้อนกลับมาดูในปัจจุบัน เราจะพบว่าไม่มีงานไหนเลยที่จะถูกทำแทบทั้งหมดจากเครื่องจักรและอัลกอริทึม

แต่ในปี 2022 จะต่างออกไป เพราะคาดว่า 62% ของงานประมวลผลข้อมูลในองค์กร การสืบค้นข้อมูล และระบบการจัดการขนส่ง (transmission tasks) จะเป็นหน้าที่ของเครื่องจักรแบบสมบูรณ์

ลองย้อนกลับมาดูจุดตั้งต้นในปัจจุบัน เราจะพบว่าการเพิ่มบทบาทของเครื่องจักรที่มาช่วยพวกเราทำงานได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างชัดเจนในหลายภาคส่วน เช่น กระบวนการตัดสินใจต่างๆ งานแอดมิน งานค้นหาข้อมูล

แม้แต่ประเภทงานที่เราคิดว่าเป็นงานที่ถูกทำโดยมนุษย์ อย่าง การสื่อสาร การมีปฎิสัมพันธ์ การบริหารจัดการและให้คำแนะนำ ก็เริ่มที่จะถูกเครื่องจักรเข้ามาทดแทนบ้างแล้วไม่มากก็น้อย

 

4.งานใหม่ๆ ย่อมเรียกร้องทักษะใหม่ๆ

ภายในปี 2022 เหล่า ‘กลุ่มทักษะ’ ที่พวกเราต้องใช้ทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อมองในระดับโลก ค่าความเสถียรของทักษะ (skills stability)*** จะมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคืออัตราส่วนของทักษะหลักที่ใช้ทำงานแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงคือประมาณ 58%เท่านั้น (ผู้แปล: ทักษะที่เหลืออีก 42% ในปัจจุบันจะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป)

***[ผู้แปล: skills stability เป็นค่าที่บอกเราว่าทักษะเดิมๆ ที่ใช้ทำงาน จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดเมื่ออนาคตเดินทางมาถึง เช่น ถ้าบอกว่างานใดงานหนึ่งมี skills stability ต่ำ แสดงว่าทักษะที่ใช้ทำงานในตำแหน่งงานนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะล้มหายตายจากไป]

นั่นแปลว่าคนทำงานจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในการ ‘เคลื่อนไหล’ ของทักษะในโลกการทำงานมากถึง 42% ภายในปี 2022

ในส่วนของทักษะที่จะกลายเป็นทักษะทองคำ ได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์ การเรียนรู้โดยการลงมือทำจริง (active learning) จนไปถึงทักษะอย่าง การออกแบบเชิงเทคโนโลยี (technology design)

ทักษะเหล่านี้มักจะเน้นไปที่ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ

ถึงอย่างนั้นความสามารถทางเทคโนโลยีก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสมการทักษะแห่งอนาคตใหม่เท่านั้น…เราจะเห็นว่าทักษะมนุษย์หลายๆ อย่าง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม (originality and initiative) การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) การโน้มน้าวและต่อรอง จะยังคงรักษาคุณค่าเอาไว้หรือแม้กระทั่งเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำในโลกอนาคต

ความละเอียดรอบคอบ ความยืดหยุ่นปรับตัว (resilience) และการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน [ผู้แปล: ทักษะเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่เครื่องจักรและอัลกอริทึมยังทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์ภายในอนาคตอันใกล้ในระดับ 3-5 ปีนี้]

มิติต่างๆของมนุษย์อย่าง EQ ความเป็นผู้นำ และการสร้างผลกระทบเชิงสังคม วิธีคิดเชิงบริการ ยังคงเป็นที่ต้องการและเพิ่มค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับปัจจุบัน

 

5.เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อีกต่อไป

ว่าโดยค่าเฉลี่ยแล้ว พนักงานจะต้องการเวลา 101 วันในการฝึกฝนและปัดฝุ่นทักษะต่างๆ

ปรากฎการณ์ ‘การถ่างออกของช่องว่างทักษะ’ ที่เกิดขึ้นในหมู่คนทำงานทั่วไปหรือแม้กระทั่งผู้บริหารองค์กรระดับสูง อาจทำให้เกิดความไม่ลื่นไหลในการวางแผนบริหารพัฒนาองค์กรได้

โดยความรุนแรงของภาวะนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและพื้นที่ภูมิศาสตร์ ทำให้ราวครึ่งหนึ่งหรือสองในสามของบริษัทต่างๆ ต้องหันมาใช้วิธีการทำสัญญาจ้างคนภายนอก เช่น พนักงานชั่วคราว ฟรีแลนซ์ เพื่ออุดช่องโหว่ของทักษะ

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์อย่างรัดกุมถี่ถ้วน ทั้งการฝึกฝนทักษะใหม่และปัดฝุ่นทักษะเดิม ( reskilling and upskilling) จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญในการบริการจัดการเชิงรุกเพื่อรับมือกับแนวโน้มดังกล่าว

 

เพิ่มเติม: บทความนี้เป็นบทความที่แปลจากบทความต้นฉบับที่มีชื่อว่า ‘5 things to know about the future of jobs’ ที่เขียนโดยคุณ Vesselina Stefanova Ratcheva และ Till Leopold ซึ่งเผยแพร้บนเว็บไซต์ weforum.org เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าประสงค์เพื่อเผยแผ่ความรู้ ทางผู้แปลจึงสืบทอดเจตนาดั้งเดิมของผู้ผลิตบทความต้นฉบับ ซึ่งบทแปลนี้จึงได้หยิบยืมภาพประกอบมาใช้โดยตรงโดยไม่ได้ตัดต่อแต่งเติมแต่อย่างใด หากผู้อ่านสนใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในเรื่องอนาคตของโลกการงานสามารถเข้าไปดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มที่มีชื่อว่า ‘The Future of Jobs 2018’ ที่จัดทำโดย The World Economic Forum ได้ที่นี่ https://bit.ly/2PNl6A7

โพสท์โดย: พีรพัฒน์ พีพี
อ้างอิงจาก: World Economic Forum https://bit.ly/2VXsnzL
weforum.org
The World Economic Forum ได้ที่นี่ https://bit.ly/2PNl6A7
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
พีรพัฒน์ พีพี's profile


โพสท์โดย: พีรพัฒน์ พีพี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: พีรพัฒน์ พีพี
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Whoscall เปิดให้เช็กข้อมูลหลุด โดยการกรอกเบอร์มือถือเปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีรพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionปัญหาใหญ่ที่สุดในลาวตอนนี้ ที่อาจจะไม่สามารถเเก้ไขได้disgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจ
ตั้งกระทู้ใหม่