ทัพบกชี้แจง ที่ชาวทวิตเตอร์แฉนั้นใส่ร้าย และเป็นแค่ฝึกการเรียนการสอนบนไซเบอร์เท่านั้น
หลังมีข่าวชาวทวิตเตอร์ที่ทำงานด้านไอทีขุดมาแฉว่าไอทำงานกันยังไง มีหน่วยงานไหน บรีฟเรื่องอะไรบ้าง คราวนี้ก็ถึงคิดออกมาชี้แจงกันแล้ว
ลองแกะ APK ของแอป Twitter Broadcast ที่แก๊ง IO ใช้กัน เจอว่า API Server อยู่ที่นี่นาจา pic.twitter.com/kGPywHd5tA
— PiTTAYA⊿⚡️🟠 (@pittaya) November 25, 2020
เจอข้อมูลใหม่ครับ :D เมื่อแชตไลน์ IO ชอบหลุดดีนัก งั้นระดับผู้ควบคุมให้ใช้ "Free Messenger" และ "Twitter Broadcast" แทน เป็น 2 แอปที่สร้างมาเพื่องานนี้ (ก็คงจากภาษีเราเอง)
— แอน 𔑾 (@iannnnn) November 25, 2020
- จำนวนผู้ใช้ 100+
- ผู้พัฒนาคือ Win.vong
- อีเมลและอื่นๆ กดดูได้https://t.co/S7OgKOxeIt#25พฤศจิกาไปSCB https://t.co/Cp6hBpEvLN pic.twitter.com/rfbU6cQqXg
ทบ.ยันไฟล์เอกสารทำทวิตเตอร์ที่ถูกเผยแพร่ เป็นการสอนเพื่อพัฒนางานสื่อสารออนไลน์
กรณีมีการเผยแพร่เอกสารนำเสนอ เกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ของหน่วยทหาร และอ้างว่ามีการจ้างบริษัทเอกชน เพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านแอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์นั้น
กองทัพบกได้ตรวจสอบกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ขอเรียนในประเด็นข้อเท็จจริงว่ากองทัพบก/หน่วย ไม่ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนไปดำเนินการปฏิบัติการข่าวสารตามที่มีความพยายามกล่าวหาโดยใช้การตีความจากเอกสารที่ถูกนำมาเผยแพร่ดังกล่าว เพราะวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียของกองทัพบกนั้นมุ่งเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้ อย่างสร้างสรรค์ เท่าทันสถานการณ์
อย่างไรก็ตามในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทหาร/กองทัพเองก็ต้องมีการเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆให้ทันกับสภาพสังคม โดยมีการจัดอบรมบรรยายและให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับกำลังพลในทุกระดับให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
สำหรับภาพและข้อมูลในสื่อโซเชียลที่ปรากฎ นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอบรมกำลังพลของหน่วย(พล.ร.2รอ.)ในการใช้แอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์ สนับสนุนงาน ประชาสัมพันธ์ของหน่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนที่มีทักษะความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลและในการใช้สื่อออนไลน์ที่ทันสมัย มาเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้งาน โดยไม่มีการว่าจ้าง ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กระจายข้อมูลเชิงบวกก็เป็น “ฟรีซอฟต์แวร์” ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Tweet Broadcast และ free Messenger เป็นต้น
สำหรับผังโครงสร้างที่ปรากฎก็เป็นการจัดหน่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อทดลองกระจายข้อมูลเชิงบวกให้กับบัญชีทวิตเตอร์ด้วยแอพพลิเคชั่นดังกล่าว และมีการลงทะเบียนใช้งานอย่างเปิดเผย ระบุตัวตนได้ ส่วนเนื้อหาที่นำลงก็เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวก กิจกรรมเทิดทูนสถาบัน การสร้างภาพลักษณ์ ภารกิจกองทัพบกและการช่วยเหลือประชาชน ในขณะเดียวกันหากมีผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบิดเบือน หรือข่าวเท็จ(ข้อมูลที่เป็นสีเทา หรือสีดำ) ที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานก็จะมีการตรวจสอบและเร่งเผยแพร่ข้อเท็จจริงในสื่อสังคมออนไลน์อย่างทันท่วงที เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ได้มีลักษณะที่บ่งบอกถึงการนำเอาแพลตฟอร์มดังกล่าวไปดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือองค์กรใด หรือทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสังคมโดยรวม
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข่าว ก็เป็นข้อมูลที่ผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ download ได้ สะท้อนให้เห็นว่าทางกองทัพและผู้พัฒนาโปรแกรม ไม่มีเจตนาปกปิด หรือกระทำสิ่งใดที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นสิทธิที่กองทัพสามารถดำเนินการ แสดงออกและกระจายข้อมูลเชิงบวกเข้าสู่ระบบสังคมออนไลน์ได้ตามเจตนารมณ์
ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่ากองทัพบกใช้โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะแพลตฟอร์ม Twitter เพื่อสนับสนุน งานการประชาสัมพันธ์ของหน่วยระดับต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์การช่วยเหลือประชาชนการสื่อสารกับกำลังพลในพื้นที่ประสบภัยและเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนเท่านั้น นอกจากนี้ กองทัพบกได้มีการปรับระบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยล่าสุด คณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับกองทัพบกได้มีการจัดตั้งเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยทหารจนถึงระดับกองพันจำนวน 578 หน่วย ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างการรับรู้ในข่าวสารด้านความมั่นคง งานช่วยเหลือประชาชน งานบรรเทาภัย ได้รวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น
..................................... 28 พฤศจิกายน 2563
.
ไอโออะไร กองทัพไม่เคยท๊ำ ไม่เคยทำ
ไม่มี๊ ไม่จี๊ง ไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งนั้น
— 🄼🅂.🄿🄰🅁🄺🄹🄸🄹🄾🅈 💛🇨🇷💛🇨🇷💛LOVE KlNG (@ParkJoyJi) November 27, 2020
🙊🙉🙈 pic.twitter.com/Q1u4pTbGHz