เด็กชายมีนิ้วมือและเท้ารวมกัน 31 นิ้ว
1 พฤษภาคม 2559 ณ เมืองผิงเจียง มณฑลหูหนาน เด็กน้อยวัย 3 เดือน ชื่อ หงหง ในหมู่บ้านจงผิง เมืองหนานเจียง ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรค "polydactyly" ที่หายาก มีนิ้วมือและนิ้วเท้ารวมกัน 31 นิ้ว
นิ้วมือและนิ้วเท้าของหงหง "พิเศษมาก" มีนิ้วมือ 15 นิ้ว นิ้วเท้า 16 นิ้ว รวมทั้งหมด 31 นิ้ว น่าแปลกใจมาก มือทั้งสองข้างของเขามีนิ้วเกินออกมา มือซ้ายมี 8 นิ้ว มือขวามี 7 นิ้ว มือและเท้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือและหัวแม่เท้า เท้าทั้งสองข้างมีนิ้วข้างละ 8 นิ้ว ลักษณะกระดูกแยกออกจากกัน กางออกดูคล้าย “ดอกบัว”
คิดไม่ถึง แม่ของเด็กก็มีนิ้วเกินเช่นกัน ต้องทุกข์ทรมานจากโรค polydactyly โจวเฉิงหลิน พ่อของหงหง กล่าวกับผู้สื่อข่าว ภรรยามีนิ้วมือและเท้าข้างละ 6 นิ้ว และเธอก็มีความกังวลว่าจะส่งต่อให้ลูก ภรรยาอยู่ในโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนเซินเจิ้นในช่วงตั้งครรภ์แรกๆ ทางโรงพยาบาลทำการทดสอบการตั้งครรภ์ ช่วงทดสอบการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดระหว่าง 20-28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทำการอัลตราซาวนด์ Doppler สีสี่มิติที่โรงพยาบาลแม่และเด็กเขตฝูเถียน เซินเจิ้น อย่างไรก็ตามไม่มีแพทย์คนใดที่ตรวจร่างกายบอกว่าลูกชายของเธอมีความบกพร่องทางร่างกาย
ศาสตราจารย์ หลิวหง จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลมณฑลหูหนานบอกกับ โจวเฉิงหลินว่า มือซ้ายของลูกชายมีนิ้ว 7 นิ้วกับมือขวามี 8 นิ้ว และมีนิ้วเท้าข้างละ 8 นิ้ว เป็นโรคที่หายาก การผ่าตัดก็ทำได้ยากเช่นกัน ต้องผ่าตัดในช่วงอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี หากเด็กอายุมากเกินไป จะพลาดช่วงเวลาการผ่าตัดที่ดีที่สุด
เมื่อถึงเวลาที่สามารถทำการรักษาได้ เขาทั้งกัวลใจและดีใจ ดีใจก็คือลูกชายของเขาสามารถมีมือและเท้าได้เหมือนเด็กทั่วไปหลังการผ่าตัด แตาที่น่ากังวลคือค่ารักษาที่สูงเกินไปสำหรับพวกเขา
หมายเหตุ
ภาวะนิ้วเกิน (polydactyly) หมายถึง ภาวะที่มือหรือเท้าแต่ละข้างมีนิ้วมากกว่า 5 นิ้ว โดยภาวะนี้เป็นความผิดปกติแต่กําเนิดของมือที่พบได้ บ่อยที่สุด นิ้วที่เกินมาอาจมีขนาดเล็กเป็นติ่งเนื้อไม่มีกระดูกเลยหรือมีกระดูกชิ้นเล็กๆ แต่ตรงส่วนโคนไม่มีกระดูกติดกับกระดูกปกติมีเพียงผิวหนังที่คอดเล็กคล้ายขั้วผลไม้ หรือนิ้วที่เกินมีการพัฒนาจนมีกระดูกและเล็บสมบูรณ์คล้ายนิ้วปกติ แต่มักมีขนาดเล็กกว่าและเส้นเอ็นที่ควบคุมการงอเหยียดข้อต่อมักไม่สมบูรณ์ ส่วนโคนกระดูกมีการเชื่อมติดกับเนื้อกระดูกหรือข้อต่อของนิ้วปกติ นิ้วที่เกิน อาจพบที่มือข้างเดียวหรือ 2 ข้างและอาจพบที่เท้าร่วมด้วย ภาวะนิ้วเกินอาจเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวในร่างกายหรือเกิด ร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่นเป็นกลุ่มโรค (syndrome) ก็ได้
ที่มา: https://kknews.cc/health/z2qejq.html