ความศรัทธา กับความเชื่อ เส้นบางๆ กั้นไว้ ที่อาจทำให้เกิด การหลง หรือคลั่งและงมงาย
ความศรัทธา กับความเชื่อ จะมีเส้นบางๆ กั้นไว้ ที่อาจทำให้เกิด การหลง หรือคลั่งและงมงายในที่สุด แน่นอนที่ผ่านมาก็ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด ล่ามไปยังการใช้ชีวิตของคนบางพวก บางกลุ่ม และในครอบครัว นำไปสู่ จุดแตกหักจนอาจเกิดความรุนแรงในที่สุด
แน่นอนที่คนเรามีระดับอยู่แค่ ความศรัทธา กับ ความเชื่อ อย่างมีสติ อย่างพอดี ไม่มากไม่น้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ก็เป็นเรื่องดีต่อจิตใจตนเองและผู้อื่น แต่ถ้าเมื่อยกระดับไปสู่ ความหลงจนคลั่ง นั่นหมายความว่า อยู่นอกเหนือที่จะควบคุมสติสติสัมปชัญญะ หรือความระลึกได้ และการรู้สึกตัวอยู่เสมอ ทั้งในขณะคิด ขณะพูด และในขณะกระทำสิ่งใดๆ ด้วยความระลึกในขณะนั้นว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ อันนี้น่ากลัวมาก
ยิ่งถ้ามีบางกลุ่มอาศัย ความศรัทธา ความเชื่อ เพื่อสร้างวาทะกรรม ชักจูง กับบุคคลที่อ่อนแอ อ่อนไหว ทางจิตใจ จนเกิดความคลั่ง และถ้ายิ่งผู้ใดไม่มีความศรัทธา ความเชื่อ สอดคล้องไปกับกลุ่มพวกตน ก็จะถูกตราหน้า ด้วยการนำวาทะกรรมนั่น มาปลุกปั่น แบ่งแยก จนเกิดการคิดต่าง และไม่เคารพสิทธ์กัน ความวุ่นวายก็เกิดขึ้นแน่นอน
ปากดีจริง #คลั่งชาติ #พังชาติ #ถ่วงชาติ อีกหน่อย คงได้ แ ด ก ส้นตีน 😏 ตัวเองกัน #ไม่มีจะแดกแทน https://t.co/VwTvwspepz
— HaunT89s (@HT89s) August 3, 2020
ความศรัทธา ในความหมาย ราชบัณฑิตยสถาน คิอ ความเชื่อ ความเลื่อมใส เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ เลื่อมใส เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ
ความเชื่อ คิอ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน เช่นมีความเชื่อที่ส่งผลมาจากศาสนา ผีสางนางไม้ สิ่งที่มองไม่เห็น ที่มีผลดีต่อจิตใจ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ที่ส่งผลมาจากแรงศัทธาเป็นเบื้องต้น
ความคลั่ง เช่นกันในความหมาย ราชบัณฑิตยสถาน นั่นก็คือ แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า เสียสติ โดยปริยายหมายความว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งชาติ คลั่งเล่นกล้วยไม้ คลั่งในสิ่งที่มองไม่เห็น
'นิพิฏฐ์' ชี้ อารมณ์ 2 ขั้ว 'ชังชาติ-คลั่งชาติ' มีแต่ทำให้ชาติเสียหาย#นิพิฏฐ์อินทรสมบัติ #ชังชาติ #คลั่งชาติhttps://t.co/ZzZrk1jEJx
— สยามรัฐ (@siamrath_online) October 23, 2020
ตัวอย่างเช่นใน ตามตำนาน ทหารฝรั่งเศส นีโกลัส โชแว็ง ได้รับบาดเจ็บสาหัสในสงครามนโปเลียน เขาได้บำนาญจากการบาดเจ็บของเขาแต่ไม่เพียงพอดำรงชีพ หลังนโปเลียนสละราชสมบัติ โชแว็งเป็นผู้นิยมโบนาปาร์ต (Bonapartist) อย่างคลั่งไคล้แม้มุมมองนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศฝรั่งเศสสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง การอุทิศตนอย่างมืดบอดเด็ดเดี่ยวต่ออุดมการณ์ของเขา แม้ถูกกลุ่มแยกของเขาปฏิเสธและศัตรูก่อกวน เริ่มการใช้คำนี้
ลัทธิคลั่งชาติขยายจากการใช้ดั้งเดิมให้รวมการอุทิศตนอย่างคลั่งไคล้และลำเอียงอย่างไม่เหมาะสม (undue partiality) ต่อกลุ่มหรืออุดมการณ์ใด ๆ ที่ตนจัดเป็นส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการถือพรรคพวก (partisanship) ซึ่งมีความเดียดฉันท์หรือเป็นปรปักษ์ต่อคนนอกหรือกลุ่มคู่แข่งและคงอยู่แม้เผชิญกับการคัดค้านอย่างท่วมท้น คุณสมบัติแบบฝรั่งเศสนี้ขนานกับคำบริติชว่า คติรักชาติแบบใฝ่สงคราม (jingoism) ซึ่งคงความหมายของลัทธิคลั่งชาติอย่างเคร่งครัดในความหมายดั้งเดิม นั่นคือ ทัศนคติชาตินิยมแบบทำสงคราม