ข่าวปลอม ความเกรงใจที่คุ้นเคย ในโลกอินเตอร์เน็ต
ข่าวปลอม (Fake News) คือ ข่าวหรือข้อมูลที่ยังพบการแชร์วนซ้ำไป-มาบนโลกออนไลน์ ทั้งที่หลายเรื่องมีการพิสูจน์และยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่าไม่เป็นความจริง ลักษณะข่าวปลอมที่เกิดขึ้นได้แก่ 1. ภัยพิบัติ 2. เรื่องที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ 3. สุขภาพ และ 4. ความมั่นคง สถิติจากข้อมูลของ “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย” พบว่า ช่วงเดือน ธ.ค.2563-ม.ค.2564 มีเฟกนิวส์ที่เกี่ยวกับโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นกว่าช่วง 6 เดือนก่อนอย่างเห็นได้ชัด
กลุ่มคนที่ทำให้เกิดเฟกนิวส์อยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มที่ตั้งใจก่อกวน สร้างกระแส ซี่งกลุ่มนี้คือต้นตอที่สร้างเฟกนิวส์ขึ้นมา เป็นกลุ่มที่เก่งเรื่องสื่อโซเชียล และมีไม่น้อยที่มาในรูปของอวตาร กลุ่มนี้น่ากลัวสุด เนื่องจากมีเจตนาสร้างความปั่นป่วนหวาดกลัวให้แก่ผู้คนในสังคม โดยผู้ที่ทำนั้นมีทั้งผู้ที่เจตนาจะสร้างความวุ่นวาย เพื่อหวังผลบางอย่าง คนที่ทำเพราะความคึกคะนอง และคนที่มีอาการทางจิต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาครอบครัว
2.กลุ่มที่ต้องการสร้างกระแสเพื่อหวังผลประโยชน์ เช่น โพสต์เรื่องชุดตรวจโควิด-19 แบบ Rapid Test สามารถใช้ตรวจเองได้ เพราะตนเองขายชุดตรวจโควิด-19 โพสต์เฟกนิวส์เรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้คนตื่นกลัวจะได้สั่งซื้อหน้ากากอนามัยจำนวนมากๆ ซึ่งกลุ่มนี้มีทั้งคนที่รู้และไม่รู้ว่าเป็นเฟกนิวส์
3.กลุ่มที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โพสต์หรือส่งต่อเฟกนิวส์เกี่ยวกับโควิด-19 ให้เพื่อนฝูงญาติมิตรด้วยความปรารถนาดี โดยไม่ได้ตรวจสอบที่มาหรือข้อมูลที่แท้จริง กลุ่มนี้มีทุกเพศทุกวัย แต่ที่พบมากสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ
การแก้ไขปัญหานี้ ความจริง!!! ต้องเริ่มจาก
- ทุกคนต้องไม่เป็น Spreader (ผู้กระจาย) ก่อน
- ไม่พอต้องช่วยแก้ไขด้วย เป็น Corrector (ผู้ตรวจสอบ)
- นำเสนอความจริง อย่างถูกต้อง และ ละมุนละม่อม (อย่าปล่อยให้วนซ้ำ)
ตัวอย่าง ข่าวปลอมช่วงโควิด-19 ได้แก่
มีสติ รับรู้ข่าวสาร ร่วมแก้ไข หาคำตอบ Fake News
------------------------------------------------
อ้างอิงจาก: Thai Pbs / ศูนย์ต้านข่าวปลอม / Cofact Thailand