หญิงชนเผ่าคนสุดท้ายจากรัฐชินในเมียนมาร์ กับประเพณีสักใบหน้า เพื่อป้องกันการถูกลักพาตัว มานานกว่า 1,000 ปี
หญิงชนเผ่าคนสุดท้ายจากรัฐชินในเมียนมาร์ กับประเพณีสักใบหน้า เพื่อป้องกันการถูกลักพาตัว มานานกว่า 1,000 ปี
เราสามารถพบเห็นการสักลายได้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ในอดีตนั้นมักพบเห็นผู้มีลายสักเป็นชายหนุ่ม หรือชายสูงวัย และลักษณะของลายสักก็แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ
เช่นเดียวกันกับประเพณีการสักในเหล่าหญิงสาวจากชนเผ่าจากรัฐชินในเมียนมาร์ ที่ได้ทำการสักใบหน้ามานานกว่า 1,000 ปีแล้ว กระทั่งในปี 2505 รัฐบาลเมียนมาร์ได้สั่งห้ามไม่ให้มีการสักใบหน้า และนั่นทำให้มีเพียงผู้สูงอายุเพียงไม่กี่คนที่ยังคงมีรอยสักบนใบหน้าให้ได้พบเห็น
ทั้งนี้ ประเพณีการสักใบหน้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หญิงสาวในเผ่ามีเสน่ห์ลดน้อยลง เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นหญิงสาวในเผ่าต้องเผชิญหน้ากับการถูกลักพาตัว เพื่อหยุดยั้งการลักพาตัว และลงเอยด้วยการถูกบังคับให้แต่งงาน
ดังนั้น เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงอายุ 12 ปี เหล่าเด็กผู้หญิงชนเผ่าในรัฐชินที่มีมากถึง 60 เผ่า จะได้รับการสักบนใบหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเธอถูกลักพาตัวนั่นเอง
อย่างไรก็ดี Marco Vendittelli ช่างภาพ วัย 32 ปี จากเมืองซอร์เรนโต ประเทศอิตาลี ได้มีโอกาสเดินทางไปถ่ายภาพหญิงสาวที่มีรอยสักบนใบหน้าในรัฐชินของเมียนมาร์ เราจะได้พบกับหญิงคนสุดท้ายที่ผ่านพิธีกรรมการสักใบหน้าด้วยหมึก และในตอนนี้เธอได้กลายเป็นผู้อาวุโสในเผ่าไปแล้ว...