สายสกุล อัลอาตัส
ภาพตราประจำตระกูล อัลอาตัส
อัลอาตัส สืบเชื้อสายจากเจ้านาย หรือ ผู้นำทางอาหรับ โดยได้อบยพจากอาหรับ (เยเมน) ยังเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาได้ย้ายมาตั้งรกรากที่สิงค์โป-รัฐยะโฮร์ จากนั้นก็มาตั้งรกรากที่รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และปัตตานี บางส่วนจะมีคำนำหน้าชื่อว่า ซัยยิด (Syed) หรือ ฮาบีบ (Habib) เป็นยศศักดิ์พิเศษเทียบเท่ากับคำว่า liege-lord หรือ master ใช้สำหรับนำหน้าชื่อผู้ชาย ผ่านทางหลานชายของท่านฮะซัน อิบนุ อะลี และ ท่านฮุเซน อิบนุ อาลี บุตรของท่านหญิงฟาตีมะฮฺ และ ท่านอะลี อิบนุ อบีฏอลิบ มีหลายมหาสาขาสกุล หนึ่งในนั้นก็คือสกุลอัลอาตัส
การใช้ยศศักดิ์พิเศษสำหรับตระกูลเหล่านี้
- (1)ซัยยิด หรือ ฮาบีบ ใช้นำหน้าชื่อ บุตรชาย
- (2)ซัยยีดา หรือ ชารีฟะห์ ใช้นำหน้าชื่อ บุตรหญิง
- (3) มิรซา ใช้นำหน้าชื่อ ผู้ที่สืบเชื้อสายทางมารดาแต่บิดาสามัญชน (ใช้ได้ทั้งชายและหญิง)
ยศคำนำหน้าชื่อเหล่านี้เทียบเท่ากับคำว่า liege-lord หรือ master หรือแปลว่า เจ้านาย,ผู้นำ,ท่าน
ตระกูลเหล่านี้บางมหาสาขาสกุลได้อพยพมาตั้งรกรากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกันกับชาวมลายูในอินโดนีเซีย มาเลเซียและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาตั้งรกรากที่เกาะสุมาตรา สิงค์โป รัฐยะโฮร์ รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และปัตตานีตามลำดับ โดยได้รับเกียรติจากเจ้าผู้ครองและประชาชนท้องถิ่นเพราะเป็นตระกูลสืบเชื้อสายญาติวงศ์ศาสนฑูตมูฮัมหมัด ถือว่าเป็นตระกูลชั้นสูงและมีเกียรติตระกูลหนึ่ง มีการเสกสมรสระหว่างพระโอรส-พระธิดา ของเจ้าผู้ครองและเจ้าเมืองมลายูแม้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีจะแตกต่างจากชาวมลายู แต่สังคมมลายูยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมลายูด้วย เช่น 3 มหาสกุลในสามจังหวัดชายแดนใต้ได้แก่
-มหาสกุล อัลอาตัส มีการสมรสทางราชวงศ์ยะโฮร์,เกี่ยวดองกับราชวงศ์กลันตัน ดองกับสกุลสนิบุตร(พระยากลันตัน ตวนสนิปากแดง)และเจ้าเมืองยะหริ่งสายพระยายะหริ่ง(นิตีมุง)
-มหาสกุล อัลอิดรุส มีสมรสทางราชวงศ์อินโดนีเซีย,ราชวงศ์กลันตัน,เจ้าเมืองยะหริ่งสายพระยายะหริ่ง (นิตีมุงและนิเมาะ)
-มหาสกุล อัลยุฟรี มีการเกี่ยวดองกับราชวงศ์กลันตัน และดองกับเจ้าเมืองยะหริ่งสายพระยายะหริ่ง (นิตีมุงและนิเมาะ)
เมื่อมีการสมรสปรองดองไปมาบางส่วนจะใช้ยศ ซัยยิด ร่วมกับยศเชื้อพระวงศ์แบบมลายู เช่น ตนกูซัยยิด หรือ ต่วนซัยยิด นำหน้าชื่อเป็นต้น
ราชวงศ์มาเลเซียหลายพระองศ์สืบเชื้อสายซัยยิด
- 1 สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน
- 2 สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปุตรา แห่งราชวงศ์ปะลิส
- 3 ตวนกู ซัยยิด ราสมาน โอรสของตวนกู ซัยยิด อิดรุส
ลำดับชั้นยศเชื้อพระวงศ์แบบมลายู
- (1) ต่วนกู ถือเป็นยศชั้นสูงสุดหมายถึงองค์ประมุขสูงสุด
- (2) ตนกู,เติงกู,เต็งกู,อังกู,ตุนกู,ต่วน,กู, ตูแว,ตูวัน,รายา เป็นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด เทียบได้กับชั้นเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า เพราะยังถือว่าเป็นเจ้า ยศ"ตูแว"พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดังเดิมที่สุด ปัจจุบันในรัฐกลันตันนิยมใช้เป็น ตนกู, เต็งกู ส่วนสามจังหวัดชายแดนใต้ยังนิยมใช้ยศ ต่วน ตูแว และกู
- (3) นิ,วัน เป็นยศชั้นสุดท้าย ปัจจุบันถือว่าเป็นสามัญชนเป็นการให้เกียรติสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายเจ้าทางมารดา
ตัวอย่างเชื้อพระวงศ์ใช้ยศ ตนกู เติงกู ตุนกู ต่วน
- 1 เจ้าชาย เติงกู อะฮ์มัด อิสมาอิล มูฮัดซัม ชะฮ์ รัฐปะหัง
- 2 ต่วนไซนัลอาบิดิน โอรสในสุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3 รัฐกลันตัน
- 3 ตนกู มูฮัมมัด ฟาริส โอรสในสุลต่านอิสมาอิล เปตรา รัฐกลันตัน
สำหรับสกุล สนิบุตร Saniputra (สนิบุตรา)
สกุล สนิบุตร เป็นนามสกุลพระราชทานให้แก่ นายร้อยตำรวจโท ขุนรุธรัฐภิรมย์ (ตนกูบาซา) ประจำกองตำรวจภูธรมณฑลปัตตานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสุลต่านมูฮัมหมัด ที่2 เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน พระนามเดิม ต่วนสนิ หรือ หลงสนิ บรรดาศักดิ์ทางไทย พระยาเดชานุชิตมหิศรายานุกูล วิบูลย์ภักดี ศรีสุลต่านมะหมัด รัตนธาดามหาปธานาธิการ
ผู้สนใจประวัติศาสตร์ สกุลอัลอาตัส หาซื้อหนังสือเพิ่มเติม
ชื่อหนังสือ Arabs who traversed the Indian Ocean: the history of the al-Attas family in Hadramawt and Southeast Asia, c. 1600 - c. 1
'ผู้แต่ง Kazuhiro Arai ผู้จัดพิมพ์ University of Michigan., 2004 ต้นฉบับมาจาก University of Michigan
อ้างอิงจาก: history of the al-Attas family ,Sultan Dan Rajaraja Melayu