หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สงครามยา "โควิด-19" และประเด็นทางการเมือง

เนื้อหาโดย Anti NGO

จากเรื่องที่เหมือนไม่มีอะไร คนไทยสามารถทำให้มีประเด็นได้ กับคำถามที่ไม่มีคำตอบ

ถ้าไม่สั่งจองซิโนแวค และแอสทราเซเนกาไว้ก่อน
ส่วนยาไฟเซอร์และโมเดอร์นาต้องรอคิวถึงสิ้นปี
คนไทยจะรอกันได้ไหม

กลายเป็นเรื่องถกเถียงกันในโลกออนไลน์ว่า ตกลงคนไทยควรใช้วัคซีนตัวไหนกันดี ระหว่าง USA, UK หรือ CN

กับผลของการทดลองในเฟสที่ 3 ของแต่ละวัคซีน ในแต่ละประเทศ ที่มีค่าประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันไม่เท่ากัน แต่ที่เหมือนจะมีผล และอยู่ในความสนใจของคนไทย กับเป็นผลการทดสอบประสิทธิภาพในประเทศบราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ที่แต่ละประเทศรายงานผลประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค - Sinovac จากประเทศจีนที่สูงปี๊ดในตุรกี ที่ 91% และผ่านเกณฑ์ประเมินขององค์การอนามัยโลกอย่างฉิวเฉียดที่บราซิล ที่ 50.4%

จนทำให้เกิดคำถาม และปัญหาคาใจของคนในสังคมว่า ทำไมประเทศไทยถึงต้องสั่งวัคซีนซิโนแวคด้วย ทั้งที่วัคซีนตัวอื่นมีผลการทดสอบประสิทธิภาพที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าอย่าง วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา ล่ะ ???

เรามาดูข้อดี และข้อด้อยของวัคซีนที่มีอยู่ทั้ง 3 ชนิดกันก่อน

จะเห็นได้ว่า ซิโนแวค เป็นการใช้เทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม ที่เรียกว่า Inactivated Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย โดยการนำเอาเชื้อก่อโรคที่ต้องการป้องกัน คือ เชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 มาทำให้ตาย แล้วนำซากเชื้อฉีดกลับเข้าไปในร่างกายของผู้ที่ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกัน เหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ทำให้อาจารย์หมอหลายท่าน เห็นด้วยกับรัฐบาลที่สั่งซื้อวัคซีนชนิดนี้

อย่างเช่น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสไว้ในเฟซบุ๊ค นพ.ยง ภู่วรวรรณ  ไว้ว่า

จะเห็นได้ว่า วัคซีนซิโนแวค ได้รับความมั่นใจจากคุณหมอ
-----------------------------------------------

แต่ทำไมถึงเกิดดราม่า ผลการทดลองประสิทธิภาพไม่เท่ากัน สูงบ้าง ต่ำบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกรับรองก็ตาม  ต้องบอกว่า มันเป็น ประเด็นทางการเมือง หรือ Geopolitics  ที่มีต่อการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

หลายคนจะต้องรีบเถียงออกมาทันทีว่า ไม่จริ๊ง ไม่จริง เรื่องแบบนี้จะมีผลต่อผลการทดสอบประสิทธิภาพได้อย่างไรกัน

หากลองค้นข่าวเกี่ยวกับวัคซีนซิโนแวคของจีนย้อนหลังไปประมาณปลายปีที่แล้ว ที่ สำนักข่าว PPTVHD36 รายงานว่า

• วันที่ 23 ธันวาคม บราซิลออกมาบอกแบบกระมิดกระเมี้ยนว่า วัคซีนโคโรนาแวคมีประสิทธิภาพมากกว่า 50% อย่างแน่นอน แต่ระบุว่า ยังไม่สามารถเปิดเผยผลการทดสอบเต็ม ๆ ได้ เพราะติดเงื่อนไขกับทางซิโนแวค
• วันที่ 24 ธันวาคม ตุรกีประกาศว่า โคโรนาแวคมีประสิทธิภาพถึง 91.25%
• วันที่ 7 มกราคม สถาบันชีวการแพทย์บูตันตัน (Instituto Butantan) ของบราซิล ประกาศว่า
          วัคซีนโคโรนาแวคมีประสิทธิภาพได้ผล 78% ในกรณีที่ไม่รุนแรง
          และ มีประสิทธิภาพ 100% ในการติดเชื้อรุนแรงและปานกลาง
• วันที่ 11 มกราคม อินโดนีเซียประกาศ อัตราประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 โคโรนาแวคอยู่ที่ 65.3%
• วันที่ 12 มกราคม บราซิลประกาศอีกครั้งว่า อัตราประสิทธิภาพวัคซีน “โดยรวม” ซึ่งรวมถึงเคสที่ไม่รุนแรงมากที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อยู่ที่ 50.38% เท่านั้น

ข้อมูลประสิทธิภาพที่สวนทางหรือทับซ้อนกันไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยแอสทราเซเนกา ผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 จากอังกฤษเอง ก็เคยพบอัตราประสิทธิภาพการป้องกันโควิด-19 ที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือพบว่า ประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนเพียง 1 โดสครึ่ง สูงกว่าการฉีด 2 โดส ซึ่งเป็นเรื่องแปลก

และข้อมูลสำคัญอีกข้อที่น่าสงสัยเกี่ยวกับผลทดสอบประสิทธิภาพในประเทศบราซิล ก็คือ ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู  ของบราซิล ที่ชอบทำตัวเป็นคนกวาดสวนในอเมริกาใต้ให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาหลายครั้ง เพื้อที่จะกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายให้สหรัฐฯ สามารถตั้งฐานทัพภายในบราซิลได้ ถึงขั้นว่า

ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู เคยพูดกับ ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ว่า

"ตอนนี้ประเทศของพวกเขา "เป็นเพื่อน" กันแล้ว พร้อมกันนั้นเขาก็แสดงท่าทีเป็นศัตรูกับทุนของจีนในบราซิล และต่อต้าน "ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม" ในประเทศเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาค ทั้งเวเนซุเอลา, คิวบา และนิการากัว
เขาต้องการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐในด้านเศรษฐกิจและการทหาร ซึ่งต่อไปอาจมีการลงนามความตกลงในด้านนี้ บราซิลไม่ได้ต้องการเป็นแค่มหาอำนาจในอเมริกาใต้ แต่เราต้องการเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้"

เพียงเท่านี้ ก็พอจะทำให้คาดเดากันได้ว่า ทำไมผลการทดสอบ วัคซีน “โควิด-19” จากจีน “ซิโนแวค” ในประเทศบราซิลถึงแค่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเท่านั้น
-----------------------------------------------

คำถามที่ยังอยากได้ยินคำตอบที่ว่า คนไทยจะรอกันได้ไหม หากต้องรอคิวสั่งซื้อของไฟเซอร์และโมเดอร์นา ที่อาจจะต้องได้ในปลายปีนี้ กับ ซิโนแวคที่เอามาแก้ขัดระหว่างรอแอสทราเซเนกาที่จะเข้ามาในเดือนมิถุนายน หรือช่วงว่างๆ ระหว่างมกราคม ถึง มิถุนายน ประเทศไทยไม่ควรที่จะมีวัคซีนชนิดอื่น ยี่ห้ออื่นมาเพื่อใช้ป้องกันเลยหรือ

หรือต้องให้ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเค้าฉีดกันจนหมด แล้วไทยค่อยฉีดก็ได้หรือ ???

อยากทิ้งเป็นคำถามให้คิด

ช่วงเวลานี้ ถึงมีเงินก็ใช่ว่าจะได้วัคซีนที่ดีที่สุดได้
เพราะทุกประเทศก็มีคิวในการสั่งซื้อเช่นกัน

แล้ว

คนไทยจะรอกันได้ไหม

เนื้อหาโดย: Anti NGO
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Anti NGO's profile


โพสท์โดย: Anti NGO
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มกลัวเยาวชนติดยาบ้า..เลยอาสากว้านซื้อยามาเสพเองสาเหตุที่ผู้หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชาย ในอินเดียไม่จบ! "ม้า อรนภา" เดือด อยู่เฉยๆ โดนขุดอดีตการเมืองเผยโฉม แอดมินเพจเชื่อมจิต งามซะ...เล่นเอาหนุ่มๆ อยากเชื่อมจิตกันใหญ่เลย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ด่วน : เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ชนกัน ขณะฝึกซ้อมที่ฐาน TLDM มีผู้เสียชีวิต 10 รายพบศwแล้วทหารกล้า ทั้ง 2 นาย ถูกน้ำพัดจม ขณะลาดตระเวนคนขับรถขนเงิน ขับทับเพื่อนร่วมงาน ปางตายช็อก! เด็กชายวัย 2 ขวบ พยายามฆ่าน้องสาว
ตั้งกระทู้ใหม่