ทรมานในช่วงที่มีรอบเดือนจะทำอย่างไรดีหรือกินยาอะไรได้บ้างนะ?
ทรมานกับอาการปวดประจำเดือนแบบนี้ แก้ไขยังไง กินยาอะไรให้ดีขึ้นนะ?
สิ่งที่ผู้หญิงจะต้องเผชิญในทุกๆ เดือนเลย ก็คืออาการเจ็บปวดบริเวณช่วงท้อง หลังและอาการข้างเคียงอย่างอื่นจากการมีประจำเดือน แต่อาการหลักๆ เลยก็คือ จะมีอาการปวดท้องอย่างมาก เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วงมดลูกจะมีการบีบรัดและเกร็งมาก บางคนอาจจะต้องเจออาการนี้ในทุกๆ เดือน แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นบ้างในบางเดือน Noxx เลยมีวิธีรับมือกับอาการปวดเหล่านี้มาฝากกันค่ะ
cr. https://www.pexels.com/th-th/photo/3807733/
1. ใช้กระเป๋าน้ำร้อน
ประคบท้องด้วยกระเป๋าน้ำร้อน เพื่อให้ความร้อนช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท้อง มดลูก บรรเทาความเจ็บปวลง เมื่อเกิดอาการปวดให้วางกระเป๋าน้ำร้อนประคบไว้ที่ท้องสักครู่ ถ้าจะให้ดีควรมีสัก 2 ใบแรกใช้ประคบหน้าท้องน้อย และอีกให้ประคบบริเวณหลังส่วนล่าง แต่การใช้ควรระมัดระวังความร้อนที่อาจจะทำให้ผิวหนังแสบไหม้จากความร้อนเอาได้ค่ะ ควรมีผ้าวางรองไม่ประคบกับผิวโดยตรง
2. การนวดหน้าท้อง
นอกจากใช้กระเป๋าน้ำร้อนที่ประคบให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายด้วยความร้อนแล้ว เราก็ยังสามารถนวดหน้าท้องซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ โดยให้นวดเป็นวงกลมอย่างแผ่วเบาออกแรงกดที่บริเวณหน้าท้องช่วงล่าง 10 วินาทีต่อครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องผ่อนคลายลง ซึ่งจะลดความเจ็บปวดและตึงเครียดจากการปวดท้องประจำเดือนได้
3. กินกากน้ำตาล
กากน้ำตาลคือน้ำตาลที่ตกผลึกจากน้ำเชื่อม มีความเข้าข้นมากๆ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เหมาะกับเป็นอาหารของคนป่วย ซึ่งจะมีปริมาณแคลเซียม โพแทสเซียมแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี6 ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยลดขนาดของลิ่มเลือด ลดอาการปวด และคลายกล้ามเนื้อช่วงท้องขึ้นได้ รับประทาน 2 ช้อนชาพร้อมๆ กับจิบน้ำอุ่นให้ได้ 1 แก้วใหญ่ๆ สักพักก็จะดีขึ้นแล้วค่ะ
4. ยาที่กินตอนปวดไม่มาก
หากว่าปวดท้องหรือปวดหัวเพราะประจำเดือน ก็กินยาแก้ปวดพื้นฐานสามัญประจำบ้านอย่าง พาราเซตามอล กับแอสไพรินเลยค่ะ รับประทานแบบเดียวแก้ปวดและลดไข้ครั้ง 1-2 เม็ด หากยังปวดอยู่ก็ให้กินเพิ่มทุกๆ 4-6 ชั่วโมงได้ ในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือนค่ะ ไม่อันตรายกับร่างกายใช้หากใช้ในปริมาณเท่านี้ค่ะ
5. กินยาต้านอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs)
ยากลุ่มนี้ก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เหมือนกัน แต่เน้นที่ช่วยลดอาการอักเสบด้วย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากกว่าใช้แค่ยาแก้ปวด เช่น
- Ibuprofen ครั้ง 200-400 มิลลิกรัม กินซ้ำ 4-6 ชั่วโมง หากว่ายังไม่หาย (ไม่กินเกินวันละ 1,200 มิลลิกรัม)
- Diclofenac ทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
- Naproxen รับประทานครั้งแรก 500 มิลลิกรัม ต่อไปครั้งละ 250 mg ทุก 6-8 ชั่วโมง (ไม่กินเกินวันละ 1,250 มิลลิกรัม)
6. พอนสแตน ยาแก้ปวดยอดนิยม
หรือกรด Mefenamic เป็นยาที่ให้ผลได้ดีกว่ายาแก้ปวดธรรมดาอย่าง พาราเซตามอล นิยมใช้แก้ปวดฟัน ปวดแผลผ่าตัด ส่วนใหญ่ทานแล้วจะช่วยทุเลาอาการได้เยอะจึงเป็นที่นิยมกันมากสุดค่ะ ให้รับประทานครั้งแรก 500 มิลลิกรัม ต่อไปครั้งละ 250 มิลลิกรัม สามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง สามารถเริ่มรับประทานได้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน และทานจนกว่าเลือดจะหยุดไหล แต่ไม่ควรติดต่อกันนานเกิน 7 วัน เมื่อไม่ปวดก็สามารถเลิกทานได้เลยค่ะ
7. ไปให้หมอฉีดยาให้
หากว่าสาวๆ ยังมีอาการปวดประจำเดือนมากๆ และกินยาไปแล้วก็ไม่หาย กล้ามเนื้อเกร็งแบบสุดๆ และเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นเหงื่อออกตัวเย็น และอาจถึงขั้นเป็นลม ควรมีคนพาไปโรงพยาบาล แพทย์จะทำการฉีดยา Antispasmodic เช่น Atropine หรือ Hyoscine 1 หลอดเข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำค่ะ มีผลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวหายทรมานได้ตรงจุดสำหรับคนที่ยาใช้ไม่ได้ผลค่ะ
วิธีที่บอกไปคือวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ในยามที่มีอาการปวดจากการมีประจำเดือนค่ะ แต่ทางที่ดีแล้วเราควรเตรียมรับร่างกายให้สุขภาพดี มีความแข็งแรงมากพอที่จะรับมือกับอาการปวดเหล่านี้เอาไว้ในทุกๆ เดือน จะดีกว่าหวังพึ่งแต่ยาแก้ปวดเพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะถ้าร่างกายไม่เจ็บปวดตั้งแต่แรกน่าจะเป็นเรื่องดีกว่ามากินยาเพื่อบรรเทาความปวดในภายหลังกว่ามากค่ะ ถ้าหากรู้ว่าอาการปวดของคุณค่อนข้างรุนแรง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและลดอาการปวดจากการมีประจำเดือนไว้ก่อนดีที่สุดค่ะ
cr. https://www.pexels.com/th-th/photo/3958565/
✪ บทความ โดย : Akine_noxx
✿ เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บ Spice/Pepper
❀ ฝากติดตาม กดไลค์ กดแชร์ คอมเม้นท์เป็นกำลังใจกันด้วยนะคะ