เกย์ ประวัติศาสตร์ของกลุ่มผู้รักร่วมเพศใน สยามอดีต
ความเป็นผู้รักร่วมเพศในสังคมไทยนั้น ประกอบด้วย 7 ยุค ได้แก่
ยุคที่ 1 จุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทย
ยุคที่ 2 กลุ่มผู้รักร่วมเพศไทยในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ยุคที่ 3 กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย
ยุคที่ 4 กลุ่มผู้รักร่วมเพศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ยุคที่ 5 กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคสื่อสิ่งพิมพ์เฟื่องฟู
ยุคที่ 6 กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคสื่อมวลชนไทยเบ่งบาน
ยุคที่ 7 กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคปัจจุบัน
1. จุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทย
*** ใครอยากอ่านถึง 7 ขอส่วนตัว ยาวววๆๆๆๆ เกิ๊นนนนๆๆๆๆ
ประวัติศาสตร์ของผู้รักร่วมเพศในประเทศ ไทยไม่มีความชัดเจนว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อว่าน่าจะมีการรับรู้หรือมองเห็นปัญหาของ พฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งบรรพกาลก็มีเรื่องที่กล่าวขานเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศไว้มากพอสมควรในพุทธชาดก รวมทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกอันประกอบด้วย พระวินัยปกฎก อภิธรรม ปิฎก และ สุตตันตปิฎก เป็นหลักธรรมที่สำคัญของพุทธศาสนา ได้กล่าวในเรื่องของ "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะ ก์" ซึ่งก็มีความหมายว่าเป็นชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม หรือชายที่ถูกตอนหรือที่เรียกว่า ขันที คนที่เป็นกะเทยโดยกำเนิด อันหมายถึง ผู้มี 2 เพศในบุคคลเดียวกัน โดยมีบัญญัติข้อบ่งชี้ถึงบุคคลที่ไม่สามารถบวช ในพุทธศาสนาไว้เช่นกัน โดยที่ " บันเฑาะก์" ถือเป็นข้อห้ามหนึ่งที่ไม่ยินยอมให้บวชได้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าเพศของฆราวาสและเพศของบรรพชิตนั้นสามารถหลุดพ้น ได้ และพฤติกรรมรักร่วมเพศได้มีการบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ผิดและไม่ดีงามต่อพุทธศาสนา โดยเฉพาะในพระวินัยปิฎกได้ระบุเป็นข้อห้ามข้อหนึ่งของพระสงฆ์ว่า จะกระทำมิได้ อันทำให้ไม่ใส่ใจช่วยเผยแผ่พระศาสนาอันเป็นกิจของสงฆ์
ในเรื่องนี้มีหลักฐานจากพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.2 ได้เขียนว่า พระสังฆราชวัดมหาธาตุมีพฤติกรรมรักร่วมเพศกับลูกศิษย์หนุ่มแม้ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ แค่เพียงสัมผัสจับต้อง ลูบคลำอวัยวะเพศจึงไม่ถึงกับปาราชิก แต่ถือว่าเป็นความผิดเช่นเดียวกัน จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์และเนรเทศให้ออกไปจากวัดมหาธาตุ เป็นการลงโทษที่ ประพฤติปฏิบัติผิดหลักพระวินัยของสงฆ์อย่างหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นมามากกว่า 200 ปี แต่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้มีการกล่าวถึง เพราะ ถือเป็นความเสื่อมเสียของสังคมและขัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
วิถีชีวิตของคน ไทยมีการประพฤติและปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักของศาสนาในหลายๆ ด้าน จึงรับเอาความคิดและความเชื่อดังกล่าวเข้ามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตด้วย ดัง นั้นพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยจึงน่าจะมีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เนื่องจากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งสันนิษฐานว่าเริ่มตรามาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนต้นและได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนถึงตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ระบุถึงบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง ว่าเป็น " กะเทย" หรือ "บันเฑาะก์" ซึ่งไม่สามารถเป็นพยานในศาลได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของสังคมจึงได้ บัญญัติไว้เป็นกฎหมายเช่นนั้น
นอกจากนี้คำว่ากะเทย ยังพบอยู่ใน "พะจะนะพาสาไท" ที่เขียนโดย บาทหลวงปาลเลอกัวร์ ในปี พ.ศ.2397 ที่เขียนว่า "กเทย" แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite" และหมอบรัดเลย์ได้ เขียนหนังสือชื่อ "อักขราภิธานศรับท์" ในปี พ.ศ.2416 ว่า "กะเทย" หมายถึง "คนที่ไม่เปนเภษชาย ไม่เปนเภษหญิง มีแต่ ทางปัศสาวะ" กล่าวได้ว่าสังคมไทยได้รับรู้ในผู้รักร่วมเพศมานานแล้ว ต่อมาจึงมีการบัญญัติศัพท์ไว้เป็นที่ชัดเจนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และพจนานุกรมอื่นๆ เป็นต้นมา ความหมายของ "กะเทย" หมายถึงลักษณะที่กำกวมของอวัยวะเพศ หรือลักษณะสิ่งที่ไม่ปรากฏเพศ หรือลักษณะกลางๆ ไม่เป็นเพศใดเพศหนึ่ง ดังนั้น จะเห็นว่าความหมายดังกล่าวมีนัยเพียงด้านเดียว ทั้งนี้ในทางสังคมแล้ว "กะเทย" หรือผู้มี พฤติกรรมรักร่วมเพศจะมีความหมายที่กินความกว้างขวางกว่านั้น
นอกจากนี้การบันทึกทางประวัติศาสตร์เชื่อม โยงกับพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในปี ค.ศ.1634 นายโยส สเคาเต็น อดีตเจ้าหน้าที่การค้าของฮอลันดา ประจำกรุงศรีอยุธยา ถูกลง โทษประหารชีวิตโดยรัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ที่เมืองปัตตาเวีย ในข้อหาว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งเป็นความผิดอย่างร้ายแรงในสังคมตะวันตก นายสเคา เต็น ยอมรับสารภาพและอ้างว่าได้รับแบบอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศมาจากคนในกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้ว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศมีมาแต่สมัยอยุธยาและ เป็นที่รับรู้กันแล้วในสังคม แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในราชสำนักและบ้านของขุนนางชั้นผู้ใหญ่เสียมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้นพฤติกรรม รักร่วมเพศจึงเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินตัวในสังคมไทย
พฤติกรรมรักร่วมเพศได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ ไม่มีการบันทึกหรือบอกเล่าไว้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่อับอายและน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดปฏิบัติจะ เป็นความอัปมงคลต่อตนเองและมัวหมองต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดและไม่ต้องการให้ผู้ใดได้รับรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ต่อสังคม อีกทั้งอาจมีการลงโทษถ้าเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้กับบ้านเมือง
2. 2. กลุ่มผู้รักร่วมเพศไทยในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังมีเรื่องกรณีของกรมหลวงรักษรณเรศร พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีคณะโขนละครอยู่ในวังและผู้เล่นที่เป็นผู้ชายล้วนเพราะเป็นคณะละครนอก (พระบรมมหาราชวัง) ได้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ กับบรรดาโขนละครที่เลี้ยงไว้ โดยไม่สนใจดูแลและเลี้ยงดูลูกเมียจนเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป จนเป็นที่ขัดเคืองพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าให้ ถอดจากกรมหลวงให้เรียกว่า "หม่อมไกรสร" ลงพระราชอาญาแล้วให้ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดประทุมคงคา อย่างไรก็ตามการตัดสิน ประหารชีวิตครั้งนี้บางกระแสระบุว่าเป็นเหตุผลด้านการเมืองว่าเป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง มากกว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศที่เป็นอยู่ ทั้งนี้กรมหลวงเทพพลภักดี ซึ่งเป็นพี่ ชายของกรมหลวงรักษรณเรศร ก็เป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศโดยไม่อยู่กินกับลูกเมียเช่นเดียวกัน แต่กลับไม่ถูกตำหนิหรือลงโทษแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมรักร่วมเพศก็เป็นประเด็นที่มีการกล่าวขานอย่างกว้างในสมัยดังกล่าว
ในประเทศไทยจึงมีพฤติกรรมรัก ร่วมเพศได้เกิดขึ้นมาช้านานโดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงหรือในพระบรมราชวังหรือวังเจ้านาย จะพบเห็นเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ แต่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และจะต้องปกปิด ถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยิ่ง พฤติกรรมรักร่วมเพศในอดีตจึงเป็นเรื่องที่มีการบอกเล่าสืบทอดกันมา โดยไม่มีการบันทึกไว้อย่าง จริงจัง ทำให้การศึกษาในเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ก็มีการแทรกเรื่องนี้อยู่ในประวัติศาสตร์บางเรื่อง ทำให้พอจะรวบรวมและสันนิษฐานเกี่ยว กับเรื่องนี้ได้บ้าง
หลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้เกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศชายหรือว่า "เล่นสวาท" ที่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน จากประชุมประกาศในรัชกาลที่ 4 ที่ได้บันทึกถึงความประพฤติของพระภิกษุด้วยข้อความที่ว่า "...บางจำพวกเป็นคนเกียจคร้าน กลัวจะเกณฑ์ให้ราชการ หลบลี้หนีเข้าบวชเป็นภิกษุ สามเณร อาศัยพึ่งพระศาสนาเลี้ยงชีวิต แล้วประพฤติอนาจารทุจริตต่างๆ จนถึงเล่นสวาทเป็นปาราชิกก็มีอยู่ โดยมาก..." อันแสดงให้เห็นว่าคำว่า "เล่นสวาท" เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคดังกล่าว
สำหรับพฤติกรรมรักร่วมเพศที่มีในผู้หญิงที่เรียกว่าเป็นการ "เล่นเพื่อน" มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงชาววังเพราะอยู่รวมกันหลายคนของผู้หญิง ในเขตพระ ราชฐานที่ไม่มีผู้ชายเข้าไปปะปน จึงมีการประกาศใช้ กฎมณเฑียรบาลข้อที่ 124 ได้กล่าวถึงโทษของการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ดังนี้ "อนึ่งสนม กำนัลคบผู้หญิงหนึ่งกัน ทำดุจชายเป็นชู้เมียกัน ให้ลงโทษด้วยลวดหนัง 50 ที ศักคอประจานรอบพระราชวัง ที่หนึ่งให้เอาเป็นชาวสตึง ที่หนึ่งให้แก่พระเจ้าลูก เธอหลานเธอ" พฤติกรรมเช่นนี้ของผู้หญิงในพระราชสำนักหรือในวังเป็นสิ่งที่โจษจันกันอย่างมากจนกระทั่งถึงต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เคยมี พระราชหัตถเลขากำชับสั่งพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทั้งหลายห้ามเล่นเพื่อนด้วย ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งจะเห็นว่าไม่มีการบัญญัติโทษผิดในเรื่องนี้สำหรับผู้ชายไว้ เลย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านเมืองมีความทันสมัยมากขึ้น ได้มีการออกกฎหมายที่พาดพิงถึงพฤติกรรมรัก ร่วมเพศเช่นเดียวกัน เนื่องจากพระองค์เสด็จไปเยีอนประเทศยุโรปหลายประเทศจึงได้รับแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทยในหลายๆ เรื่อง กฎหมายที่พระองค์ให้มีการบัญญัติใช้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้แก่ ประมวลกฎหมายลักษณะ ร.ศ.127 ในส่วนที่ 6 ที่ว่าด้วยความผิดที่กระทำอนาจาร หมวดที่ 1 ความผิดฐานกระทำอนาจารเกี่ยวกับสาธารณะ มาตรา 124 ที่กล่าวว่า "ผู้ใดกระทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ ด้วยชายก็ดี หญิงก็ดี หรือกระทำ ชำเราด้วยสัตว์เดียรฉานก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องรวางโทษติดคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จนถึง 3 ปี แลให้ปรับตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปถึง 500 บาทด้วยอิกโสด 1" อันแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เกิดมีพฤติกรรมรักร่วมเพศมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาจึงมีการลงโทษเพื่อให้เลิกการกระทำนั้น หรืออีกนัยยะหนึ่ง ต้องการให้ประเทศชาติมีกฎหมายที่มีความศิวิไลซ์เท่าเทียมกับต่างประเทศ แม้ว่าประชาชนยังไม่มีประสบการณ์หรือมีความเข้าใจในพฤติกรรมรักร่วมเพศมาก นัก โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีงามสำหรับสังคมไทยสมัยนั้น
ในรัชกาลที่ 6 ถือได้ว่าเป็นยุคที่สังคมไทยมีการรับเอา วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทยค่อนข้างมาก เพราะพระองค์ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงมีการซึมซับในวัฒนธรรมของตะวัน ตกที่เป็นสิ่งดีหลายอย่าง นอกจากนี้พระองค์ทรงมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทความในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตของพระองค์ ในหัวเรื่อง "กะเทย" และ "ทำไมกะเทยจึงรู้มากในทางผัวๆ เมียๆ ?" เนื่องจากพระองค์ได้รับรู้ว่าในสังคมไทย ก็มีเรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นเช่นกัน แม้ว่าพฤิตกรรมรักร่วมเพศจะเกิดขึ้นไม่มากนักจนเป็นปัญหาความเสื่อมของสังคมไทย พระองค์ทรงต้องการให้การศึกษาและ การอธิบายให้ประชาชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อไม่เกิดการรังเกียจหรือทำร้ายบุคคลในกลุ่มดังกล่าว เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้อภัยซึ่งกัน และกัน และเรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อสังคม
ในสมัยรัชกาลที่ 7 นอกจากคำว่า " กะเทย" แล้ว ในสังคมไทยได้เรียนรู้จักคำว่า "Homosexual" เพิ่มขึ้นมาอีกคำหนึ่ง จากงานเขียนบทความเรื่อง "กามรมณ์และ สมรส" ในหนังสือรวมปกฐกถาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตของคนทั่วไปตามหลักจิตวิทยา ได้กล่าวถึงคำว่า "Homo" ว่าหมายถึง เพศเดียวกัน หรือ ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิงไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งมุ่งให้ความรู้ทางจิตวิทยามากกว่าที่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศยังเป็นสิ่งที่ สังคมมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นเป็นยุคที่วงการแพทย์ไทยได้เริ่มเข้ามาศึกษาและหาแนวทางแก้ไขรักษากลุ่มที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพราะถือเป็น อาการป่วยอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ดังกล่าวก็แพร่หลายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นที่เข้าใจและคุ้นเคยของสังคมไทยมาก นัก