ผลวิจัยชี้ COVID-19 ทำลายอัณฑะ-ทำให้ผู้ชายมีลูกยากขึ้น
เป็นที่แน่นอนว่าหลายๆคนคงรู้ว่า โควิด-19 มีผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาขยะจากหน้ากาก และอีกมากมาย แต่คุณรู้ไหมว่า โควิด-19 นี้อาจจะทำให้เกิดปัญหาอัตราการเกิดของทารกน้อยลงด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเผยข้อมูลจากการศึกษาเรื่องระบบกลไกของโควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ก่อนหน้านี้ได้มีทฤษฎีที่สันนิษฐานว่าอนุภาคของโควิด-19 นั้นสามารถเข้าสู่ระบบการสืบพันธุ์ของเพศชายได้ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อไวรัสของโรคคางทูม โดยไวรัสนั้นจะเข้าไปทำลายอัณฑะภายใน 2-3 วันแรกของการติดเชื้อ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อและลดการผลิตอสุจิ
อย่างไรก็ตามกลไกลของการติดเชื้อโควิด-19 นั้นแตกต่างออกไปจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม จากการวิจัยการระบาดของเชื้อไวรัสซาร์ในปี 2003 ได้พบว่าไวรัสนั้นได้มีลักษณกลไกที่คล้ายคลึงกับโควิด19 ที่ไม่ได้เป็นอันพบเจอบ่อยในอัณฑะ ยกเว้นแต่จะเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อหนัก
แล้วโควิด-19 ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชายตำ่ลงได้อย่างไร?
ผลวิจัยได้บ่งชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นสามารถนำไปถึงการอักเสบอย่างรุนแรงของอัณฑะ หรือเรียกว่า orchitis (ออไคติส) ซึ่งไปทำลายระบบเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ถึงกระนั้นไม่ใช่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกคนจะได้รับผลกระทบในการเจริญพันธุ์ ส่วนมากจะพบในผู้ป่วยที่ติดไวรัสอย่างเฉียบพลัน
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยจากผลชันสูตรศพของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้พบว่า มีจำนวน 50% และ 90% ของผู้ติดเชื้อมีร่องรอยของอาการ orchitis ในขณะที่อีกผลงานวิจัยพบแค่ 20% ของผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นไปได้ว่าน่าจะมีผลปัจจัยอื่นที่ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลง เช่น การแตกหักของดีเอ็นเออสุจิ หรือการหยุดชะงักการทำงานของสมองที่ใช้ในกานสื่อสารกับอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ผ่านฮอร์โมนส์ของแต่ละบุคคล จากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวของผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 แต่ในตอนนี้เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุภาวะการเจริญพันธุ์ที่ต่ำลงอย่างถ่องแท้นั้นต้องมีการสำรวจและการวิจัยเพิ่มเติม อาจมีความเป็นไปได้ว่าโควิด-19 นั้นจะส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ต่อผู้ที่หายจากการติดเชื้อ แต่ยังต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป ยิ่งเหตุการณ์โควิด-19 นั้นยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนี้ คงไม่ต้องสงสัยเลยว่า การแพร่ระบาดของโควิดน่าจะยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อผู้ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่กำลังจะติดหรือไม่